รายการพุธเช้าข่าวโรงเรียน นำเสนอการจัดการเรียนการวิชาวิทยาการคำนวณ
ภาพและวีดีโอนำเสนอการจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาการคำนวณ ออกอากาศในรายการพุธเช้าข่าวโรงเรียน วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2562 ครับ
การจัดทำหน่วยการเรียนรู้ต้นแบบวิชาวิทยาการคำนวณที่มุ่งเน้นสมรรถนะ
ได้รับเกียรติจากสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ให้เข้าร่วมการออกแบบและจัดทำหน่วยการเรียนรู้ต้นแบบ วิชาวิทยาการคำนวณ ที่มุ่นเน้นการพัฒนาทักษะและสมรรถนะด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี หน่วยต้นแบบนี้เป็นหน่วยการจัดการเรียนรู้และแผนการจัดการเรียนรู้สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา 1-6 ครับ ซึ่งเมื่อสมบูรณ์แล้วก็จะนำไปทดลองใช้และเผยแพร่ต่อไป สำหรับส่วนของวิชาวิทยาการคำนวณเองนั้น เรามุ่งเน้นไปที่การทำกิจกรรมเพื่อให้เกิดแนวคิดเชิงคำนวณ โดยมองไปที่กรณีที่ครูไม่มีอุปกรณ์ ไม่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ในห้องเรียน ก็จะสามารถจัดการเรียนการสอนให้นักเรียนได้เข้าใจและมีทักษะหรือแนวคิดเชิงคำนวณได้ ก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าการร่วมทำกิจกรรมกับหน่วยงานต้นสังกัดในครั้งนี้จะส่งผลไปถึงผู้เรียน และผู้สอนวิชาวิทยาการคำนวณให้มีความรู้ความเข้าใจในวิชานี้มากยิ่งขึ้นนะครับ
การอบรมวิทยาการคำนวณ สำหรับครูประถมศึกษา สพป.ร้อยเอ็ด เขต 2
ได้รับโอกาสที่ดีที่ได้ไปบรรยายและเผยแพร่กิจกรรมการจัดการเรียนการสอนวิทยาการคำนวณ สำหรับครูผู้สอนระดับประถมศึกษา ที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ร้อยเอ็ด เขต 2 ความตั้งใจคือต้องการที่จะทำให้คุณครูผู้สอนวิชานี้ได้รู้ว่าวิชานี้มันไม่ใช่การสอนเด็กเขียนโปรแกรมอย่างเดียว และการเขียนโปรแกรมนั้นไม่ได้หมายถึงการเขียนเป็นภาษาซี ภาษาไพทอนเท่านั้น การเขียนโปรแกรมสำหรับประถมคือการศึกษาคิดอย่างเป็นลำดับขั้นตอน อาจจะใช้เรื่องราวในชีวิตประจำวัน หรือการใช้กิจกรรมที่ได้ยกตัวอย่างในการบรรยายก็ได้ แต่ยังไงก็เน้นไปที่การฝึกทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างเป็นลำดับขั้นตอนของนักเรียนครับ และหากสอนไปได้ถึงการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์แล้วล่ะก็ คุณครูก็สามารถใช้เครื่องมือที่ฝึกทักษะการเขียนโปรแกรมในรูปแบบ Block ได้เช่น Blockly, Code.org, Scratch เป็นต้น ครับ ทั้งนี้คุณครูจะต้องเตรียมกิจกรรม เตรียมคำถาม เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกคิด ฝึกปฏิบัติ หรือฝึกทักษะกันพอสมควร…
Unplugged Programming: Graph Coloring
กิจกรรม Unplugged Programming: Graph Coloring เป็นกิจกรรมที่จะทำให้นักเรียนสามารถคิดวิเคราะห์และหาความแตกต่างระหว่างพื้นที่ใน map ได้ พร้อมทั้งมองเห็นความสัมพันธ์ ความเชื่อมโยง และความแตกต่างกันระหว่างพื้นที่ ทักษะนี้จะทำให้นักเรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการแก้ปัญหาต่างๆ ในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี เช่น การวิเคราะห์ภาพรวมของปัญหา แยกเป็นปัญหาย่อยๆ และดำเนินการแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน ตามวิธีคิดเชิงคำนวณ รูปแบบการจัดกิจกรรมมีดังนี้ครับ
กิจกรรม Unplugged Programming : Colour By Number
หลายๆ คนคงจะเคยสงสัยว่าทำไมรูปภาพเดียวกันที่มีขนาดเท่ากันแต่ต่างนามสกุลกันถึงมีขนาดของรูปภาพไม่เท่ากัน นั่นเป็นเพราะรูปภาพแต่ละประเภทมีรูปแบบวิธีการจัดเก็บข้อมูลต่างกันนั่นเอง กิจกรรม Unplugged Programming : Colour By Number นี้จะเป็นกิจกรรมที่ทำให้เด็กๆ เข้าใจวิธีการในการเก็บข้อมูลในรูปแบบของรูปภาพรูปแบบง่ายๆ ทำให้รู้ว่าการเก็บข้อมูลสีในรูปภาพนั้นมีวิธีการอย่างไร
กิจกรรม Unplugged Programming: โรบอทเรียงแก้ว
กิจกรรมโรบอทเรียงแก้ว นี้เป็นกิจกรรม Unplugged Programming ที่ทำให้นักเรียนได้กระบวนการคิด การแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอนในรูปแบบของคอมพิวเตอร์ ที่เรียกว่าแนวคิดเชิงคำนวณ เป็นกิจกรรมที่นักเรียนทำได้ในทุกๆ ระดับ โดยครูสามารถปรับเปลี่ยนการจัดวางแก้วให้มีความยากง่ายต่างกันออกไปในแต่ละระดับได้ครับ ดูตัวอย่างกิจกรรมการสอนตามวีดีโอนี้หรือจากรูปด้านล่างได้ครับ https://photos.app.goo.gl/KVdffKmuH6HeEqts6
บันทึกเทปรายการ “พุธเช้า…ข่าวโรงเรียน”
ได้รับโอกาสดีๆ ที่สำคัญอีกครั้งหนึ่ง ก็คือการได้บันทึกเทปรายการ “พุธเช้า…ข่าวโรงเรียน” ตอน การจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาการคำนวณ เพื่อสร้างนวัตกร โดยทีมประชาสัมพันธ์ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานครับ ในโอกาสนี้ผมจึงได้นำเสนอวิธีการสอนวิทยาการคำนวณ ซึ่งเป็นเพียงตัวอย่างการสอนนะครับ คุณครูสามารถนำไปปรับใช้ได้ตามความเหมาะสม โดยแนะนำการสอนโดยไม่ใช้คอมพิวเตอร์นั่นก็คือ Unplugged Programming และการสร้างนวัตกรด้วยการพัฒนานวัตกรรมเป็นระบบอัตโนมัติง่ายๆ ผ่านเครื่องมือที่ชื่อว่า Kidbright ครับ นอกจากจะได้นำเสนอวิธีการจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาการคำนวณแล้ว เด็กๆ ที่ร่วมทำงานและทำโครงงานมาด้วยกันก็ยังได้นำเสนอผลงาน แนวคิด และนวัตกรรมของตนเองให้คนทั่วประเทศได้เห็นอีกด้วย ก็นับว่าเป็นประสบการณ์ที่ดีครั้งหนึ่งในชีวิต และเป็นสิ่งที่ดีที่ได้เผยแพร่กระบวนการจัดการเรียนการสอนซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งให้คุณครูทั่วประเทศได้นำไปปรับใช้ครับ https://photos.app.goo.gl/pngDP4DMKAF1JVDA8
นำเสนอ mini midterm project วิทยาการคำนวณ
นำเสนอ mini midterm project เป็นผลงานของนักเรียนที่พัฒนาแอพพลิเคชันเกี่ยวกับการคำนวณทางวิทยาศาสตร์หรือคณิตศาสตร์ครับ ที่ให้พัฒนาแอพพลิเคชันเรื่องนี้คือนักเรียนจะได้ทบทวนเนื้อหาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ที่กำลังเรียนอยู่ด้วย และได้เชื่อมโยงความรู้หลายๆ รายวิชาครับ
กิจกรรม Unplugged เพื่อสร้างอัลกอริทึมด้วยตนเอง
ในการสอนให้เด็กๆ เกิดกระบวนการคิดเชิงคำนวณนั้น สิ่งสำคัญก็คือการสร้างพื้นฐานความเข้าใจก่อนที่จะลงมือเขียนคำสั่งจริงๆ การสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดเชิงคำนวณที่ผมใช้ในห้องเรียนก็คือการใช้กิจกรรม Unplugged Programming ครับ เพราะเด็กๆ จะได้ออกแบบแนวคิดและวิธีการแก้ปัญหาของตนเองเป็นอัลกอริทึม ซึ่งวิธีการที่ผมใช้ก็คือการให้เด็กๆ วาดเป็นผังงาน และเริ่มจากการวาดผังงานเพื่อแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันครับ
เน้นให้คิด…และทำกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะการคิดเชิงคำนวณ
การจัดการเรียนการสอนเพื่อให้เด็กคิดอัลกอริทึมโดยใช้ Code.org และวาดผังงานผ่านเว็บแอพพลิเคชัน และใช้ Quizlet ประเมินและตรวจสอบความเข้าใจ