เทคนิคการสุ่มตัวอย่าง
ก่อนที่จะรู้จักเทคนิคการสุ่มตัวอย่าง เราควรจะทำความเข้าใจกับคำสองคำที่สำคัญก่อนครับ ก็คือคำว่า กลุ่มประกรเป้าหมาย และกลุ่มตัวอย่าง ดังนี้ กลุ่มประชากรเป้าหมาย (Target population) หมายถึง กลุ่มของสิ่งต่างๆ ทั้งหมดที่ผู้วิจัยสนใจ กลุ่มตัวอย่าง (Sample) หมายถึง กลุ่มของสิ่งต่างๆ ที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มประชากรที่ผู้วิจัยสนใจ เทคนิคการสุ่มตัวอย่าง นั้นแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้ 1. การสุ่มที่ไม่คำนึงถึงความน่าจะเป็นในการสุ่ม (Non-probability sampling) เป็นการสุ่มที่ขึ้นอยู่กับการควบคุมหรือตัดสินใจของผู้วิจัย ซึ่งอาจเกิดความลำเอียงในการสุ่มได้ง่าย 1.1 การสุ่มโดยบังเอิญ (Accidental sampling) สุ่มจากสมาชิกของกลุ่มประชากรเป้าหมายที่หาได้ 1.2 การสุ่มแบบโควตา (Quota sampling) สุ่มตัวอย่างจากประชากรเป้าหมายที่ถูกแบ่งออกเป็นส่วนๆ ตามโควตาที่กำหนด 1.3 การสุ่มอย่างเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) สุ่มตัวอย่างโดยใช้ดุลยพินิจของผู้วิจัย ข้อจำกัดของการสุ่มที่ไม่คำนึงถึงความน่าจะเป็น 1. ผลการวิจัยที่ได้ไม่สามารถสรุปอ้างอิงไปสู่กลุ่มประชากรทั้งหมดได้ จะสรุปอยู่ในขอบเขตของกลุ่มตัวอย่างเท่านั้น