โจทย์โอลิมปิกวิชาการ สาขาคอมพิวเตอร์ ระดับชาติ ครั้งที่ 12
http://www.nattapon.com/wp-content/uploads/2019/06/TOI12-Day1_1_peak.pdf http://www.nattapon.com/wp-content/uploads/2019/06/TOI12-Day1_2_key.pdf
http://www.nattapon.com/wp-content/uploads/2019/06/TOI12-Day1_1_peak.pdf http://www.nattapon.com/wp-content/uploads/2019/06/TOI12-Day1_2_key.pdf
วันนี้ขออนุญาตนำเสนอผลการวิเคราะห์หลักสูตร และแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาวิทยาการคำนวณ ระดับ ป.1 – ม.3 ครับ เพื่อเป็นแนวทางให้กับโรงเรียนและคุณครูนำไปปรับใช้ในการจัดการเรียนการสอนครับ โดยตอนนี้ผมได้อัดเป็นคลิปวีดีโออธิบายไว้ คุณครูสามารถดูได้จากคลิปวีดิโอ 2 คลิปต่อไปนี้ครับ ขอกำลังใจด้วยการกดไลค์ กดติดตามช่องครูโจ๊กด้วยนะครับ https://www.youtube.com/c/NattaponBuaurai?sub_confirmation=1 และฝากกดติดตามช่องอันนาและพ่อโจ๊กแม่ฝนด้วยนะครับ ขอบคุณครับ https://www.youtube.com/channel/UCOyC1JHOKb-BvtXZuwGxpkw?sub_confirmation=1 สำหรับแนวทางการจัดหลักสูตรตามเอกสารที่นำเสนอ สามารถทำได้ดังนี้ครับ โดยวิชาวิทยาการคำนวณมีเนื้อหาสำคัญ 3 ส่วน ดังนี้ ซึ่งจากการวิเคราะห์หลักสูตร คุณครูสามารถจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาการคำนวณให้ครบ 3 เนื้อหาสำคัญ ได้โดยพิจารณาจาก Slide ต่อไปนี้ครับ โดยจากการที่ผมวิเคราะห์หลักสูตรวิชาวิทยาการคำนวณ จะได้ตารางวิเคราะห์คร่าวๆ ดังนี้ครับ หากมีข้อเสนอแนะ แนะนำเพิ่มเติม หรือผิดพลาดประการใด รบกวนแจ้งผมได้เลยนะครับ
องค์ประกอบสำคัญของแนวคิดเชิงคำนวณประการหนึ่งก็คือการออกแบบขั้นตอนวิธี หรือที่เราเรียกว่า Algorithm ครับ ซึ่งวิธีที่ง่ายและเป็นมาตรฐานที่สุดที่จะออกแบบขั้นตอนวิธีการแก้ปัญหาได้นั้นก็คือการวาดเป็นผังงานหรือการเขียน Flowchart นั่นเอง เครื่องมือในการวาด Flowchart มีหลายตัวครับ แต่วันนี้จะมาแนะนำ Flowgoritm ซึ่งความสามารถเด่นๆ ของมันก็คือ เราสามารถรันหรือทดสอบระบบของขั้นตอนวิธีที่เราออกแบบไว้ได้ อีกทั้งยังสามารถแปลงเป็นภาษาโปรแกรมต่างๆ ได้อีกหลายสิบภาษาอีกด้วยครับ วิธีการใช้งานเบื้องต้น สามารถศึกษาได้ตามเอกสารนี้ครับ แต่ถ้าต้องออกแบบขั้นตอนวิธีที่มีการใช้ฟังก์ชันหรือคำสั่งอื่นๆ มากขึ้น เช่น ฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ สามารถศึกษาได้จาก Document ในเว็บไซต์ได้เลยครับผม http://www.flowgorithm.org/documentation/index.htm http://www.nattapon.com/wp-content/uploads/2019/06/4-เอกสารแนะนำการออกแบบขั้นตอนวิธีด้วย-Flowgorithm.pdf หากนำไปใช้กับนักเรียน เราก็ต้องมีโจทย์หรือปัญหาให้นักเรียนฝึกคิดใช่ไหมครับ วันนี้มีตัวอย่างโจทย์มาให้เช่นกัน เป็นโจทย์พื้นฐานโดยเป็นการแก้ปัญหาแบบลำดับขั้นตามนี้เลย http://www.nattapon.com/wp-content/uploads/2019/06/โจทย์โปรแกรมแบบลำดับ.pdf
กิจกรรมเลขฐาน…สองแปปเดียว หรือเลขฐานสอง…ไม่ต้องคำนวณ นี้จะช่วยให้นักเรียนสามารถแปลงเลขฐานสองไปเป็นเลขในระบบฐานสิบ หรือเลขฐานสิบไปอยู่ในเลขฐานสองได้อย่างรวดเร็วครับ โดยอาศัยหลักการมองค่าประจำหลัก เช่น เลขฐานสิบจะมีค่าประจำหลักคือ 10,000 1,000 100 10 1 ตามลำดับ ถ้าเรามีเลข 54,321 นั่นก็หมายความว่ามันเกิดจาก 5×10,000 + 4×1,000 + 3×100 + 2×10 + 1×1 = 54,321 ครับ แต่พอเป็นเลขฐานสองจะง่ายกว่านั้นมาก เพราะไม่ต้องเสียเวลาคูณ เนื่องจากเลขฐานสองมีเลขแค่ 0 และ 1 และค่าประจำหลักก็คือ 128 64 32 16 8 4 2 1 ครับ ดังนั้นเมื่อเราเจอเลขฐานสองเป็น 10011 นั่นก็คือ 1×16 + 0x8 + 0x4 + 1×2 +…
เทคนิค Exit Ticket หรือภาษาไทยใช้ชื่อว่าเทคนิคตั๋วออก เป็นวิธีการหนึ่งที่ใช้ในการตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียน และเป็นข้อมูลจากนักเรียนที่ครูสามารถนำมาใช้ในการปรับการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนได้มากยิ่งขึ้นครับ โดยก่อนที่นักเรียนจะออกจากห้องให้นักเรียนทุกคนได้สะท้อนข้อมูลจากการเรียนในคาบนั้นๆ ในประเด็นต่างๆ ซึ่งผมก็วางไว้ 4 ประเด็น คือ 1) ให้สรุปความรู้เรียนในวันนั้น 2) ปัญหาในการเรียนวันนั้น 3) จะนำความรู้ที่เรียนไปประยุกต์ใช้ได้อย่างไร และ 4) นักเรียนอยากรู้อะไรเพิ่มเติมอีก ภาคเรียนนี้ผมจึงได้นำเทคนิคนี้มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาวิทยาการคำนวณ ม.4 ด้วย โดยเมื่อนักเรียนได้เรียนจบในคาบนั้นๆ แล้ว 10-15 นาทีสุดท้ายก็นะให้นักเรียนได้สะท้อนข้อมูลให้ครูได้รับทราบ เพื่อผมจะได้นำข้อมูลนั้นมาปรับการสอนในครั้งต่อไปให้ดีขึ้น หรือตรงกับความต้องการของนักเรียนมากยิ่งขึ้นครับ อีกทั้งยังเป็นสิ่งที่สะท้อนว่านักเรียนได้เรียนรู้อะไร ไม่เข้าใจอะไร และอยากจะให้ครูปรับเปลี่ยนอะไรในการสอนบ้าง สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งคือการฝึกให้นักเรียนได้สรุปความรู้ ได้เขียนสรุปความ องค์ความรู้หลังเรียน เหมือนเราอ่านหนังสือจบหนึ่งย่อหน้า แล้วสรุปเป็นความเข้าใจของเราเองครับ เวลาออกจากห้องเรียนไป นักเรียนจะได้มีข้อสรุปและ concept ติดตัวไปว่าคาบที่ผ่านมาได้ความรู้อะไรบ้าง สุดท้ายถ้าเป็นไปได้ก็อยากจะทำวิจัยเรื่องนี้เมื่อจบภาคเรียน จะได้เป็นข้อมูลยืนยันว่าวิธีการนี้นำมาใช้ในการเรียนแล้วส่งผลดีกับผู้เรียนในด้านต่างๆ บ้างหรือไม่อย่างไร เนื่องจากผมสอนรายวิชาที่ใช้ห้องคอมพิวเตอร์อยู่แล้ว ก็เลยใช้ Google Form นี่ล่ะครับเป็นเครื่องมือที่ให้นักเรียนกรอกข้อมูล แต่ถ้าไม่ใช่ห้องคอมพิวเตอร์ คุณครูอาจจะให้นักเรียนบันทึกใส่สมุดหรือกระดาษที่ครูเตรียมไว้ให้ก็ได้ครับ โดยจัดการเรียนการสอนในเว็บไซต์ที่ผมทำขึ้นมาเองครับ https://sites.google.com/skr.ac.th/computingscience/