แนวการสอนวิชาวิทยาการคำนวณ ม.ปลาย ปี 2562

หลังจากที่ได้สอนวิชาวิทยาการคำนวณมาแล้ว 1 ปี ซึ่งปีการศึกษา 2561 เป็นปีแรก ก็ได้ทดลองจัดการเรียนการสอน และใช้เครื่องมือต่างๆ สำหรับนักเรียนหลายเครื่องมืออยู่เหมือนกัน แต่ปัญหาก็คือการจัดหลักสูตรในส่วนของโรงเรียนผมเองนั้น ได้รับวิชาพื้นฐานในระดับ ม.ปลาย เพื่อสอนวิชาวิทยาการคำนวณมาเพียง 1.0 หน่วยกิต ซึ่งจัดเป็นรายวิชาวิทยาการคำนวณ ระดับ ม.4 ภาคเรียนที่ 1 ครับ ทำให้มาตรฐาน ว4.1 และ ว4.2 ตชว. ม.5-6…

การอบรม AI for Education

สรุปและรายงานผลการอบรม AI for Education เมื่อวันที่ 20 เม.ย. 2562 ที่จัดโดยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ร่วมกับ สพฐ. ครับ สิ่งที่ได้เรียนรู้ ความหมายและลักษณะของปัญญาประดิษฐ์ การสร้างปัญญาประดิษฐ์ด้วยเครื่องมือออนไลน์ machinelearningforkids.co.uk Machine Learning การใช้ machinelearningforkids.co.uk ในส่วนของ Machine Learning เพื่อนำไปสร้างเป็นปัญญาประดิษฐ์อย่างง่าย เครื่องมือ AI เพิ่มเติม…

อบรม IoT SmartFarm

การอบรมการนำ IoT ไปประยุกต์ใช้ใน Smart Farm จัดโดยมหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ซึ่งเป็นการอบรมที่เปิดให้ประชาชนทั่วไปที่สนใจได้เข้าอบรมฟรีครับ จัดการอบรมในระหว่างวันที่ 17-19 เม.ย. 2562 ณ มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าพระนครเหนือ สิ่งที่ได้เรียนรู้ การเขียนรู้เกี่ยวกับระบบ IoT และบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์รุ่น Wemos ครับ การเชื่อมต่อ Wemos กับ Blynk เพื่อควบคุมระบบและแสดงผลค่าต่างๆ ที่อ่านได้จากเซ็นเซอร์มาที่โทรศัพท์มือถือ การพัฒนาระบบ Smart…

หนังสือเรียนและคู่มือครูวิชาเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) และวิชาออกแบบและเทคโนโลยี

คู่มือครูวิชาเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ และ การออกแบบและเทคโนโลยี) ตอนนี้คุณครูสามารถดาวน์โหลดได้แล้วที่หน้าเว็บไซต์ต่อไปนี้ครับ (ต้องสมัครสมาชิกและ Login ก่อนนะครับ) https://www.scimath.org/ebook-technology คู่มือการใช้หลักสูตร เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา คู่มือครู รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 คู่มือครู รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ)…

Japan trip [15-19 มีนาคม 2562]

ในที่สุดก็ได้มีเวลาว่างและโอกาสได้ไปเที่ยวกับเค้าบ้าง ที่ที่เราจะไปกันก็คือญี่ปุ่นครับ วันที่เดินทางคือคืนวันที่ 15 มีนาคม ออกเดินทางจากดอนเมืองตอนห้าทุ่มครึ่ง และเราก็มาถึงสนามบินนาริตะ ญี่ปุ่น เวลา 8.00 น. ตามเวลาท้องถิ่นครับ ผ่าน ตม. ไปด้วยความเรียบร้อย โดนถามนิดหน่อยว่ามาทำอะไร มากับใคร ทริปนี้มากับใคร ก็มากับคนนี้เลยครับผม คุณแม่ของน้องอันนา แต่อันนาไม่ได้มานะ รถที่เราจะใช้ไปเที่ยวกันมาถึงแล้วครับ สะอาด คนขับบริการดี มีไฟให้ชาร์ตแบต ที่แรกที่เรามาหลังจากกินข้าวเที่ยงแล้วก็คือที่วัดอาซากุซะนี่ล่ะครับ หลังจากนั้นเราก็เดินทางไปหุบเขาไข่ดำนี่กัน…

รายการพุธเช้าข่าวโรงเรียน นำเสนอการจัดการเรียนการวิชาวิทยาการคำนวณ

ภาพและวีดีโอนำเสนอการจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาการคำนวณ ออกอากาศในรายการพุธเช้าข่าวโรงเรียน วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2562 ครับ 

การจัดทำหน่วยการเรียนรู้ต้นแบบวิชาวิทยาการคำนวณที่มุ่งเน้นสมรรถนะ

ได้รับเกียรติจากสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ให้เข้าร่วมการออกแบบและจัดทำหน่วยการเรียนรู้ต้นแบบ วิชาวิทยาการคำนวณ ที่มุ่นเน้นการพัฒนาทักษะและสมรรถนะด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี หน่วยต้นแบบนี้เป็นหน่วยการจัดการเรียนรู้และแผนการจัดการเรียนรู้สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา 1-6 ครับ ซึ่งเมื่อสมบูรณ์แล้วก็จะนำไปทดลองใช้และเผยแพร่ต่อไป สำหรับส่วนของวิชาวิทยาการคำนวณเองนั้น เรามุ่งเน้นไปที่การทำกิจกรรมเพื่อให้เกิดแนวคิดเชิงคำนวณ โดยมองไปที่กรณีที่ครูไม่มีอุปกรณ์ ไม่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ในห้องเรียน ก็จะสามารถจัดการเรียนการสอนให้นักเรียนได้เข้าใจและมีทักษะหรือแนวคิดเชิงคำนวณได้ ก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าการร่วมทำกิจกรรมกับหน่วยงานต้นสังกัดในครั้งนี้จะส่งผลไปถึงผู้เรียน และผู้สอนวิชาวิทยาการคำนวณให้มีความรู้ความเข้าใจในวิชานี้มากยิ่งขึ้นนะครับ

การอบรมวิทยาการคำนวณ สำหรับครูประถมศึกษา สพป.ร้อยเอ็ด เขต 2

ได้รับโอกาสที่ดีที่ได้ไปบรรยายและเผยแพร่กิจกรรมการจัดการเรียนการสอนวิทยาการคำนวณ สำหรับครูผู้สอนระดับประถมศึกษา ที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ร้อยเอ็ด เขต 2 ความตั้งใจคือต้องการที่จะทำให้คุณครูผู้สอนวิชานี้ได้รู้ว่าวิชานี้มันไม่ใช่การสอนเด็กเขียนโปรแกรมอย่างเดียว และการเขียนโปรแกรมนั้นไม่ได้หมายถึงการเขียนเป็นภาษาซี ภาษาไพทอนเท่านั้น การเขียนโปรแกรมสำหรับประถมคือการศึกษาคิดอย่างเป็นลำดับขั้นตอน อาจจะใช้เรื่องราวในชีวิตประจำวัน หรือการใช้กิจกรรมที่ได้ยกตัวอย่างในการบรรยายก็ได้ แต่ยังไงก็เน้นไปที่การฝึกทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างเป็นลำดับขั้นตอนของนักเรียนครับ และหากสอนไปได้ถึงการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์แล้วล่ะก็ คุณครูก็สามารถใช้เครื่องมือที่ฝึกทักษะการเขียนโปรแกรมในรูปแบบ Block ได้เช่น Blockly, Code.org, Scratch เป็นต้น ครับ ทั้งนี้คุณครูจะต้องเตรียมกิจกรรม เตรียมคำถาม เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกคิด ฝึกปฏิบัติ หรือฝึกทักษะกันพอสมควร…

Unplugged Programming: Graph Coloring

กิจกรรม Unplugged Programming: Graph Coloring เป็นกิจกรรมที่จะทำให้นักเรียนสามารถคิดวิเคราะห์และหาความแตกต่างระหว่างพื้นที่ใน map ได้ พร้อมทั้งมองเห็นความสัมพันธ์ ความเชื่อมโยง และความแตกต่างกันระหว่างพื้นที่ ทักษะนี้จะทำให้นักเรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการแก้ปัญหาต่างๆ ในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี เช่น การวิเคราะห์ภาพรวมของปัญหา แยกเป็นปัญหาย่อยๆ และดำเนินการแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน ตามวิธีคิดเชิงคำนวณ รูปแบบการจัดกิจกรรมมีดังนี้ครับ   

กิจกรรม Unplugged Programming : Colour By Number

หลายๆ คนคงจะเคยสงสัยว่าทำไมรูปภาพเดียวกันที่มีขนาดเท่ากันแต่ต่างนามสกุลกันถึงมีขนาดของรูปภาพไม่เท่ากัน นั่นเป็นเพราะรูปภาพแต่ละประเภทมีรูปแบบวิธีการจัดเก็บข้อมูลต่างกันนั่นเอง กิจกรรม Unplugged Programming : Colour By Number นี้จะเป็นกิจกรรมที่ทำให้เด็กๆ เข้าใจวิธีการในการเก็บข้อมูลในรูปแบบของรูปภาพรูปแบบง่ายๆ ทำให้รู้ว่าการเก็บข้อมูลสีในรูปภาพนั้นมีวิธีการอย่างไร