วิทยากร : โครงการพัฒนาครูการงานฯ โรงเรียนในฝัน ปี 2554

เป็นอีกครั้งหนึ่งที่ได้ทำงานเป็นวิทยากรให้กับโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ลำลูกกา โรงเรียนต้นสังกัด ซึ่งปีที่แล้วก็ได้เป็นวิทยากรในการอบรมครูโรงเรียนในฝัน รุ่น 1,2 และ 3 เกี่ยวกับการพัฒนาเว็บประเภท e-commerce พอมาปีนี้ก็ได้ทำงานช่วยโรงเรียนอีก แต่โปรแกรมต่างไปจากเดิมครับ ปีนี้มี 2 เรื่อง คือ โครงงานอาชีพและ mini company ซึ่งให้ทุกโรงเรียนสร้างผลิตภัณฑ์ของตนเอง เป็นอัตลักษณ์ของตนเอง และนำเสนอผลเว็บไซต์ www.osop-labschools.com ซึ่งเป็นเว็บส่วนกลางที่รวบรวมผลงานของทุกโรงเรียนทั่วประเทศ แต่การอบรมทั้ง 2 รายการข้างต้นมีเนื้อหาไม่ยากนัก ครูจึงทำกันได้เยอะพอสมควร ทางทีมงานเลยได้ตกลงกันว่า จะเพิ่มหลักสูตร Social Media ซึ่งผมเป็นคนหนึ่งที่ได้นำความรู้เหล่านี้จากการร่วมงานกับสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ สพฐ. มาเผยแพร่ให้กับครูที่โรงเรียน และทุกคนให้ความสนใจ ครูที่เข้ารับการอบรมครั้งนี้เลยได้เรียนรู้การใช้ Social Media ในการจัดการเรียนการสอนด้วย โดยเนื้อหาที่บรรยายจะเป็นเรื่องการใช้ wordpress ในการจัดการเรียนรู้ครับ ซึ่งครูทุกคนก็ได้ให้ความสนใจกันเป็นอย่างดีเลยทีเดียว

Read More

ประกวดเดินสวนสนามลูกเสือระดับเขต

รู้สึกว่าช่วงนี้ดวงจะผูกพันกับกิจการลูกเสือมากเป็นพิเศษ เพราะมีกิจกรรมหลายอย่างที่ทำเกี่ยวกับลูกเสือครับ อันที่จริงก็ไม่ค่อยชอบเท่าไหร่นะ ด้วยเรื่องเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายที่เยอะแยะมากมายซะเหลือเกิน แถมยังต้องใส่กางเกงขาสั้นซะอีกต่างหาก แต่พอได้เข้าร่วมกิจกรรมหลายๆ อย่าง (ที่ ผอ. ให้เข้า) ก็รู้สึกสนุกกับกิจกรรมนี้ครับ เหมือนกับเราได้ผจญภัย และเป็นการฝึกวินัยในตนเองได้มากเลยทีเดียว และกิจกรรมล่าสุดที่ได้เข้าร่วมและรู้สึกว่าต้องรับผิดชอบเป็นอย่างมาก ก็คือการแข่งขันประกวดการเดินสวนสนามลูกเสือครับ ซึ่งแข่งไปเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2554 ที่ผ่านมา เป็นการแข่งขันระดับเขตพื้นที่การศึกษา (ปทุมธานี เขต 2) ครั้งนี้เป็นการเดินสวนสนามที่เป็นการแข่งขันครั้งแรกของผมเลย เพราะปกติทุกปีจะเป็นการเดินในวันที่ 1 กรกฎาคม ครับ

Read More

อบรมวิทยากรแกนนำลูกเสือไซเบอร์

ได้มีโอกาสเข้าร่วมโครงการสร้างลูกเสือบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อสร้างวิทยากรแกนนำลูกเสือไซเบอร์ ในวันที่ 6-7 มิถุนายน 2554 ที่ผ่านมา ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ครับ โดยโครงการนี้จัดโดยกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จุดประสงค์ของโครงการก็คือสร้างวิทยากรแกนนำเพื่อนำความรู้ไปขยายผลต่อให้กับนักเรียนและบุคคลในองค์กร เกี่ยวกับการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างปลอดภัย และเป็นหูเป็นตาให้กับรัฐในการช่วยสอดส่องดูแลภัยอันตรายและเฝ้าระวังข้อมูลข่าวสารที่เป็นภัยต่อสถาบันและความมั่นคงของประเทศ สำหรับการเข้าร่วมโครงการนี้ถือได้ว่าได้รับความรู้ใหม่ๆ เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเกี่ยวกับภัยต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต และ พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ครับ อีกทั้งยังได้รู้จักคุณครูภาคกลางร้อยกว่าท่านที่มาร่วมเข้ารับการอบรมในครั้งนี้

Read More

การแจกแจงทางทฤษฎีที่ใช้อนุมานสถิติ

การแจกแจงทางทฤษฎี (Theoretical distribution) ที่ใช้ในอนุมานสถิติบ่อยๆ มีอยู่ 4 ประเภทด้วยกันคือ 1. การแจกแจงแบบโค้งปกติ (Normal distribution) 2. การแจกแจงแบบไคว์สแควร์ (Chi-square distribution) 3. การแจกแจงแบบ F (F-distribution) 4. การแจกแจงแบบ t (t-distrubution) 1. การแจกแจงแบบโค้งปกติ (Normal distribution) การแจกแจงแบบโค้งปกติ เป็นการแจกแจงของข้อมูลที่ได้จากตัวแปร ที่มีลักษณะต่อเนื่อง (Continuous variable) โดยมีคุณสมบัติของโค้งปกติ ดังนี้ 1. พื้นที่หรือความน่าจะเป็น (Probability) ภายใต้โค้งปกติมีค่าเท่ากับ 1 2. ความสูงของโค้งที่สูงที่สุดอยู่ที่ค่า µ 3.โค้งมีลักษณะเป็นรูประฆังคว่ำ สมมาตร และมีค่าเฉลี่ย มัธยฐาน และฐานนิยมเท่ากัน 4. ลักษณะการกระจายภายใต้โค้งปกติมีลักษณะที่ว่าในช่วงบวกลบ 1 เท่าของค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานจากค่าเฉลี่ยหรือจุดกลางของโค้ง (µ±1) มีพื้นที่ประมาณ 68% และ…

Read More

การวัดการกระจาย

การสรุปลักษณะต่างๆ ของข้อมูลนั้น ใช้การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลางเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ จำเป็นที่จะต้องใช้การวัดการกระจายด้วยเพื่อให้ทราบว่าข้อมูลแต่ละชุดมีการกระจายแตกต่างกันอย่างไร โดยมีวิธีการดังนี้ 1. พิสัย (Range) คือความแตกต่างระหว่างข้อมูลที่มีค่าสูงสุดกับข้อมูลที่มีค่าต่ำสุด การจัดการกระจายแบบนี้เป็นการวัดแบบหยาบๆ 2. ค่าเบี่ยงเบนควดไทล์ (Quartile deviation : Q.D.) คือค่าครึ่งหนึ่งของผลต่างระหว่างควอไทล์ที่ 3 กับควอไทล์ที่ 1 ใช้เมื่อข้อมูลนั้นมีการวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลางด้วยค่ามัธยฐาน 3. ค่าเบี่ยงเบนเฉลี่ย (Mean deviation : M.D.) คือค่าเฉลี่ยของค่าเบี่ยงเบนของข้อมูลแต่ละตัวที่เบี่ยงเบนไปจากค่าเฉลี่ยของข้อมูลชุดนั้น โดยไม่คำนึงถึงทิศทางหรือเครื่องหมาย การวัดการกระจายนี้ไม่นิยมใช้เพราะไม่คำนึงถึงเครื่องหมาย แต่ถ้าใช้จะใช้คู่กับค่าเฉลี่ย 4. ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation : S.D.) คือ รากที่สองของค่าเฉลี่ยของกำลังสองของค่าเบี่ยงเบนของข้อมูลแต่ละตัวจากค่าเฉลี่ยของข้อมูลชุดนั้น ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเป็นค่าสถิติที่แก้ไขจุดอ่อนของการใช้ค่าเบี่ยงเบนเฉลี่ย โดยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานนี้จะใช้คู่กับค่าเฉลี่ย   ความแปรปรวน (Variance) คือ ค่ากำลังสองของค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน   สรุปการเลือกใช้สถิติที่ใช้วัดการกระจายของข้อมูล 1. ในกรณีที่ต้องการดูการกระจายอย่างหยาบๆ ของข้อมูล และเพื่อความรวดเร็วใช้พิสัย แต่การใช้พิสัยจะบอกอะไรไม่ได้มากนัก 2. ในกรณีที่ใช้ค่ามัธยฐานเป็นค่าสถิติที่ใช้วัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง…

Read More
Back To Top