ชนิดของข้อมูลและตัวแปร

ชนิดของข้อมูล เนื่องจากสถิติบางอย่างไม่สามารถใช้ได้กับข้อมูลทุกชนิด ผู้วิจัยจึงควรทำความรู้จักกับชนิดของข้อมูล โดยชนิดของข้อมูลแบ่งได้เป็น 4 ชนิด ดังนี้ 1. ข้อมูลนามบัญญัติ (Nominal data) เป็นข้อมูลที่แบ่งเป็นกลุ่ม ไม่สามารถนำมาคำนวณได้ เช่น เพศ ชนิดโรงเรียน เป็นต้น 2. ข้อมูลเรียงลำดับ (Ordinal data) เป็นข้อมูลที่นอกจากจะจำแนกเป็นกลุ่มได้แล้ว ยังสามารถนำมาเรียงอันดับได้อีกด้วย ได้แก่ ผลการแข่งขัน ระดับความคิดเห็น เป็นต้น…

สถิติวิจัยทางการศึกษา

สถิติ (Statistics) หมายถึง ระเบียบวิธีการทางสถิติ ซึ่งประกอบด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูล การนำเสนอข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลและการแปลความหมายข้อมูล ชนิดของสถิติ แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้ 1. พรรณนาสถิติ (Descriptive Statistics) เป็นสถิติที่มุ่งศึกษาและอธิบายลักษณะต่างๆ ของกลุ่มประชากรเป้าหมาย โดยทำการรวบรวมข้อมูลต่างๆ จากทุกๆ หน่วยของประชากร และวิเคราะห์ แปลความหมายในกลุ่มประชากรนั้นเท่านั้น 2. อนุมานสถิติ (Inferential Statistics)…

อบรมการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี

ในช่วงวันหยุดยาว 5 วันที่ผ่านมา ก็ไม่ได้หยุดเหมือนใครๆ เขาครับ เพราะต้องไปอบรมเกี่ยวกับการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีที่เมืองโคราช แต่ก็เป็นกิจกรรมที่คิดว่าไม่ทำให้ตนเองต้องเสียวันหยุด เพราะถือว่าได้ไปพักผ่อนนอกสถานที่ครับ การอบรมครั้งนี้มีขึ้นในระหว่างวันที่ 14-15 พ.ค. 2554 ที่ผ่านมาครับ โดยมีวิทยากรที่เก่งและมีความสามารถมากเกี่ยวกับการจัดทำแผนปฏิบัติการและการจัดทำยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์ของสถานศึกษา ก็คือ ผอ.ภรณ์นภัส ปิยชัยกวี ผู้อำนวยการกลุ่มนโยบายและแผน สำหรับการอบรมครั้งนี้ก็ทำให้ผมได้รับความรู้และเข้าใจงานแผนการ การกำหนดเงินงบประมาณที่จะนำมาใช้ในการจัดการศึกษาในโรงเรียนได้มากยิ่งขึ้น แต่ก็ขอไม่กล่าวถึงรายละเอียดการอบรมนะครับ เพราะมันเป็นเรื่องน่าปวดหัว แต่ที่ยากจะนำเสนอก็คือ อยากจะกล่าวถึงเมืองโคราชครับ เพราะครั้งนี้เป็นการเดินทางไปภาคตะวันออกเฉียงเหนือของผมเป็นครั้งแรก และก็บอกได้ว่าประทับใจเมืองนี้ครับ เป็นเมืองที่น่าอยู่…

กิจกรรมทำบุญเนื่องในวันวิสาขบูชาโลก

เป็นกิจกรรมแรกของโรงเรียนในปีการศึกษา 2554 นี้ครับ ที่นักเรียนและครูได้มีโอกาสทำกิจกรรมร่วมกัน นั่นก็คือกิจกรรมวันวิสาขบูชา ซึ่งปีนี้ถือได้ว่าเป็นปีที่สำคัญและยกย่องให้วันสำคัญทางพระพุทธศาสนานี้เป็นวันสำคัญของโลกเราอีกด้วย โดยในที่นี้โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ลำลูกกา ได้จัดกิจกรรมให้นักเรียนและครูได้ทำบุญตักบาตรร่วมกันเนื่องในวันวิสาขบูชาในวันพฤหัสบดีที่ 12 พฤษภาคม 2554 ที่ผ่านมา ซึ่งนักเรียนทุกคนก็ได้ให้ความร่วมมือและเตรียมสิ่งของมาทำบุญตักบาตรกันเป็นจำนวนมากครับ และปีนี้ผมก็ได้มีโอกาสเป็นครูที่ปรึกษาระดับชั้น ม.4 หลังจากที่ดูแลนักเรียน ม.ต้นมานาน ก็เลยได้มีโอกาสทำบุญร่วมกับนักเรียนครับ และก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่านักเรียนห้องนี้จะเป็นนักเรียนที่น่ารัก เชื่อฟัง และตั้งใจเรียนนะครับ หน้าตานักเรียนที่ปรึกษาของผมเป็นอย่างไรกันบ้าง ก็ดูกันได้จากรูปด้านล่างนี้ครับ 🙂  

ความเที่ยง (Reliability)

ความเที่ยง (Reliability) คือคุณสมบัติของเครื่องมือที่วัดได้ตรงกับความเป็นจริง สามารถวัดได้โดย 1. การวัดความคงที่ (Measure of stability) วิธีนี้ใช้วัดซ้ำโดยให้ผู้สอบกลุ่มเดียวกันสอบข้อสอบชุดเดียวกันสองครั้ง โดยเว้นระยะห่างสองถึงสามสัปดาห์ มีข้อจำกัด คือ ต้องรอเว้นระยะเวลาในการสอบ ซึ่งผู้สอบอาจจะมีโอกาสฝึกหัดเรียนรู้เพิ่มเติม 2. การวัดความเท่ากัน (Measure of equivalence) ใช้ข้อสอบคู่ขนาน วัดกลุ่มเดียวกัน เวลาใกล้เคียงกัน วัดเรื่องเดียวกัน มีความยากง่ายเท่ากัน แต่มีปัญหาคือ สร้างข้อสอบคู่ขนานที่แท้จริงได้ยาก…

ความตรง (Validity)

ความตรง คือ คุณสมบัติของเครื่องมือที่สามารถวัดได้ในสิ่งที่ต้องการวัด ตามวัตถุประสงค์และสถานการณ์ที่กำหนดไว้ 1. ความตรงตามเนื้อหา (Content validity) หมายถึง คุณสมบัติของเครื่องมือที่ใช้วัดเนื้อหาได้ครบตามขอบเขตที่กำหนดไว้ การพิจารณาว่าเครื่องมือมีความตรงตามเนื้อหามากน้อยเพียงใดนั้น พิจารณาจากเครื่องมือว่าครอบคลุมเนื้อหาต่างๆ ที่ต้องการวัดครบถ้วนเพียงใด ซึ่งการพิจารณาความตรงของแบบทดสอบนั้นอาจจะอาศัยตารางวิเคราะห์หลักสูตรเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา 2. ความตรงตามสภาพ (Concurrent validity) หมายถึงคุณสมบัติของเครื่องมือที่สามารถวัดพฤติกรรมต่างๆ ได้สอดคล้องกับพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจริงในระยะเวลาเดียวกัน เช่น นักเรียน ม.4 ทำแบบทดสอบที่ครูสร้างขึ้น ได้ผลการทดสอบสอดคล้องกับการทำแบบทดสอบมาตรฐานวิชาเดียวกัน แสดงว่าแบบสอบที่ครูสร้างขึ้นมีความตรงตามสภาพ 3….

เทคนิคการสุ่มตัวอย่าง

ก่อนที่จะรู้จักเทคนิคการสุ่มตัวอย่าง เราควรจะทำความเข้าใจกับคำสองคำที่สำคัญก่อนครับ ก็คือคำว่า กลุ่มประกรเป้าหมาย และกลุ่มตัวอย่าง ดังนี้ กลุ่มประชากรเป้าหมาย (Target population) หมายถึง กลุ่มของสิ่งต่างๆ ทั้งหมดที่ผู้วิจัยสนใจ กลุ่มตัวอย่าง (Sample) หมายถึง กลุ่มของสิ่งต่างๆ ที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มประชากรที่ผู้วิจัยสนใจ เทคนิคการสุ่มตัวอย่าง นั้นแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้ 1. การสุ่มที่ไม่คำนึงถึงความน่าจะเป็นในการสุ่ม (Non-probability sampling) เป็นการสุ่มที่ขึ้นอยู่กับการควบคุมหรือตัดสินใจของผู้วิจัย…

การวิจัยทางการศึกษา

การวิจัย หมายถึง กระบวนการเสาะแสวงหาความรู้ใหม่ๆหรือกระบวนการเสาะแสวงหาความรู้เพื่อตอบปัญหาที่มีอยู่อย่างมีระบบและมีวัตถุประสงค์ที่แน่นอน โดยอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ การวิจัย หมายถึง กระบวนการเสาะแสวงหาความรู้ใหม่ๆ หรือกระบวนการเสาะแสวงหาความรู้เพื่อตอบปัญหาทางการศึกษาที่มีอยู่อย่างมีีระบบและมี วัตถุประสงค์ที่แน่นอน โดยอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ข้อจำกัดของการวิจัยทางการศึกษา ความซับซ้อนของเนื้อหาที่ศึกษา เพราะปัญหาที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์มีตัวแปรมาเกี่ยวข้องมากมาย ความยากในการรวบรวมข้อมูล เพราะเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของมนุษย์ ความยากในการทำซ้ำ ไม่เหมือนกันการทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่ทำซ้ำแล้วค่าที่ได้ก็ยังใกล้เคียงกับค่าเดิม ปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักวิจัยกับกลุ่มตัวอย่างมีผลกระทบต่อผลการวิจัย ยากในการควบคุมตัวแปรเกิน เครื่องมือมีความแม่นยำและเชื่อถือได้น้อยกว่าเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ การพิจารณาประสิทธิภาพของการวิจัยในแง่ของความตรง ความตรงภายใน (Internal validity) การวิจัยที่มีความตรงภายในสูง หมายถึง การวิจัยที่ไม่มีตัวแปรเกินแทรกซ้อน…

อบรมโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณครู

ไปอยู่ค่ายธรรมะเพื่อเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษามา 3 วันครับ ตั้งแต่วันที่ 26-28 เมษายน ที่ผ่านมา โดยโครงการนี้เป็นโครงการของครุสภาร่วมกับวัดเขียนเขต จังหวัดปทุมธานี เป็นผู้จัดทำขึ้น โดยมีครูเข้าร่วมโครงการประมาณ 150 คนครับ วัตถุประสงค์ของโครงการก็คือพัฒนาผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาให้ประพฤติปฏิบัติตนด้านศีล สมาธิ ปัญญา และจรรยาบรรณของวิชาชีพ ให้เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ ควบคู่กับความมีคุณธรรม เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนานักเรียน การเข้าอบรมครั้งนี้นอกจากจะได้ฝึกปฏิบัติกรรมฐานแล้ว ก็ยังมีเนื้อหาความรู้จากวิทยากรที่มีความรู้มาบรรยายในเรื่องที่น่าสนใจหลายเรื่อง ได้แก่ ศาสนากับวิถีชีวิตครู ความคิดรากฐานแห่งการสอน…

การประชุมระดับสูงว่าด้วยการศึกษาเพื่อปวงชน ครั้งที่ 10

ได้มีโอกาสเข้าร่วมการนำเสนอผลงานให้กับสำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน (สทร.) ครับ โดยเป็นการนำเสนอการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ Social Media ในงานการประชุมระดับสูงว่าด้วยการศึกษาเพื่อปวงชน ครั้งที่ 10 ในวันที่ 22-24 มีนาคม พ.ศ. 2554 ที่โรงแรมรอยัล คลิฟ บีช รีสอร์ท จังหวัดชลบุรีครับ มาร่วมงานนี้ได้อย่างไร? การที่ผมได้เข้ามาร่วมงานนี้ ก็สืบเนื่องมาจากเป็นผมเป็นผลผลิตของ สทร. ที่ได้อบรมการนำ Social Media มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนครับ…