การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง

การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง การสรุปลักษณะของข้อมูลโดยทั่วไป จะคำนึงถึงลักษณะ 2 ประการ คือ ค่าที่เป็นตัวแทนของข้อมูลแต่ละชุด และลักษณะการกระจายของข้อมูล โดยการหาค่าสถิติที่ทีเป็นตัวแทนของข้อมูลแต่ละชุด คือ การวัดแนวโน้มสู่ส่วนกลาง โดยมีค่าสถิติที่นิยมใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย มัธยฐาน และฐานนิยม   ความสัมพันธ์ระหว่างค่าเฉลี่ย มัธยฐานและฐานนิยมในลักษณะการแจกแจงต่างๆ 1. ถ้าข้อมูลมีลักษณะการแจกแจงเป็นโค้งปกติ คือ เป็นโค้งที่มีลักษณะรูประฆัง ค่าเฉลี่ย มัธยฐานและฐานนิยม จะมีค่าเท่ากัน 2. ถ้าข้อมูลมีลักษณะการแจกแจงเบ้ไปทางขวา ค่าเฉลี่ยจะมากกว่ามัธยฐานและฐานนิยม 3. ถ้าข้อมูลมีลักษณะการแจกแจงเบ้ไปทางซ้าย ค่าเฉลี่ยจะน้อยกว่ามัธยฐานและฐานนิยม   สรุปลักษณะและการใช้สถิติที่ใช้วัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง 1. ค่าเฉลี่ย (Mean) เป็นค่าสถิติที่ใช้กับข้อมูลชนิดข้อมูลอันตรภาคและข้อมูลอัตราส่วน 2. มัธยฐาน (Median) เป็นค่าสถิติที่ใช้กับข้อมูลชนิดข้อมูลเรียงลำดับ ข้อมูลอันตรภาค และข้อมูลอัตราส่วน 3. ฐานนิยม (Mode) เป็นค่าสถิติที่ใช้กับข้อมูลได้ทุกชนิด เป็นค่าสถิติที่หาง่ายที่สุด แต่เป็นตัวแทนที่มีความหมายน้อยที่สุด มีความคงที่น้อยที่สุด และในการประมาณค่าพารามิเตอร์ ค่าฐานนิยมจะใกล้เคียงความจริงน้อยที่สุด

Read More

ตำแหน่งเปอร์เซ็นไทล์ เดไซน์และควอไทล์

ตำแหน่งเปอร์เซ็นไทล์ เดไซน์และควอไทล์ ข้อมูลที่รวบรวมมาได้ในแต่ละชุด จะมีลักษณะเฉพาะของตนเอง  ในการที่จะเปรียบเทียบตำแหน่งต่างๆ ของข้อมูลคนละชุดนั้น ควรจะแปลงข้อมูลเหล่านั้นให้อยู่ในลักษณะเดียวกันเสียก่อน สถิติที่ใช้ในการเปรียบเทียบและวัดตำแหน่งต่างๆ ที่จะกล่าวถึงในที่นี้ ได้แก่   ตำแหน่งเปอร์เซ็นไทล์ (Percentile : P) ตำแหน่งเปอร์เซ็นไทล์ หมายถึง ตำแหน่งที่บอกให้ทราบว่ามีข้อมูลอยู่กี่ส่วนจากร้อยส่วนที่มีค่าน้อยกว่าหรือเท่ากับคะแนน ณ ตำแหน่งนั้น เช่น นายยอกสอบได้คะแนนสถิติ 60 คะแนน ซึ่งตรงกับตำแหน่งเปอร์เซ็นไทล์ที่ 70 หมายความว่า มีนิสิตร้อยละ 70 ของนิสิตที่เข้าสอบ สอบได้คะแนนต่ำกว่าหรือเท่ากับ 60 คะแนน   ตำแหน่งเดไซน์ (Dacile : D) ตำแหน่งเดไซน์ หมายถึง ตำแหน่งที่บอกให้ทราบว่ามีข้อมูลอยู่กี่ส่วนจาก 10 ส่วน ที่มีค่าน้อยกว่าหรือเท่ากับคะแนน ณ ตำแหน่งนั้น   ตำแหน่งควอไทล์ (Quartile : Q) ตำแหน่งเดไซน์ หมายถึง ตำแหน่งที่บอกให้ทราบว่ามีข้อมูลอยู่กี่ส่วนจาก 4…

Read More

ชนิดของข้อมูลและตัวแปร

ชนิดของข้อมูล เนื่องจากสถิติบางอย่างไม่สามารถใช้ได้กับข้อมูลทุกชนิด ผู้วิจัยจึงควรทำความรู้จักกับชนิดของข้อมูล โดยชนิดของข้อมูลแบ่งได้เป็น 4 ชนิด ดังนี้ 1. ข้อมูลนามบัญญัติ (Nominal data) เป็นข้อมูลที่แบ่งเป็นกลุ่ม ไม่สามารถนำมาคำนวณได้ เช่น เพศ ชนิดโรงเรียน เป็นต้น 2. ข้อมูลเรียงลำดับ (Ordinal data) เป็นข้อมูลที่นอกจากจะจำแนกเป็นกลุ่มได้แล้ว ยังสามารถนำมาเรียงอันดับได้อีกด้วย ได้แก่ ผลการแข่งขัน ระดับความคิดเห็น เป็นต้น 3. ข้อมูลอันตรภาค (Interval data) เป็นข้อมูลที่มีลักษณะเรียงอันดับความมากน้อย ช่วงของความแตกต่างแต่ละช่วงเท่ากัน สามารถนำมาคำนวณได้ แต่ไม่มีศูนย์แท้ เช่น คะแนนสอบ เป็นต้น 4. ข้อมูลอัตราส่วน (Ratio data) เป็นข้อมูลที่เหมือนกับข้อมูลอันตรภาคชั้น แต่มีศูนย์แท้ เช่น ความสูง อายุ น้ำหนัก เป็นต้น   ตัวแปร (Variable) หมายถึง สิ่งที่มีค่าเปลี่ยนไป ไม่คงที่…

Read More

สถิติวิจัยทางการศึกษา

สถิติ (Statistics) หมายถึง ระเบียบวิธีการทางสถิติ ซึ่งประกอบด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูล การนำเสนอข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลและการแปลความหมายข้อมูล ชนิดของสถิติ แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้ 1. พรรณนาสถิติ (Descriptive Statistics) เป็นสถิติที่มุ่งศึกษาและอธิบายลักษณะต่างๆ ของกลุ่มประชากรเป้าหมาย โดยทำการรวบรวมข้อมูลต่างๆ จากทุกๆ หน่วยของประชากร และวิเคราะห์ แปลความหมายในกลุ่มประชากรนั้นเท่านั้น 2. อนุมานสถิติ (Inferential Statistics) เป็นสถิติที่มุ่งศึกษาและอธิบายลักษณะต่างๆ ของกลุ่มประชากรเป้าหมาย โดยทำการรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มประชากร ทำการวิเคราะห์และสรุปผลไปสู่ประชากรเป้าหมาย แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะใหญ่ๆ คือ 2.1 สถิติพาราเมตริก (Parametric statistics) คือ อนุมานสถิติในลักษณะเมื่อมีการอ้างอิงถึงค่าสถิติ ซึ่งเป็นค่าที่คำนวณได้จากกลุ่มตัวอย่างกลับไปสู่ค่าพารามิเตอร์ ซึ่งเป็นค่าของกลุ่มประชากรนั้น จะมีการกำหนดลักษณะเฉพาะของค่าพารามิเตอร์ และการแจกแจงของกลุ่มประชากรที่สุ่มกลุ่มตัวอย่างมา 2.2 สถิตินอนพาราเมตริก (Nonparametric statistics) คือ อนุมานสถิติในลักษณะเมื่อมีการอ้างอิงถึงค่าสถิติ ซึ่งเป็นค่าที่คำนวณได้จากกลุ่มตัวอย่างกลับไปสู่ค่าพารามิเตอร์ ซึ่งเป็นค่าของกลุ่มประชากรนั้น จะไม่มีการกำหนดลักษณะเฉพาะของค่าพารามิเตอร์และการแจกแจงของกลุ่มประชากรที่สุ่มกลุ่มตัวอย่างมา…

Read More

อบรมการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี

ในช่วงวันหยุดยาว 5 วันที่ผ่านมา ก็ไม่ได้หยุดเหมือนใครๆ เขาครับ เพราะต้องไปอบรมเกี่ยวกับการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีที่เมืองโคราช แต่ก็เป็นกิจกรรมที่คิดว่าไม่ทำให้ตนเองต้องเสียวันหยุด เพราะถือว่าได้ไปพักผ่อนนอกสถานที่ครับ การอบรมครั้งนี้มีขึ้นในระหว่างวันที่ 14-15 พ.ค. 2554 ที่ผ่านมาครับ โดยมีวิทยากรที่เก่งและมีความสามารถมากเกี่ยวกับการจัดทำแผนปฏิบัติการและการจัดทำยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์ของสถานศึกษา ก็คือ ผอ.ภรณ์นภัส ปิยชัยกวี ผู้อำนวยการกลุ่มนโยบายและแผน สำหรับการอบรมครั้งนี้ก็ทำให้ผมได้รับความรู้และเข้าใจงานแผนการ การกำหนดเงินงบประมาณที่จะนำมาใช้ในการจัดการศึกษาในโรงเรียนได้มากยิ่งขึ้น แต่ก็ขอไม่กล่าวถึงรายละเอียดการอบรมนะครับ เพราะมันเป็นเรื่องน่าปวดหัว แต่ที่ยากจะนำเสนอก็คือ อยากจะกล่าวถึงเมืองโคราชครับ เพราะครั้งนี้เป็นการเดินทางไปภาคตะวันออกเฉียงเหนือของผมเป็นครั้งแรก และก็บอกได้ว่าประทับใจเมืองนี้ครับ เป็นเมืองที่น่าอยู่ ในระหว่างทางที่ขับรถไปก็จะผ่านภูเขา เขื่อน ซึ่งเป็นบรรยากาศและภาพที่สวยมากทีเดียวครับ ตลอดทางก็มีฝนตกเป็นบางช่วง ทำให้ไม่ร้อนมาก สรุปก็คือในเมืองก็มีความเจริญที่ไม่แพ้เมืองใดๆ ส่วนนอกเมืองก็ยังคงบรรยากาศที่น่าอยู่ และีมีธรรมชาติที่งดงามอยู่มากครับ ก่อนที่จะอบรมเสร็จและแยกย้ายกันกลับ ทางทีมงานและวิทยากรก็มีของที่ระลึกมอบให้และผมก็รู้สึกชอบมากซะด้วยครับ ก็คือ

Read More
Back To Top