วิทยากร : การจัดการเรียนการสอนวิทยาการคำนวณ สพม.18

เป็นอีกครั้งที่ได้รับโอกาสให้ไปบรรยายและอธิบายเกี่ยวกับวิชาวิทยาการคำนวณให้ครูมัธยมได้ทราบและนำไปจัดการเรียนการสอนได้ตรงกับตัวชี้วัดครับ ครั้งนี้ได้รับโอกาสให้ไปที่ สพม.18 ที่โรงเรียนชลกัลยานุกูล จ.ชลบุรี คุณครูที่เข้าร่วมก็จะเป็นคุณครูในสังกัด สพม.18 ได้แก่จังหวัดชลบุรี และระยองครับ โดยส่วนใหญ่จะเป็นโรงเรียนที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนดีประจำตำบลครับ วันนี้คุณครูที่นี่ได้ให้ข้อคิดเห็นที่ดีอันนึงก็คือแม้ว่าเราจะออกแบบโครงสร้างรายวิชา เข้าใจ และสอนได้ตรงตัวชี้วัด แต่ปัญหาคือเด็กไม่ยอมคิดแก้ปัญหาตามที่เราได้ออกแบบสถานการณ์ไว้ครับ และนี่น่าจะเป็นปัญหาใหญ่ที่หลายๆ คนพบเจอแน่ๆ แต่ปัญหาเหล่านี้ก็ไม่ใช่ว่าแก้ไม่ได้นะครับ การแก้ครูคงต้องเหนื่อยเพิ่มอีกนิด เพราะต้องแก้ที่คุณครู คือครูต้องปรับการจัดกิจกรรมให้เด็กได้คิดโดยที่ไม่รู้ตัวครับ เช่น การให้เด็กๆ ได้เล่มเกมแก้ปัญหา โดยการเล่นเกมก็ไม่ใช่ให้เด็กเล่นเรื่อยเปื่อยหรือเล่นจนกว่าจะชนะ แต่ครูต้องคอยกำลังติดตาม คอยสอบถามว่าทำไมนักเรียนถึงคิดแบบนั้น ทำไมถึงแก้ปัญหาด้วยวิธีนี้ ทำไมเดินตานี้ ทำไมไม่ทำแบบเพื่อน แล้วมีวิธีการอื่นที่มีประสิทธิภาพดีกว่าไหม ฯลฯ คำถามพวกนี้สำคัญมากๆ ครับ เพื่อฝึกให้เค้าคิดระหว่างเล่นเกม ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นการเล่นเกมไปทั้งคาบนั่นเอง สุดท้ายก็คือครูคงต้องออกแบบกิจกรรมให้สนุก ตื่นเต้น ให้เด็กสนใจ อย่าให้เด็กคิดว่าเรากำลังยัดความรู้ให้เค้า แต่ต้องให้เค้าได้เรียนรู้ ฝึกทักษะโดยที่ไม่รู้ตัวครับ

Read More

วิทยากร : การจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาการคำนวณ สพป.พะเยา เขต 1

ได้มีโอกาสไปเยือนพะเยากับเชียงรายเป็นครั้งแรกครับ เป้าหมายที่จะเดินทางไปคือสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พะเยา เขต 1 เป็นการอบรมครูผู้สอนวิชาวิทยาการคำนวณครับ ส่วนเชียงรายนั้นเป็นจังหวัดแรกที่เคยไปเหมือนกัน และที่ต้องไปเชียงรายเพราะต้องไปลงสนามบินที่นั่นเพื่อนั่งรถต่อไปพะเยาอีกประมาณ 90 กิโลเมตร ในการมาบรรยายครั้งนี้ นอกจากจะเน้นย้ำเรื่องของหลักสูตร ตัวชี้วัด การจัดหลักสูตรของโรงเรียน รายวิชา และการจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาการคำนวณที่ต้องสอนทั้ง 3 แกน ได้แก่ ICT DL และ Computer Science แล้ว ครั้งนี้ได้เจาะลึกเพิ่มมากขึ้นในส่วนของ Computer Science โดยเน้นไปที่แนวทางการจัดกิจกรรมให้เกิด Computation Thinking ทั้ง 4 ขั้นตอน ได้แก่ การแยกย่อยปัญหา การหารูปแบบ การหาแนวคิดเชิงนามธรรม และการเขียนอัลกอริทึม โดยเฉพาะ 3 ส่วนแรก คือ การแยกย่อยปัญหา การหารูปแบบ และการหาแนวคิดเชิงนามธรรม เป็นสิ่งที่คุณครูยังไม่เข้าใจและยังให้ความสำคัญกับเรื่องนี้น้อยอยู่มาก โดยที่พบเห็นส่วนมากแล้ว จะเน้นไปที่เขียนโปรแกรมเลย มีโจทย์ให้คิดให้ทำหรือให้เขียนโปรแกรมแก้ปัญหาทันที แต่ยังขาดการพัฒนาเด็กให้ฝึกคิดใน 3 ประเด็นแรกที่กล่าวไว้ครับ เมื่อได้แนวคิด เข้าใจมาตรฐาน…

Read More

เกมแมวเก็บแอปเปิ้ลด้วย Scratch เก็บคะแนนตามจำนวนแอปเปิ้ล

เกมแรกด้วยโปรแกรม Scratch ของผม ก็สนุกดีนะครับ Scratch ทำได้หลายอย่างเลย แอด extension เพิ่มก็ได้ ก่อนหน้านี้ไม่ค่อยได้เล่นจริงจังเท่าไหร่ ความรู้ที่ได้มาทั้งหมดต้องขอขอบคุณคุณครูอภิวัฒน์ วงศ์กัณหา ใครอยากเรียนรู้ไปติดตามเพจคุณครูได้นะครับ — Source Code เกมนี้ดาวน์โหลดได้จากที่นี่ เอาไปประยุกต์ทำเกมอื่นๆ ได้อีกเยอะเลย https://drive.google.com/…/1RbCf7-9THtzWft7POfwxGxyMt…/view… —- แต่การจะสอนเด็กๆ คนถึงขั้นทำเกมนี้นั้น ไม่ใช่เริ่มทำเกมเลย แต่ควรจะเริ่มสอนเรื่องของการเคลื่อนที่พื้นฐาน และสิ่งสำคัญก็คือ coordinate ของวัตถุ —- สำหรับ Scratch นี้อย่าเพิ่งไปมองว่ามันง่ายไปสำหรับเด็กมัธยมหรือเด็ก ม.ปลาย นะครับ เพราะจริงๆ แล้วศักยภาพมันเยอะมากจริงๆ สามารถนำไปทำเกมสนุกๆ หรือโครงงานได้เลย และยังต่อกับอุปกรณ์ภายนอกได้ด้วย —- แต่ขอร้องว่าอย่าทำเกมแมวกินแอปเปิ้ลแบบนี้ไปส่งประกวดหรือให้เด็กเล่นนะครับ เพราะเด็กๆจะเข้าใจผิดว่าแมวมันกินแอปเปิ้ลเอานาาา

Read More
Back To Top