กิจกรรมทำบุญเนื่องในวันวิสาขบูชาโลก

เป็นกิจกรรมแรกของโรงเรียนในปีการศึกษา 2554 นี้ครับ ที่นักเรียนและครูได้มีโอกาสทำกิจกรรมร่วมกัน นั่นก็คือกิจกรรมวันวิสาขบูชา ซึ่งปีนี้ถือได้ว่าเป็นปีที่สำคัญและยกย่องให้วันสำคัญทางพระพุทธศาสนานี้เป็นวันสำคัญของโลกเราอีกด้วย โดยในที่นี้โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ลำลูกกา ได้จัดกิจกรรมให้นักเรียนและครูได้ทำบุญตักบาตรร่วมกันเนื่องในวันวิสาขบูชาในวันพฤหัสบดีที่ 12 พฤษภาคม 2554 ที่ผ่านมา ซึ่งนักเรียนทุกคนก็ได้ให้ความร่วมมือและเตรียมสิ่งของมาทำบุญตักบาตรกันเป็นจำนวนมากครับ และปีนี้ผมก็ได้มีโอกาสเป็นครูที่ปรึกษาระดับชั้น ม.4 หลังจากที่ดูแลนักเรียน ม.ต้นมานาน ก็เลยได้มีโอกาสทำบุญร่วมกับนักเรียนครับ และก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่านักเรียนห้องนี้จะเป็นนักเรียนที่น่ารัก เชื่อฟัง และตั้งใจเรียนนะครับ หน้าตานักเรียนที่ปรึกษาของผมเป็นอย่างไรกันบ้าง ก็ดูกันได้จากรูปด้านล่างนี้ครับ 🙂  

Read More

ความเที่ยง (Reliability)

ความเที่ยง (Reliability) คือคุณสมบัติของเครื่องมือที่วัดได้ตรงกับความเป็นจริง สามารถวัดได้โดย 1. การวัดความคงที่ (Measure of stability) วิธีนี้ใช้วัดซ้ำโดยให้ผู้สอบกลุ่มเดียวกันสอบข้อสอบชุดเดียวกันสองครั้ง โดยเว้นระยะห่างสองถึงสามสัปดาห์ มีข้อจำกัด คือ ต้องรอเว้นระยะเวลาในการสอบ ซึ่งผู้สอบอาจจะมีโอกาสฝึกหัดเรียนรู้เพิ่มเติม 2. การวัดความเท่ากัน (Measure of equivalence) ใช้ข้อสอบคู่ขนาน วัดกลุ่มเดียวกัน เวลาใกล้เคียงกัน วัดเรื่องเดียวกัน มีความยากง่ายเท่ากัน แต่มีปัญหาคือ สร้างข้อสอบคู่ขนานที่แท้จริงได้ยาก 3. การวัดความคงที่ภายใน (Measure of internal consistency) 3.1 วิธีแบ่งครึ่ง (Split-half method) ทำข้อสอบเพียงครึ่งเดียว แล้วแบ่งครึ่งข้อสอบออกเป็นสองส่วนโดยถือว่าข้อสอบสองส่วนนั้นวัดสิ่งเดียวกัน โดยผู้สร้างพยายามสร้างข้อสอบสองส่วนให้เป็นข้อสอบคู่ขนาน ทำผลการสอบไปหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างข้อสอบทั้งสองส่วน ค่าที่ได้เป็นดัชนีความเที่ยงเพียงครึ่งฉบับ ในการหาค่าความเที่ยงทั้งฉบับให้สูตรของ Spearman Brown 3.2 วิธีของ Kuder-Richardson มี 2 วิธีคือ KR-20 และ KR-21 โดยใช้ในกรณีข้อสอบเป็นแบบปรนัย…

Read More

ความตรง (Validity)

ความตรง คือ คุณสมบัติของเครื่องมือที่สามารถวัดได้ในสิ่งที่ต้องการวัด ตามวัตถุประสงค์และสถานการณ์ที่กำหนดไว้ 1. ความตรงตามเนื้อหา (Content validity) หมายถึง คุณสมบัติของเครื่องมือที่ใช้วัดเนื้อหาได้ครบตามขอบเขตที่กำหนดไว้ การพิจารณาว่าเครื่องมือมีความตรงตามเนื้อหามากน้อยเพียงใดนั้น พิจารณาจากเครื่องมือว่าครอบคลุมเนื้อหาต่างๆ ที่ต้องการวัดครบถ้วนเพียงใด ซึ่งการพิจารณาความตรงของแบบทดสอบนั้นอาจจะอาศัยตารางวิเคราะห์หลักสูตรเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา 2. ความตรงตามสภาพ (Concurrent validity) หมายถึงคุณสมบัติของเครื่องมือที่สามารถวัดพฤติกรรมต่างๆ ได้สอดคล้องกับพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจริงในระยะเวลาเดียวกัน เช่น นักเรียน ม.4 ทำแบบทดสอบที่ครูสร้างขึ้น ได้ผลการทดสอบสอดคล้องกับการทำแบบทดสอบมาตรฐานวิชาเดียวกัน แสดงว่าแบบสอบที่ครูสร้างขึ้นมีความตรงตามสภาพ 3. ความตรงเชิงพยากรณ์ (Predictive validity) หมายถึง คุณสมบัติของเครื่องมือที่สามารถพยากรณ์พฤติกรรมต่างๆ ได้สอดคล้องกับพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจริงในอนาคต เช่น ถ้าผลการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยวิชาคณิตศาสตร์ มีความสอดคล้องกับผลการสอบคณิตศาสตร์ เมื่อนักเรียนเรียนอยู่ในมหาวิทยาลัยชั้นปีที่ 1 แสดงว่าแบบสอบเข้ามหาวิทยาลัยมีความตรงเชิงพยากรณ์ 4. ความตรงตามทฤษฎี (Construct validity) หมายถึง คุณสมบัติของเครื่องมือที่สามารถวัดหรืออธิบายพฤติกรรมหรือสิ่งที่ต้องการวัดได้ตรงตามทฤษฎี ส่วนใหญ่ความตรงตามทฤษฎีนั้นใช้วัดสิ่งที่เป็นนามธรรมและวัดโดยตรงได้ยาก เช่น สติปัญญา ความคิดสร้างสรรค์ ความกระวนกระวาย บุคลิกภาพ เป็นต้น

Read More

เทคนิคการสุ่มตัวอย่าง

ก่อนที่จะรู้จักเทคนิคการสุ่มตัวอย่าง เราควรจะทำความเข้าใจกับคำสองคำที่สำคัญก่อนครับ ก็คือคำว่า กลุ่มประกรเป้าหมาย และกลุ่มตัวอย่าง ดังนี้ กลุ่มประชากรเป้าหมาย (Target population) หมายถึง กลุ่มของสิ่งต่างๆ ทั้งหมดที่ผู้วิจัยสนใจ กลุ่มตัวอย่าง (Sample) หมายถึง กลุ่มของสิ่งต่างๆ ที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มประชากรที่ผู้วิจัยสนใจ เทคนิคการสุ่มตัวอย่าง นั้นแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้ 1. การสุ่มที่ไม่คำนึงถึงความน่าจะเป็นในการสุ่ม (Non-probability sampling) เป็นการสุ่มที่ขึ้นอยู่กับการควบคุมหรือตัดสินใจของผู้วิจัย ซึ่งอาจเกิดความลำเอียงในการสุ่มได้ง่าย 1.1 การสุ่มโดยบังเอิญ (Accidental sampling) สุ่มจากสมาชิกของกลุ่มประชากรเป้าหมายที่หาได้ 1.2 การสุ่มแบบโควตา (Quota sampling) สุ่มตัวอย่างจากประชากรเป้าหมายที่ถูกแบ่งออกเป็นส่วนๆ ตามโควตาที่กำหนด 1.3 การสุ่มอย่างเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) สุ่มตัวอย่างโดยใช้ดุลยพินิจของผู้วิจัย ข้อจำกัดของการสุ่มที่ไม่คำนึงถึงความน่าจะเป็น 1. ผลการวิจัยที่ได้ไม่สามารถสรุปอ้างอิงไปสู่กลุ่มประชากรทั้งหมดได้ จะสรุปอยู่ในขอบเขตของกลุ่มตัวอย่างเท่านั้น

Read More

การวิจัยทางการศึกษา

การวิจัย หมายถึง กระบวนการเสาะแสวงหาความรู้ใหม่ๆหรือกระบวนการเสาะแสวงหาความรู้เพื่อตอบปัญหาที่มีอยู่อย่างมีระบบและมีวัตถุประสงค์ที่แน่นอน โดยอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ การวิจัย หมายถึง กระบวนการเสาะแสวงหาความรู้ใหม่ๆ หรือกระบวนการเสาะแสวงหาความรู้เพื่อตอบปัญหาทางการศึกษาที่มีอยู่อย่างมีีระบบและมี วัตถุประสงค์ที่แน่นอน โดยอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ข้อจำกัดของการวิจัยทางการศึกษา ความซับซ้อนของเนื้อหาที่ศึกษา เพราะปัญหาที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์มีตัวแปรมาเกี่ยวข้องมากมาย ความยากในการรวบรวมข้อมูล เพราะเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของมนุษย์ ความยากในการทำซ้ำ ไม่เหมือนกันการทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่ทำซ้ำแล้วค่าที่ได้ก็ยังใกล้เคียงกับค่าเดิม ปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักวิจัยกับกลุ่มตัวอย่างมีผลกระทบต่อผลการวิจัย ยากในการควบคุมตัวแปรเกิน เครื่องมือมีความแม่นยำและเชื่อถือได้น้อยกว่าเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ การพิจารณาประสิทธิภาพของการวิจัยในแง่ของความตรง ความตรงภายใน (Internal validity) การวิจัยที่มีความตรงภายในสูง หมายถึง การวิจัยที่ไม่มีตัวแปรเกินแทรกซ้อน ผลการวิจัยเกิดจากผลของตัวแปรอิสระเท่านั้น ความตรงภายนอก (External validity) การวิจัยที่มีความตรงภายนอกสูง หมายถึง การวิจัยที่สามารถสรุปอ้างอิงไปหากลุ่มประชากรเป้าหมายได้อย่างถูกต้อง

Read More
Back To Top