หนังสือเรียนและคู่มือครูวิชาเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) และวิชาออกแบบและเทคโนโลยี

คู่มือครูวิชาเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ และ การออกแบบและเทคโนโลยี) ตอนนี้คุณครูสามารถดาวน์โหลดได้แล้วที่หน้าเว็บไซต์ต่อไปนี้ครับ (ต้องสมัครสมาชิกและ Login ก่อนนะครับ) https://www.scimath.org/ebook-technology คู่มือการใช้หลักสูตร เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา คู่มือครู รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 คู่มือครู รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 คู่มือครู รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 คู่มือครู รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 คู่มือครู รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 คู่มือครู รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 คู่มือครู รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์…

Read More

รายการพุธเช้าข่าวโรงเรียน นำเสนอการจัดการเรียนการวิชาวิทยาการคำนวณ

ภาพและวีดีโอนำเสนอการจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาการคำนวณ ออกอากาศในรายการพุธเช้าข่าวโรงเรียน วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2562 ครับ 

Read More

การจัดทำหน่วยการเรียนรู้ต้นแบบวิชาวิทยาการคำนวณที่มุ่งเน้นสมรรถนะ

ได้รับเกียรติจากสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ให้เข้าร่วมการออกแบบและจัดทำหน่วยการเรียนรู้ต้นแบบ วิชาวิทยาการคำนวณ ที่มุ่นเน้นการพัฒนาทักษะและสมรรถนะด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี หน่วยต้นแบบนี้เป็นหน่วยการจัดการเรียนรู้และแผนการจัดการเรียนรู้สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา 1-6 ครับ ซึ่งเมื่อสมบูรณ์แล้วก็จะนำไปทดลองใช้และเผยแพร่ต่อไป สำหรับส่วนของวิชาวิทยาการคำนวณเองนั้น เรามุ่งเน้นไปที่การทำกิจกรรมเพื่อให้เกิดแนวคิดเชิงคำนวณ โดยมองไปที่กรณีที่ครูไม่มีอุปกรณ์ ไม่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ในห้องเรียน ก็จะสามารถจัดการเรียนการสอนให้นักเรียนได้เข้าใจและมีทักษะหรือแนวคิดเชิงคำนวณได้ ก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าการร่วมทำกิจกรรมกับหน่วยงานต้นสังกัดในครั้งนี้จะส่งผลไปถึงผู้เรียน และผู้สอนวิชาวิทยาการคำนวณให้มีความรู้ความเข้าใจในวิชานี้มากยิ่งขึ้นนะครับ

Read More

การอบรมวิทยาการคำนวณ สำหรับครูประถมศึกษา สพป.ร้อยเอ็ด เขต 2

ได้รับโอกาสที่ดีที่ได้ไปบรรยายและเผยแพร่กิจกรรมการจัดการเรียนการสอนวิทยาการคำนวณ สำหรับครูผู้สอนระดับประถมศึกษา ที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ร้อยเอ็ด เขต 2 ความตั้งใจคือต้องการที่จะทำให้คุณครูผู้สอนวิชานี้ได้รู้ว่าวิชานี้มันไม่ใช่การสอนเด็กเขียนโปรแกรมอย่างเดียว และการเขียนโปรแกรมนั้นไม่ได้หมายถึงการเขียนเป็นภาษาซี ภาษาไพทอนเท่านั้น การเขียนโปรแกรมสำหรับประถมคือการศึกษาคิดอย่างเป็นลำดับขั้นตอน อาจจะใช้เรื่องราวในชีวิตประจำวัน หรือการใช้กิจกรรมที่ได้ยกตัวอย่างในการบรรยายก็ได้ แต่ยังไงก็เน้นไปที่การฝึกทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างเป็นลำดับขั้นตอนของนักเรียนครับ และหากสอนไปได้ถึงการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์แล้วล่ะก็ คุณครูก็สามารถใช้เครื่องมือที่ฝึกทักษะการเขียนโปรแกรมในรูปแบบ Block ได้เช่น Blockly, Code.org, Scratch เป็นต้น ครับ ทั้งนี้คุณครูจะต้องเตรียมกิจกรรม เตรียมคำถาม เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกคิด ฝึกปฏิบัติ หรือฝึกทักษะกันพอสมควร ซึ่งเชื่อแน่ว่าถ้าคุณครูได้เตรียมความพร้อมแล้ว มีกิจกรรม มีใบงาน หรือมีเครื่องมือ ซี่งหาได้รอบๆ ห้องเรียน คุณครูและนักเรียนก็จะร่วมกันเรียนรู้ในห้องเรียนได้อย่างมีความสุขกับวิชาวิทยาการคำนวณครับ

Read More

Unplugged Programming: Graph Coloring

กิจกรรม Unplugged Programming: Graph Coloring เป็นกิจกรรมที่จะทำให้นักเรียนสามารถคิดวิเคราะห์และหาความแตกต่างระหว่างพื้นที่ใน map ได้ พร้อมทั้งมองเห็นความสัมพันธ์ ความเชื่อมโยง และความแตกต่างกันระหว่างพื้นที่ ทักษะนี้จะทำให้นักเรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการแก้ปัญหาต่างๆ ในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี เช่น การวิเคราะห์ภาพรวมของปัญหา แยกเป็นปัญหาย่อยๆ และดำเนินการแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน ตามวิธีคิดเชิงคำนวณ รูปแบบการจัดกิจกรรมมีดังนี้ครับ   

Read More
Back To Top