วิเคราะห์ตัวชี้วัดวิชาวิทยาการคำนวณ || ทำความเข้าใจแล้วจะรู้ว่าวิชานี้สอนไม่ยากครับ

คลิปนี้เรามาวิเคราะห์ตัวชี้วัดวิชาวิทยาการคำนวณกันครับ ซึ่งจะแนะนำให้เห็นว่าวิชานี้มีองค์ประกอบ 3 ประการคือ ICT, DL และ Computer Science และตัวชี้วัดได้ระบุชัดเจน และก็มีจำนวน 4-5 ข้อ หากวิเคราะห์ดูดีๆ แล้ว รับรองว่าสอนได้ สอนไม่ยาก และอาจจะไม่ต้องใช้หนังสือเรียนด้วย สามารถหากิจกรรมได้จากชีวิตประจำวันรอบตัวได้เลยครับ — หากมีข้อแนะนำหรือสอบถามเพิ่มเติม ฝากไว้ใน comment นะครับ 

เรียนรู้การเป็นพลเมืองดิจิทัลและความปลอดภัย ตอน Be Internet Alert ไม่ตกหลุมพรางกลลวง

เรียนรู้การเป็นพลเมืองดิจิทัลและความปลอดภัย ตอน Be Internet Alert ไม่ตกหลุมพรางกลลวง เป็นการเรียนรู้การใช้งานอินเทอร์เน็ตให้เกิดประโยชน์สูงสุด รู้จักพื้นฐานการเป็นพลเมืองดิจิทัล และความปลอดภัยบนโลกออนไลน์ ผ่านกิจกรรมของ Google ด้วย beinternetawesome.withgoogle.com ครับ ทุกคนสามารถเข้าไปเรียนรู้ผ่านการเล่นเกมได้ที่นี่เลย beinternetawesome.withgoogle.com 

หลักสูตรวิทยาการคำนวณและออกแบบและเทคโนโลยี โรงเรียนสวนกุหลาบฯ รังสิต

หลักสูตรต่อไปนี้ คือหลักสูตรเทคโนโลยี หรือหลักสูตรคอมพิวเตอร์ ของโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต ซึ่งปรับปรุงมาเป็นปีที่ 3 แล้ว หลังจากมีการปรับเปลี่ยนหลักสูตรใหม่ครับ โครงสร้างหลักสูตรคอมพิวเตอร์  

Arduino Lab4: Switch การทำงานเกี่ยวกับสวิตซ์

การทำงานเกี่ยวกับอุปกรณ์ไฟฟ้าหลายๆ ประเภทมักจะมีการใช้งานเกี่ยวกับสวิตซ์ (Switch) วันนี้เราจะมารู้จักสวิตซ์ 2 ประเภทครับ คือ สวิตซ์แบบเลื่อน (Slide Switch) กับสวิตซ์แบบกดติดปล่อยดับ (Push Switch) ครับ โดยเครื่องมือที่ใช้ทดลองของเราก็ยังคงเหมือนเดิมคือ www.tinkercad.com ครับผม

การสอนวิชาวิทยาการคำนวณ หลักสูตรและแนวทางการจัดการเรียนรู้ระดับประถมศึกษา-ขยายโอกาส

หลังจากที่ได้มีโอกาสไปเป็นวิทยากรแนะนำการจัดหลักสูตรและแนวทางการจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาการคำนวณให้กับโรงเรียนประถมศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหลายแห่ง ก็พบว่าแต่ละโรงเรียนที่มาอบรมนั้นมีความแตกต่างกันไป บางครั้งก็มีความแตกต่างกันมากทางด้านความพร้อมของครูและอุปกรณ์การเรียนการสอนครับ บางโรงเรียนการจัดหลักสูตรก็ยังมีปัญหาอยู่ ด้วยประสบการณ์ที่ได้มีโอกาสทำงานตรงนี้ก็เลยจะขอสรุปและนำเสนอเอกสารต่างๆ ที่คุณครูประถมศึกษา รวมทั้งโรงเรียนขยายโอกาสจะสามารถนำไปปรับใช้ในการจัดการเรียนการสอนตามลิงค์ที่แนบมานี้ครับ เอกสารแนวทางการจัดหลักสูตร ใบกิจกรรม Unplugged Programming และ Block Programming

แชร์เอกสารแนวทางการจัดหลักสูตรและการสอนวิชาวิทยาการคำนวณ ระดับมัธยมศึกษา

แชร์เอกสารสำหรับวิชาวิทยาการคำนวณ ระดับมัธยมศึกษาครับ https://drive.google.com/drive/folders/1ibBesc39vLfXKnIj_l0eG9Eg5Lx_ApHH?usp=sharing Presentation ก็อยู่ในนี้แล้ว แต่ content ไม่ค่อยมีนะครับ ใส่ไว้แต่รูปภาพประกอบการบรรยาย ถ้าจะดู content ก็ตามเอกสารประกอบอื่นๆ ที่ใส่ไว้ในไดฟว์ครับ คุณครูจะเอาไปสอน เอาไปบรรยาย เอาไปส่งต่อ หรืออะไรก็แล้วแต่ ไม่หวงห้าม แต่ขอแค่ “อย่าตัดชื่อผมออกจากเอกสารก็พอครับ” ฮ๋าๆ หวังว่าคงจะมีประโยชน์กับครูที่สอนวิชาวิทยาการคำนวณไม่มากก็น้อยนะครับผม

การสร้าง Machine Learning อย่างง่ายเพื่อนำไปใช้กับ AI

ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI นั้น เกิดจากการที่เครื่องจักรนั้นมีสมองที่ฉลาด สามารถทำงานได้ถูกต้อง แม่นยำตามที่ต้องการ ซึ่งก่อนที่จะเกิดเป็นปัญญาประดิษฐ์ ผู้พัฒนาปัญญาประดิษฐ์จะต้องพัฒนาส่วนที่เรียกว่าสมองก่อน นั่นก็คือโมเดล และโมเดลนั้นก็เกิดจากการเรียนรู้ของเครื่องที่เรียกว่า Machine Learning ครับ

สรุปง่ายๆ สั้นๆ ก็คือจะเกิด AI เราต้องทำ Machine Learning เพื่อให้คอมพิวเตอร์เรียนรู้สิ่งที่ต่างๆ จนมันฉลาดเสียก่อนนั่นเอง

การดึงข้อมูลที่ต้องการจากเว็บไซต์ด้วยภาษาไพทอน (Data Science) วิทยาการคำนวณ ม.5

ในวิชาวิทยาการคำนวณ ม.5 มีตัวชี้วัดวิทยาการคำนวณ หรือ ว.4.2 อยู่เพียงข้อเดียวครับ ว4.2 ม.5/1 รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูล และใช้ความรู้ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ สื่อดิจิทัล เทคโนโลยีสารสนเทศในการแก้ปัญหาหรือเพิ่มมูลค่าให้กับบริการหรือผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในชีวิตจริงอย่างสร้างสรรค์ ซึ่งพูดง่ายๆ ก็คือนักเรียนจะต้องรวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์และนำเสนอเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจได้ทันทีว่าข้อมูลเหล่านั้นหมายถึงอะไร พร้อมกับนำไปแก้ปัญหาหรือเพิ่มมูลค่ากับสิ่งที่ต้องการได้ครับ สำหรับผมแล้วการวิเคราะห์ข้อมูลหรือประมวลผลนั้นไม่ค่อยยากเท่าไหร่ เพราะเรามีโปรแกรมช่วยเยอะ ทั้ง Excel SPSS หรือ Tableau ครับ แต่กระบวนการในการได้มาซึ่งข้อมูลที่ต้องการนั้นเป็นสิ่งสำคัญ เช่น ถ้าเราต้องการถึงข้อมูลจำนวนมากจากเว็บไซต์หนึ่ง…

การวิเคราะห์หลักสูตรวิทยาการคำนวณ แนวทางการจัดหลักสูตรและกิจกรรมการเรียนการสอน

วันนี้ขออนุญาตนำเสนอผลการวิเคราะห์หลักสูตร และแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาวิทยาการคำนวณ ระดับ ป.1 – ม.3 ครับ เพื่อเป็นแนวทางให้กับโรงเรียนและคุณครูนำไปปรับใช้ในการจัดการเรียนการสอนครับ โดยตอนนี้ผมได้อัดเป็นคลิปวีดีโออธิบายไว้ คุณครูสามารถดูได้จากคลิปวีดิโอ 2 คลิปต่อไปนี้ครับ ขอกำลังใจด้วยการกดไลค์ กดติดตามช่องครูโจ๊กด้วยนะครับ https://www.youtube.com/c/NattaponBuaurai?sub_confirmation=1 และฝากกดติดตามช่องอันนาและพ่อโจ๊กแม่ฝนด้วยนะครับ ขอบคุณครับ https://www.youtube.com/channel/UCOyC1JHOKb-BvtXZuwGxpkw?sub_confirmation=1   สำหรับแนวทางการจัดหลักสูตรตามเอกสารที่นำเสนอ สามารถทำได้ดังนี้ครับ โดยวิชาวิทยาการคำนวณมีเนื้อหาสำคัญ 3 ส่วน ดังนี้ ซึ่งจากการวิเคราะห์หลักสูตร…

การออกแบบ Algorithm (ขั้นตอนวิธี) ด้วย Flowgorithm

องค์ประกอบสำคัญของแนวคิดเชิงคำนวณประการหนึ่งก็คือการออกแบบขั้นตอนวิธี หรือที่เราเรียกว่า Algorithm ครับ ซึ่งวิธีที่ง่ายและเป็นมาตรฐานที่สุดที่จะออกแบบขั้นตอนวิธีการแก้ปัญหาได้นั้นก็คือการวาดเป็นผังงานหรือการเขียน Flowchart นั่นเอง เครื่องมือในการวาด Flowchart มีหลายตัวครับ แต่วันนี้จะมาแนะนำ Flowgoritm ซึ่งความสามารถเด่นๆ ของมันก็คือ เราสามารถรันหรือทดสอบระบบของขั้นตอนวิธีที่เราออกแบบไว้ได้ อีกทั้งยังสามารถแปลงเป็นภาษาโปรแกรมต่างๆ ได้อีกหลายสิบภาษาอีกด้วยครับ วิธีการใช้งานเบื้องต้น สามารถศึกษาได้ตามเอกสารนี้ครับ แต่ถ้าต้องออกแบบขั้นตอนวิธีที่มีการใช้ฟังก์ชันหรือคำสั่งอื่นๆ มากขึ้น เช่น ฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ สามารถศึกษาได้จาก Document ในเว็บไซต์ได้เลยครับผม http://www.flowgorithm.org/documentation/index.htm…