การนำวีดีโอจาก youtube มาแสดงบนบล็อก wordpress
1. Log in เข้าสู่ระบบของ WordPress ดังรูปด้านล่างครับ (ตัวอย่างเช่น www.krunattapon.wordpress.com/wp-admin ครับ) 2. เมื่อเข้ามาแล้วให้คลิกเมนู “เขียนเรื่องใหม่” ซึ่งเป็นเมนูย่อยในเมนู “เรื่อง” ครับ จะปรากฎหน้าต่างสำหรับเขียนเรื่องใหม่ดังรูปด้านล่าง
บทที่ 3 การสื่อสารข้อมูล
สาระสำคัญ การสื่อสารข้อมูลผ่านระบบคอมพิวเตอร์เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะการสื่อสารประเภทนี้จะช่วยให้หน่วยงานต่างๆ สามารถประหยัดทรัพยากร อีกทั้งยังมีประโยชน์ในการติดต่อสื่อสาร ค้นหาข้อมูล และดำเนินกิจกรรมต่างๆ ที่จะช่วยให้ภาระงานสำเร็จลุล่วงได้อย่างรวดเร็ว การเรียนรู้เกี่ยวกับการสื่อสารข้อมูลในเครือข่ายคอมพิวเตอร์จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยสิ่งที่จำเป็นต้องรู้เพื่อเป็นพื้นฐานในการทำความเข้าใจในระดับสูงขึ้นไป คือ ความหมายของการสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ องค์ประกอบของการสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สื่อหรือตัวกลางในการสื่อสารข้อมูล และโพรโตคอลสำหรับสื่อสารข้อมูลในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สำหรับบทที่ 3 เรื่องการสื่อสารข้อมูล นักเรียนสามารถศึกษาเนื้อหาได้จาก PowerPoint และเอกสารด้านล่างนี้เพิ่มเติมจากที่ครูสอนในชั้นเรียนได้ครับ บทที่ 3 การสื่อสารข้อมูล from Nattapon ใบความรู้ที่…
ประกวดเดินสวนสนามลูกเสือระดับเขต
รู้สึกว่าช่วงนี้ดวงจะผูกพันกับกิจการลูกเสือมากเป็นพิเศษ เพราะมีกิจกรรมหลายอย่างที่ทำเกี่ยวกับลูกเสือครับ อันที่จริงก็ไม่ค่อยชอบเท่าไหร่นะ ด้วยเรื่องเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายที่เยอะแยะมากมายซะเหลือเกิน แถมยังต้องใส่กางเกงขาสั้นซะอีกต่างหาก แต่พอได้เข้าร่วมกิจกรรมหลายๆ อย่าง (ที่ ผอ. ให้เข้า) ก็รู้สึกสนุกกับกิจกรรมนี้ครับ เหมือนกับเราได้ผจญภัย และเป็นการฝึกวินัยในตนเองได้มากเลยทีเดียว และกิจกรรมล่าสุดที่ได้เข้าร่วมและรู้สึกว่าต้องรับผิดชอบเป็นอย่างมาก ก็คือการแข่งขันประกวดการเดินสวนสนามลูกเสือครับ ซึ่งแข่งไปเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2554 ที่ผ่านมา เป็นการแข่งขันระดับเขตพื้นที่การศึกษา (ปทุมธานี เขต 2) ครั้งนี้เป็นการเดินสวนสนามที่เป็นการแข่งขันครั้งแรกของผมเลย เพราะปกติทุกปีจะเป็นการเดินในวันที่ 1…
อบรมวิทยากรแกนนำลูกเสือไซเบอร์
ได้มีโอกาสเข้าร่วมโครงการสร้างลูกเสือบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อสร้างวิทยากรแกนนำลูกเสือไซเบอร์ ในวันที่ 6-7 มิถุนายน 2554 ที่ผ่านมา ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ครับ โดยโครงการนี้จัดโดยกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จุดประสงค์ของโครงการก็คือสร้างวิทยากรแกนนำเพื่อนำความรู้ไปขยายผลต่อให้กับนักเรียนและบุคคลในองค์กร เกี่ยวกับการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างปลอดภัย และเป็นหูเป็นตาให้กับรัฐในการช่วยสอดส่องดูแลภัยอันตรายและเฝ้าระวังข้อมูลข่าวสารที่เป็นภัยต่อสถาบันและความมั่นคงของประเทศ สำหรับการเข้าร่วมโครงการนี้ถือได้ว่าได้รับความรู้ใหม่ๆ เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเกี่ยวกับภัยต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต และ พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ครับ อีกทั้งยังได้รู้จักคุณครูภาคกลางร้อยกว่าท่านที่มาร่วมเข้ารับการอบรมในครั้งนี้
การแจกแจงทางทฤษฎีที่ใช้อนุมานสถิติ
การแจกแจงทางทฤษฎี (Theoretical distribution) ที่ใช้ในอนุมานสถิติบ่อยๆ มีอยู่ 4 ประเภทด้วยกันคือ 1. การแจกแจงแบบโค้งปกติ (Normal distribution) 2. การแจกแจงแบบไคว์สแควร์ (Chi-square distribution) 3. การแจกแจงแบบ F (F-distribution) 4. การแจกแจงแบบ t (t-distrubution) 1. การแจกแจงแบบโค้งปกติ (Normal distribution)…
การวัดการกระจาย
การสรุปลักษณะต่างๆ ของข้อมูลนั้น ใช้การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลางเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ จำเป็นที่จะต้องใช้การวัดการกระจายด้วยเพื่อให้ทราบว่าข้อมูลแต่ละชุดมีการกระจายแตกต่างกันอย่างไร โดยมีวิธีการดังนี้ 1. พิสัย (Range) คือความแตกต่างระหว่างข้อมูลที่มีค่าสูงสุดกับข้อมูลที่มีค่าต่ำสุด การจัดการกระจายแบบนี้เป็นการวัดแบบหยาบๆ 2. ค่าเบี่ยงเบนควดไทล์ (Quartile deviation : Q.D.) คือค่าครึ่งหนึ่งของผลต่างระหว่างควอไทล์ที่ 3 กับควอไทล์ที่ 1 ใช้เมื่อข้อมูลนั้นมีการวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลางด้วยค่ามัธยฐาน 3. ค่าเบี่ยงเบนเฉลี่ย (Mean deviation : M.D.)…
การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง
การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง การสรุปลักษณะของข้อมูลโดยทั่วไป จะคำนึงถึงลักษณะ 2 ประการ คือ ค่าที่เป็นตัวแทนของข้อมูลแต่ละชุด และลักษณะการกระจายของข้อมูล โดยการหาค่าสถิติที่ทีเป็นตัวแทนของข้อมูลแต่ละชุด คือ การวัดแนวโน้มสู่ส่วนกลาง โดยมีค่าสถิติที่นิยมใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย มัธยฐาน และฐานนิยม ความสัมพันธ์ระหว่างค่าเฉลี่ย มัธยฐานและฐานนิยมในลักษณะการแจกแจงต่างๆ 1. ถ้าข้อมูลมีลักษณะการแจกแจงเป็นโค้งปกติ คือ เป็นโค้งที่มีลักษณะรูประฆัง ค่าเฉลี่ย มัธยฐานและฐานนิยม จะมีค่าเท่ากัน 2. ถ้าข้อมูลมีลักษณะการแจกแจงเบ้ไปทางขวา…
ตำแหน่งเปอร์เซ็นไทล์ เดไซน์และควอไทล์
ตำแหน่งเปอร์เซ็นไทล์ เดไซน์และควอไทล์ ข้อมูลที่รวบรวมมาได้ในแต่ละชุด จะมีลักษณะเฉพาะของตนเอง ในการที่จะเปรียบเทียบตำแหน่งต่างๆ ของข้อมูลคนละชุดนั้น ควรจะแปลงข้อมูลเหล่านั้นให้อยู่ในลักษณะเดียวกันเสียก่อน สถิติที่ใช้ในการเปรียบเทียบและวัดตำแหน่งต่างๆ ที่จะกล่าวถึงในที่นี้ ได้แก่ ตำแหน่งเปอร์เซ็นไทล์ (Percentile : P) ตำแหน่งเปอร์เซ็นไทล์ หมายถึง ตำแหน่งที่บอกให้ทราบว่ามีข้อมูลอยู่กี่ส่วนจากร้อยส่วนที่มีค่าน้อยกว่าหรือเท่ากับคะแนน ณ ตำแหน่งนั้น เช่น นายยอกสอบได้คะแนนสถิติ 60 คะแนน ซึ่งตรงกับตำแหน่งเปอร์เซ็นไทล์ที่ 70 หมายความว่า…
ประกาศ : แจ้งนักเรียน ม.4 ทุกคน
เนื่องจากวันจันทร์และวันอังคาร ที่ 6-7 มิถุนายน นี้ ครูต้องเดินทางไปเข้ารับการอบรมลูกเสือที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงขอแจ้งนักเรียนทีมีเรียนกับครูในวันดังกล่าว ดังนี้ ให้นักเรียนตรวจสอบคะแนนของตนเองที่เมนูด้านข้าง (ทางขวามือ) ดูเฉพาะงานครั้งที่ 1,2 และ 3 (ส่วนใบงานจะติดตามให้ทีหลัง) ให้นักเรียนตรวจสอบ URL ต่างๆ ที่ส่งมาได้จากเมนู เว็บบล็อกนักเรียน (ทางขวามือ) นักเรียนที่ยังไม่ได้ส่ง URL อันใดหรือยังไม่มีคะแนนในส่วนใด ให้รีบดำเดินการสมัครและส่งในระบบที่ครูกำหนด ตอนนี้มีภาระงานทั้งสิ้น 3…