ครูณัฐพล

วิทยากร : การอบรมวิทยาการคำนวณ ม.ปลาย สพม.3 (นนทบุรี-พระนครศรีอยุธยา)

ได้รับเกียรติจาก สพม.3 ให้ไปบรรยายและอบรมเชิงปฏิบัติการวิชาวิทยาการคำนวณ สำหรับคุณครูผู้สอนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย วันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 ณ โรงเรียนเตรียอุดมศึกษาพัฒนาการ นนทบุรี ครับ กำหนดการ 1 วัน แต่ผมก็ออกแบบกิจกรรมไปเยอะพอสมควร และก็จัดเตรียมเอกสารการอบรมไว้ให้ทั้งหมดในรูปแบบของไฟล์ครับ แต่ก็ไม่ได้เน้นการใช้เครื่องมือมากนัก เพราะรู้ว่าการอบรม 1 วัน คงแนะนำเครื่องมือสำหรับการสอนวิชาวิทยาการคำนวณได้ไม่ทั้งหมด ผมจึงเน้นไปที่ให้ครูเกิดความเข้าใจในวิชาวิทยาการคำนวณ​ สามารถออกแบบและจัดหลักสูตรของวิชานี้ได้อย่างเหมาะสม ถูกต้อง สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน แล้วจึงให้คุณครูได้รู้จักเครื่องมือที่จะสามารถำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาการคำนวณ ทั้ง 3 แกนหลัก ได้แก่ ICT DL และ Computer Science ครับ ต้องขอขอบคุณ สพม.3 อีกครั้งที่ได้ให้โอกาสผมไปแนะนำรายวิชาวิทยาการคำนวณกับคุณครูในครั้งนี้ครับ หนังสือเชิญ

Read More

แชร์เอกสารแนวทางการจัดหลักสูตรและการสอนวิชาวิทยาการคำนวณ ระดับมัธยมศึกษา

แชร์เอกสารสำหรับวิชาวิทยาการคำนวณ ระดับมัธยมศึกษาครับ https://drive.google.com/drive/folders/1ibBesc39vLfXKnIj_l0eG9Eg5Lx_ApHH?usp=sharing Presentation ก็อยู่ในนี้แล้ว แต่ content ไม่ค่อยมีนะครับ ใส่ไว้แต่รูปภาพประกอบการบรรยาย ถ้าจะดู content ก็ตามเอกสารประกอบอื่นๆ ที่ใส่ไว้ในไดฟว์ครับ คุณครูจะเอาไปสอน เอาไปบรรยาย เอาไปส่งต่อ หรืออะไรก็แล้วแต่ ไม่หวงห้าม แต่ขอแค่ “อย่าตัดชื่อผมออกจากเอกสารก็พอครับ” ฮ๋าๆ หวังว่าคงจะมีประโยชน์กับครูที่สอนวิชาวิทยาการคำนวณไม่มากก็น้อยนะครับผม

Read More

การสร้าง Machine Learning อย่างง่ายเพื่อนำไปใช้กับ AI

ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI นั้น เกิดจากการที่เครื่องจักรนั้นมีสมองที่ฉลาด สามารถทำงานได้ถูกต้อง แม่นยำตามที่ต้องการ ซึ่งก่อนที่จะเกิดเป็นปัญญาประดิษฐ์ ผู้พัฒนาปัญญาประดิษฐ์จะต้องพัฒนาส่วนที่เรียกว่าสมองก่อน นั่นก็คือโมเดล และโมเดลนั้นก็เกิดจากการเรียนรู้ของเครื่องที่เรียกว่า Machine Learning ครับ

สรุปง่ายๆ สั้นๆ ก็คือจะเกิด AI เราต้องทำ Machine Learning เพื่อให้คอมพิวเตอร์เรียนรู้สิ่งที่ต่างๆ จนมันฉลาดเสียก่อนนั่นเอง

Read More

การดึงข้อมูลที่ต้องการจากเว็บไซต์ด้วยภาษาไพทอน (Data Science) วิทยาการคำนวณ ม.5

ในวิชาวิทยาการคำนวณ ม.5 มีตัวชี้วัดวิทยาการคำนวณ หรือ ว.4.2 อยู่เพียงข้อเดียวครับ ว4.2 ม.5/1 รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูล และใช้ความรู้ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ สื่อดิจิทัล เทคโนโลยีสารสนเทศในการแก้ปัญหาหรือเพิ่มมูลค่าให้กับบริการหรือผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในชีวิตจริงอย่างสร้างสรรค์ ซึ่งพูดง่ายๆ ก็คือนักเรียนจะต้องรวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์และนำเสนอเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจได้ทันทีว่าข้อมูลเหล่านั้นหมายถึงอะไร พร้อมกับนำไปแก้ปัญหาหรือเพิ่มมูลค่ากับสิ่งที่ต้องการได้ครับ สำหรับผมแล้วการวิเคราะห์ข้อมูลหรือประมวลผลนั้นไม่ค่อยยากเท่าไหร่ เพราะเรามีโปรแกรมช่วยเยอะ ทั้ง Excel SPSS หรือ Tableau ครับ แต่กระบวนการในการได้มาซึ่งข้อมูลที่ต้องการนั้นเป็นสิ่งสำคัญ เช่น ถ้าเราต้องการถึงข้อมูลจำนวนมากจากเว็บไซต์หนึ่ง เราจะมีวิธีการอย่างไรจึงจะสะดวกที่สุด และข้อมูลนั้นอยู่ในรูปที่สามารถนำมาประมวลผลได้ง่าย ในบทความนี้ผมจะอธิบายและยกตัวอย่างการทำ Web Scraping ซึ่งเป็นกระบวนการรวบรวมข้อมูลจากเว็บไซต์ใดๆ ที่ได้มาจากการอบรมครูแกนนำวิทยาการคำนวณ ม.ปลาย ครับ คุณครูลองทำตามเอกสารที่แนบมาดังนี้ได้เลยนะครับ ตัวอย่างที่เขียนมาจะเป็นการดึงข้อมูลภาพยนตร์จากเว็บไซต์ imdb.com 250 อันดับแรกที่ได้รับความนิยมสูงสุด โดยเลือกที่จะดึงชื่อ ปีที่ฉาย และเรทติ้งครับ (โค้ดอยู่ด้านล่างนะ) หมายเหตุ ครูควรทดลองทำการดึงข้อมูลหลายๆ รูปแบบเพื่อให้เกิดความเข้าใจ และควรแนะนำหรือสอน HTML Element ด้วยนะครับ http://www.nattapon.com/wp-content/uploads/2019/07/เอกสารแนะนำการรวบรวมข้อมูลด้วย-Web-Scrapping.pdf  

Read More

การใช้ Elabsheet.org ในการสร้างโจทย์โปรแกรมภาษาไพทอนและตรวจให้อัตโนมัติ

เอกสารแนะนำการใช้ Elabsheet.org ในการสร้างโจทย์โปรแกรมภาษาไพทอนและตรวจให้อัตโนมัติ ฉบับนี้สร้างขึ้นเพื่อให้คุณครูที่ต้องการความสะดวกในการสอนภาษาโปรแกรมและมีระบบตรวจให้อัตโนมัติ โดยที่คุณครูไม่ต้องโหลดโปรแกรมนักเรียนมารันทุกครั้งครับ ระบบ elabsheet.org นี้เป็นของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ต้องขอขอบคุณทางคณะวิศวกรรมศาสตร์มากจริงๆ เพราะทำให้ผมสอนไพทอนและสอนวิชาคอมพิวเตอร์โอลิมปิก(ภาษาซี) สร้างโจทย์และมีระบบตรวจทำให้ชีวิตสบายขึ้นมากครับ หากคุณครูสอนวิชาเหล่านี้ และต้องการใช้งาน elabsheet.org สามารถศึกษาวิธีการใช้งานได้จากเอกสารที่ผมจัดทำไว้ต่อไปนี้ได้เลยครับ โดยลิงค์ที่คุณครูสามารถแก้ไขหรือนำไปปรับใช้ได้มีดังนี้ครับผม   โปรแกรมหาค่าความยาวด้านตรงข้ามมุมฉาก ลิงค์ครู(แก้ไขได้) : https://elabsheet.org/elab/taskpads/change/x83g3gtyeg/koeg5pjw1t/ ลิงค์สำหรับผู้ใช้ : https://elabsheet.org/elab/taskpads/show/x83g3gtyeg/   โปรแกรมตรวจสอบชนิดของเลขจำนวนเต็ม (บวก, ลบ, ศูนย์) ลิงค์ครู(แก้ไขได้) : https://elabsheet.org/elab/taskpads/change/gctaszntze/bqquwjy8ko/ ลิงค์สำหรับผู้ใช้ : https://elabsheet.org/elab/taskpads/show/gctaszntze/ http://www.nattapon.com/wp-content/uploads/2019/07/เอกสารแนะนำการสร้างสื่อ-Python-ด้วย-Elabsheet.pdf

Read More
Back To Top