การวิเคราะห์หลักสูตรวิทยาการคำนวณ แนวทางการจัดหลักสูตรและกิจกรรมการเรียนการสอน

วันนี้ขออนุญาตนำเสนอผลการวิเคราะห์หลักสูตร และแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาวิทยาการคำนวณ ระดับ ป.1 – ม.3 ครับ เพื่อเป็นแนวทางให้กับโรงเรียนและคุณครูนำไปปรับใช้ในการจัดการเรียนการสอนครับ โดยตอนนี้ผมได้อัดเป็นคลิปวีดีโออธิบายไว้ คุณครูสามารถดูได้จากคลิปวีดิโอ 2 คลิปต่อไปนี้ครับ ขอกำลังใจด้วยการกดไลค์ กดติดตามช่องครูโจ๊กด้วยนะครับ https://www.youtube.com/c/NattaponBuaurai?sub_confirmation=1 และฝากกดติดตามช่องอันนาและพ่อโจ๊กแม่ฝนด้วยนะครับ ขอบคุณครับ https://www.youtube.com/channel/UCOyC1JHOKb-BvtXZuwGxpkw?sub_confirmation=1   สำหรับแนวทางการจัดหลักสูตรตามเอกสารที่นำเสนอ สามารถทำได้ดังนี้ครับ โดยวิชาวิทยาการคำนวณมีเนื้อหาสำคัญ 3 ส่วน ดังนี้ ซึ่งจากการวิเคราะห์หลักสูตร คุณครูสามารถจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาการคำนวณให้ครบ 3 เนื้อหาสำคัญ ได้โดยพิจารณาจาก Slide ต่อไปนี้ครับ โดยจากการที่ผมวิเคราะห์หลักสูตรวิชาวิทยาการคำนวณ จะได้ตารางวิเคราะห์คร่าวๆ ดังนี้ครับ   หากมีข้อเสนอแนะ แนะนำเพิ่มเติม หรือผิดพลาดประการใด รบกวนแจ้งผมได้เลยนะครับ

Read More

กิจกรรม Unplugged Programming: เลขฐานสอง…มองแปปเดียว

กิจกรรมเลขฐาน…สองแปปเดียว หรือเลขฐานสอง…ไม่ต้องคำนวณ นี้จะช่วยให้นักเรียนสามารถแปลงเลขฐานสองไปเป็นเลขในระบบฐานสิบ หรือเลขฐานสิบไปอยู่ในเลขฐานสองได้อย่างรวดเร็วครับ โดยอาศัยหลักการมองค่าประจำหลัก เช่น เลขฐานสิบจะมีค่าประจำหลักคือ 10,000 1,000 100 10 1 ตามลำดับ ถ้าเรามีเลข 54,321 นั่นก็หมายความว่ามันเกิดจาก 5×10,000 + 4×1,000 + 3×100 + 2×10 + 1×1 = 54,321 ครับ แต่พอเป็นเลขฐานสองจะง่ายกว่านั้นมาก เพราะไม่ต้องเสียเวลาคูณ เนื่องจากเลขฐานสองมีเลขแค่ 0 และ 1 และค่าประจำหลักก็คือ 128 64 32 16 8 4 2 1 ครับ ดังนั้นเมื่อเราเจอเลขฐานสองเป็น 10011 นั่นก็คือ 1×16 + 0x8 + 0x4 + 1×2 +…

Read More

วิทยากร : วิทยาการคำนวณ ระดับประถมศึกษา รร.ประชาภิบาล กรุงเทพฯ

เป็นโอกาสอันดีอีกครั้งหนึ่งที่ได้มีโอกาสนำความรู้ ประสบการณ์เกี่ยวกับที่ไปที่มาของหลักสูตรและรายวิชาวิทยาการคำนวณ ไปเผยแพร่ให้กับคุณครูในกรุงเทพมหานครครับ จริงๆ แล้ววิทยาการคำนวณเป็นเรื่องที่ไม่ไกลตัวจากเราเลย มันก็ทักษะที่สำคัญที่นำไปใช้ได้กับทุกอาชีพ ทุกสถานการณ์ เพราะเป็นการเรียนรู้ และฝึกคิดอย่างแยบยล เป็นระบบ และเป็นขั้นตอนครับ คุณครูทั้งสามสิบกว่าคนของโรงเรียนประชาภิบาล ตั้งใจและทำกิจกรรมอย่างเต็มที่มากๆ แม้ว่าบางท่านจะไม่ได้สอนในรายวิชานี้ แต่ทุกท่านก็เห็นความสำคัญว่าความรู้เกี่ยวกับวิชาวิทยาการคำนวณสามารถนำไปสอดแทรกได้กับทุกรายวิชาครับ และก็ต้องขอขอบพระคุณท่านผู้อำนวยการ คุณครูทุกท่านที่ให้การต้อนรับและดูแลเป็นอย่างดี รวมทั้งตั้งใจในการอบรมและเรียนรู้กันมากๆ ครับ

Read More

วิทยากร: วิทยาการคำนวณ รร.อนุบาลกระสัง จ.บุรีรัมย์

เป็นโอกาสที่ดีมากๆ ที่ได้รับการเชิญชวนจากพี่นิ ครูที่เคยรู้จักและร่วมกิจกรรม Social Media ของ สทร.​กันเมื่อหลายปีก่อน พี่นิได้เชิญให้ไปบรรยายและจัดกิจกรรม แนะนำการจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาการคำนวณ ให้กับคุณครูโรงเรียนอนุบาลกระสัง และโรงเรียนใกล้เคียงที่สนใจ ของจังหวัดบุรีรัมย์ครับ จากที่ผ่านเวลาการบรรยายและจัดกิจกรรมแนะนำการสอนวิชาวิทยาการคำนวณมาหลายกิจกรรม ครั้งนี้ก็เลยไม่ได้มีความกังวลมาก แต่ก็เตรียมกิจกรรมต่างๆ ไปอย่างดี เพราะเป็นกิจกรรม 2 วันและอยากให้คุณครูทุกท่านได้รับความรู้และสามารถสอนวิชาวิทยาการคำนวณนี้ได้จริงๆ โดยในวันแรกก็จะเป็นการแนะนำรายวิชาใหม่นี้ ที่ไปที่มา หลักสูตร ตัวชี้วัด ให้คุณครูเห็นความสำคัญและใจความหลักของรายวิชา และก็เริ่มต้นแนะนำกิจกรรม Unplugged Programming ครับ เช่น โรบอทเรียวแก้ว เลขฐานสองไม่ต้องคำนวณ Graph Colouring หุ่นยนต์เก็บขยะ ฯลฯ และอีกหลายๆ กิจกรรม โดยในวันแรกนี้ก็แนะนำกิจกรรม Unplugged ต่างๆ ที่เตรียมมาจนหมดครับ พร้อมกับให้คำแนะนำมาจะทำกิจกรรมเหล่านี้ไปใช้สอนได้อย่างไรบ้าง วันต่อมาก็จะเป็นการเริ่มใช้โปรแกรม ให้คุณครูได้รู้จักการเขียนคำสั่งในรูปแบบของบล็อค โดยใช้ Code.org CodingThailand.org แล้วก็โปรแกรม Scratch ครับ ตลอดทั้งสองวันคุณครูทุกท่านตั้งใจทำกิจกรรมเป็นอย่างดีทีเดียว ร่วมกันทำกิจกรรมทุกอย่าง ทั้งๆ ที่ทุกกิจกรรมต้องคิดและใช้สมองเยอะจริงๆ แต่ก็ไม่เหนื่อยล้า…

Read More

แนวการสอนวิชาวิทยาการคำนวณ ม.ปลาย ปี 2562

หลังจากที่ได้สอนวิชาวิทยาการคำนวณมาแล้ว 1 ปี ซึ่งปีการศึกษา 2561 เป็นปีแรก ก็ได้ทดลองจัดการเรียนการสอน และใช้เครื่องมือต่างๆ สำหรับนักเรียนหลายเครื่องมืออยู่เหมือนกัน แต่ปัญหาก็คือการจัดหลักสูตรในส่วนของโรงเรียนผมเองนั้น ได้รับวิชาพื้นฐานในระดับ ม.ปลาย เพื่อสอนวิชาวิทยาการคำนวณมาเพียง 1.0 หน่วยกิต ซึ่งจัดเป็นรายวิชาวิทยาการคำนวณ ระดับ ม.4 ภาคเรียนที่ 1 ครับ ทำให้มาตรฐาน ว4.1 และ ว4.2 ตชว. ม.5-6 อาจจะไม่ครอบคลุม ปีนี้ก็เลยต้องวางแผนการสอนและลงรายละเอียดการสอนใหม่ครับ ซึ่งคิดว่าแนทางการสอนนี้น่าจะครอบคลุมตัวชี้วัดและมาตรฐานได้เกือบสมบูรณ์แน่นอน แต่ทั้งนี้โรงเรียนก็ได้เปิดรายวิชาเพิ่มเติมไว้ด้วย ซึ่งหากต้องการเน้นยำหรือเพิ่มเติมเนื้อหาสำหรับตัวชี้วัดใด ก็สามารถนำไปสอนในรายวิชาเพิ่มเติมได้ครับ แนวทางการสอนนี้เป็นแนวทางการสอนที่ผมได้วางแผนขึ้น เพื่อใช้ในปีการศึกษา 2562 นี้ครับ ส่วนรายละเอียด โครงสร้างรายวิชา หน่วยและแผนการจัดการเรียนรู้หลังจากพัฒนาเสร็จจะนำมาเผยแพร่อีกครั้งครับ เว็บไซต์ที่ผมสร้างขึ้นตามแผนนี้ และใช้ในการจัดการเรียนการสอน ตามลิงค์นี้ครับผม –> https://sites.google.com/skr.ac.th/computingscience/

Read More
Back To Top