ความตรง (Validity)

ความตรง คือ คุณสมบัติของเครื่องมือที่สามารถวัดได้ในสิ่งที่ต้องการวัด ตามวัตถุประสงค์และสถานการณ์ที่กำหนดไว้ 1. ความตรงตามเนื้อหา (Content validity) หมายถึง คุณสมบัติของเครื่องมือที่ใช้วัดเนื้อหาได้ครบตามขอบเขตที่กำหนดไว้ การพิจารณาว่าเครื่องมือมีความตรงตามเนื้อหามากน้อยเพียงใดนั้น พิจารณาจากเครื่องมือว่าครอบคลุมเนื้อหาต่างๆ ที่ต้องการวัดครบถ้วนเพียงใด ซึ่งการพิจารณาความตรงของแบบทดสอบนั้นอาจจะอาศัยตารางวิเคราะห์หลักสูตรเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา 2. ความตรงตามสภาพ (Concurrent validity) หมายถึงคุณสมบัติของเครื่องมือที่สามารถวัดพฤติกรรมต่างๆ ได้สอดคล้องกับพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจริงในระยะเวลาเดียวกัน เช่น นักเรียน ม.4 ทำแบบทดสอบที่ครูสร้างขึ้น ได้ผลการทดสอบสอดคล้องกับการทำแบบทดสอบมาตรฐานวิชาเดียวกัน แสดงว่าแบบสอบที่ครูสร้างขึ้นมีความตรงตามสภาพ 3. ความตรงเชิงพยากรณ์ (Predictive validity) หมายถึง คุณสมบัติของเครื่องมือที่สามารถพยากรณ์พฤติกรรมต่างๆ ได้สอดคล้องกับพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจริงในอนาคต เช่น ถ้าผลการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยวิชาคณิตศาสตร์ มีความสอดคล้องกับผลการสอบคณิตศาสตร์ เมื่อนักเรียนเรียนอยู่ในมหาวิทยาลัยชั้นปีที่ 1 แสดงว่าแบบสอบเข้ามหาวิทยาลัยมีความตรงเชิงพยากรณ์ 4. ความตรงตามทฤษฎี (Construct validity) หมายถึง คุณสมบัติของเครื่องมือที่สามารถวัดหรืออธิบายพฤติกรรมหรือสิ่งที่ต้องการวัดได้ตรงตามทฤษฎี ส่วนใหญ่ความตรงตามทฤษฎีนั้นใช้วัดสิ่งที่เป็นนามธรรมและวัดโดยตรงได้ยาก เช่น สติปัญญา ความคิดสร้างสรรค์ ความกระวนกระวาย บุคลิกภาพ เป็นต้น

Read More

เทคนิคการสุ่มตัวอย่าง

ก่อนที่จะรู้จักเทคนิคการสุ่มตัวอย่าง เราควรจะทำความเข้าใจกับคำสองคำที่สำคัญก่อนครับ ก็คือคำว่า กลุ่มประกรเป้าหมาย และกลุ่มตัวอย่าง ดังนี้ กลุ่มประชากรเป้าหมาย (Target population) หมายถึง กลุ่มของสิ่งต่างๆ ทั้งหมดที่ผู้วิจัยสนใจ กลุ่มตัวอย่าง (Sample) หมายถึง กลุ่มของสิ่งต่างๆ ที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มประชากรที่ผู้วิจัยสนใจ เทคนิคการสุ่มตัวอย่าง นั้นแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้ 1. การสุ่มที่ไม่คำนึงถึงความน่าจะเป็นในการสุ่ม (Non-probability sampling) เป็นการสุ่มที่ขึ้นอยู่กับการควบคุมหรือตัดสินใจของผู้วิจัย ซึ่งอาจเกิดความลำเอียงในการสุ่มได้ง่าย 1.1 การสุ่มโดยบังเอิญ (Accidental sampling) สุ่มจากสมาชิกของกลุ่มประชากรเป้าหมายที่หาได้ 1.2 การสุ่มแบบโควตา (Quota sampling) สุ่มตัวอย่างจากประชากรเป้าหมายที่ถูกแบ่งออกเป็นส่วนๆ ตามโควตาที่กำหนด 1.3 การสุ่มอย่างเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) สุ่มตัวอย่างโดยใช้ดุลยพินิจของผู้วิจัย ข้อจำกัดของการสุ่มที่ไม่คำนึงถึงความน่าจะเป็น 1. ผลการวิจัยที่ได้ไม่สามารถสรุปอ้างอิงไปสู่กลุ่มประชากรทั้งหมดได้ จะสรุปอยู่ในขอบเขตของกลุ่มตัวอย่างเท่านั้น

Read More

การวิจัยทางการศึกษา

การวิจัย หมายถึง กระบวนการเสาะแสวงหาความรู้ใหม่ๆหรือกระบวนการเสาะแสวงหาความรู้เพื่อตอบปัญหาที่มีอยู่อย่างมีระบบและมีวัตถุประสงค์ที่แน่นอน โดยอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ การวิจัย หมายถึง กระบวนการเสาะแสวงหาความรู้ใหม่ๆ หรือกระบวนการเสาะแสวงหาความรู้เพื่อตอบปัญหาทางการศึกษาที่มีอยู่อย่างมีีระบบและมี วัตถุประสงค์ที่แน่นอน โดยอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ข้อจำกัดของการวิจัยทางการศึกษา ความซับซ้อนของเนื้อหาที่ศึกษา เพราะปัญหาที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์มีตัวแปรมาเกี่ยวข้องมากมาย ความยากในการรวบรวมข้อมูล เพราะเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของมนุษย์ ความยากในการทำซ้ำ ไม่เหมือนกันการทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่ทำซ้ำแล้วค่าที่ได้ก็ยังใกล้เคียงกับค่าเดิม ปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักวิจัยกับกลุ่มตัวอย่างมีผลกระทบต่อผลการวิจัย ยากในการควบคุมตัวแปรเกิน เครื่องมือมีความแม่นยำและเชื่อถือได้น้อยกว่าเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ การพิจารณาประสิทธิภาพของการวิจัยในแง่ของความตรง ความตรงภายใน (Internal validity) การวิจัยที่มีความตรงภายในสูง หมายถึง การวิจัยที่ไม่มีตัวแปรเกินแทรกซ้อน ผลการวิจัยเกิดจากผลของตัวแปรอิสระเท่านั้น ความตรงภายนอก (External validity) การวิจัยที่มีความตรงภายนอกสูง หมายถึง การวิจัยที่สามารถสรุปอ้างอิงไปหากลุ่มประชากรเป้าหมายได้อย่างถูกต้อง

Read More

อบรมโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณครู

ไปอยู่ค่ายธรรมะเพื่อเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษามา 3 วันครับ ตั้งแต่วันที่ 26-28 เมษายน ที่ผ่านมา โดยโครงการนี้เป็นโครงการของครุสภาร่วมกับวัดเขียนเขต จังหวัดปทุมธานี เป็นผู้จัดทำขึ้น โดยมีครูเข้าร่วมโครงการประมาณ 150 คนครับ วัตถุประสงค์ของโครงการก็คือพัฒนาผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาให้ประพฤติปฏิบัติตนด้านศีล สมาธิ ปัญญา และจรรยาบรรณของวิชาชีพ ให้เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ ควบคู่กับความมีคุณธรรม เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนานักเรียน การเข้าอบรมครั้งนี้นอกจากจะได้ฝึกปฏิบัติกรรมฐานแล้ว ก็ยังมีเนื้อหาความรู้จากวิทยากรที่มีความรู้มาบรรยายในเรื่องที่น่าสนใจหลายเรื่อง ได้แก่ ศาสนากับวิถีชีวิตครู ความคิดรากฐานแห่งการสอน การบริหารจิต กฎแห่งกรรม พระคุณครู : จรรยาบรรณของวิชาชีพ เกราะ 5 ชั้น และคุณธรรม 4 ประการ การบวนกาารสร้างเยาวชนให้เป็นคนดี ศาสนพิธีเบื้องต้น การส่งเสริมและอุปถัมภ์ศาสนา การสร้างเครือข่ายครูดี ต้นแบบครูดี ซึ่งจากการที่ได้เข้าร่วมโครงการทำให้ได้รับประโยชน์อย่างมากทีเดียวครับ ซึ่งนอกจากจะได้นั่งสมาธิ ถือศีล 8 แล้ว ยังได้รับความรู้ในประเด็นต่างๆ ข้างต้น แต่ปัญหาอย่างเดียวคือปวดขามากครับ เพราะต้องนั่งกับพื้นตลอดทั้งวัน หลังจากเสร็จสิ้นการอบรมครั้งนี้ ครุสภาและหน่วยงานที่จัดก็ได้คัดเลือกครูอีก 40…

Read More

การประชุมระดับสูงว่าด้วยการศึกษาเพื่อปวงชน ครั้งที่ 10

ได้มีโอกาสเข้าร่วมการนำเสนอผลงานให้กับสำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน (สทร.) ครับ โดยเป็นการนำเสนอการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ Social Media ในงานการประชุมระดับสูงว่าด้วยการศึกษาเพื่อปวงชน ครั้งที่ 10 ในวันที่ 22-24 มีนาคม พ.ศ. 2554 ที่โรงแรมรอยัล คลิฟ บีช รีสอร์ท จังหวัดชลบุรีครับ มาร่วมงานนี้ได้อย่างไร? การที่ผมได้เข้ามาร่วมงานนี้ ก็สืบเนื่องมาจากเป็นผมเป็นผลผลิตของ สทร. ที่ได้อบรมการนำ Social Media มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนครับ และผมก็ได้นำ Social Media มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งก็เห็นผลได้ชัดเจนว่านักเรียนให้ความสนใจ และกระตือรือร้นในการเรียนมากขึ้น ด้วยเหตุนี้วันหนึ่งผมก็เลยได้รับโทรศัพท์จาก สทร. ให้มาช่วยนำเสนอการนำ Social Media มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน ในการประชุมดังกล่าว รู้สึกอย่างไรกับงานนี้? ความรู้สึกแรกที่ได้รับโทรศัพท์ก็รู้สึดีใจมากเลยครับ แต่ทาง สทร. (พี่ทิพย์) บอกว่าต้องนำเสนอเป็นภาษาอังกฤษ (กรี๊ดดดด) เนื่องจากเป็นการประชุมระดับนานาชาติครับ ซึ่งต้องเตรียมตัว เตรียมบทที่จะพูดเป็นอย่างดีครับ และที่สำคัญรู้สึกดีใจและภูมิใจอย่างบอกไม่ถูกที่รู้ว่าสมเด็จพระเทพรัตน สุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จะเสด็จมาเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดงาน ซึ่งพระองค์จะเสด็จเยี่ยมชมงานที่ผมจะนำเสนอด้วย…

Read More
Back To Top