ครูณัฐพล

เอกสาร (presentation) ประกอบการบรรยายการใช้ AI ในการสนับสนุนการจัดการเรียนรู้และสร้างสื่อนวัตกรรม

เอกสารการบรรยาย “AI สู่การพัฒนานวัตกรรมสื่อที่มีคุณภาพ” นี้ ผมได้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการบรรยายและอบรมเชิงปฏิบัติการ ณ โรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรี ในวันที่ 17–18 มีนาคม 2568 โดยมีเป้าหมายเพื่อให้คุณครูได้เข้าใจแนวทางการนำ AI มาใช้ในการออกแบบสื่อการสอน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และการสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านการศึกษา ในเอกสารนี้ ผมได้รวบรวมเนื้อหาที่สำคัญ เช่น แนะนำเทคโนโลยี Generative AI การนำ AI มาใช้กับการออกแบบหลักสูตรและรูปแบบการประเมิน การสร้างนวัตกรรมด้วยเครื่องมือ AI การสร้างสื่อหลัก/สื่อเสริม การออกแบบบทเรียนออนไลน์ การนำเสนอผลงานและสื่อที่พัฒนาขึ้น จุดเด่นของการอบรมนี้คือการให้คุณครูได้ลงมือปฏิบัติจริง ทดลองใช้ AI Tools เพื่อให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ทันทีในห้องเรียนของตนเอง ‍ เอกสารบรรยาย : https://www.canva.com/design/DAGiJBWV7eM/BtFKcQMWkgjwSA0-Xz5Xbw/view?utm_content=DAGiJBWV7eM&utm_campaign=designshare&utm_medium=link2&utm_source=uniquelinks&utlId=ha1b7066a51

Read More

วิทยากรอบรม AI หัวข้อ “AI สู่การพัฒนานวัตกรรมสื่อที่มีคุณภาพ”

วิทยากรการอบรมเชิงปฏิบัติการ “AI สู่การพัฒนานวัตกรรมสื่อที่มีคุณภาพ” วันที่ 17-18 มีนาคม พ.ศ. 2568 โรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรี

Read More

เรียนคณิตศาสตร์ไปทำไม? ตรรกศาสตร์กับการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์

ทุกคนน่าจะเคยเรียนหรือเคยได้ยินกับว่า “ตรรกะ” หรือ “ตรรกศาสตร์” มาแล้วใช่ไหมครับ วันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องนี้กันว่ามีความสำคัญกับการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์อย่างไร ซึ่งจริงๆ แล้วเรื่องนี้คือเรื่องในชีวิตประจำวันของเราอยู่แล้ว เราทุกวันเราต้องตัดสินใจบทเงื่อนไขหลาย ๆ แบบด้วยกันใช่ไหมครับ แต่วันนี้ขออนุญาตพูดถึงตรรกศาสตร์กับการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ก่อนนะ ตามนี้เลย… ตรรกศาสตร์ (Logic) เป็นสาขาหนึ่งของคณิตศาสตร์ที่ศึกษาหลักการให้เหตุผลและการคิดอย่างเป็นระบบ ตรรกศาสตร์ช่วยให้เราสามารถวิเคราะห์ข้อเท็จจริง แยกแยะความจริงและความเท็จ และสร้างข้อสรุปที่ถูกต้องตามหลักเหตุผล โดยในหลักสูตรระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับตัวเชื่อมตรรกศาสตร์ (Logical Connectors) เช่น และ (AND), หรือ (OR), ไม่ (NOT), การอ้างเหตุผลเชิงเงื่อนไข (Implication) และการให้เหตุผลเชิงตรรกะ (Logical Reasoning) รวมถึงตารางค่าความจริง (Truth Table) ซึ่งเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการวิเคราะห์ประโยคทางตรรกศาสตร์ คราวนี้ ในสมัยที่ผมเรียนเรียนคณิตศาสตร์ โดยเฉพาะเรื่องตรรกศาสตร์ ผมจะได้ว่ามุ่งเน้นไปที่การจำสัญลักษณ์ การคำนวณ การทำโจทย์ และการท่องสูตรมากกว่าการเชื่อมโยงกับสถานการณ์จริง ทำให้การเรียนเรื่องนี้ของผมเองในสมัยนั้นไม่ค่อยเก็ตเท่าไหร่ว่าเรียนเรื่องนี้ไปทำไม สิ่งที่อยู่ในหัวผม ณ ขณะนั้นคือแก้โจทย์ตรรกศาสตร์ให้ได้เพื่อจะได้คะแนนดีๆ จริงๆ แล้วตรรกศาสตร์เป็นหัวใจสำคัญของการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วย เพราะคอมพิวเตอร์ทำงานโดยใช้ตรรกะในการตัดสินใจและดำเนินการตามคำสั่ง นักเขียนโปรแกรมต้องใช้ความรู้ทางตรรกศาสตร์ในการสร้างเงื่อนไข…

Read More

เรียนคณิตศาสตร์ไปทำไม ? ว่าด้วยเรื่อง Integral (อินทิเกรตที่เรารู้จัก)

เชื่อว่าหลายคนคงเคยเรียนหรืออย่างน้อย ๆ ก็คงเคยได้ยินคำว่า “อินทิเกรต” ซึ่งเป็นเนื้อหาหนึ่งในเรื่อง Calculus ของวิชาคณิตศาสตร์ใช่ไหมครับ สำหรับคนที่เคยเรียนมาแล้วก็อาจจะนึกถึงประสบการณ์นั้นได้ว่า “แม่งโครตยากเลย” หรือหลายคนอาจจะคิดว่า “เรียนไปทำไมเนี่ยเรื่องนี้” วันนี้ผมจึงอยากจะพาทุกคนมารู้จักแก่นของเรื่อง Integral กันครับ ว่าจริง ๆ แล้วหลักการมันไม่ได้ยากหรอก บางทีเราเห็นชื่อหรือได้ยินเค้าเล่ามาเราก็ตีความว่ามันยากไปซะแล้ว หรือกระบวนการที่เราเรียนนั้นเน้นไปที่เราแก้โจทย์ปัญหาหรือสมการยาก ๆ จนทำให้เราไม่ได้เข้าใจถึงหัวใจหรือหลักการสำคัญของเรื่องนี้ครับ ต้องออกตัวก่อนว่าผมไม่ใช่ครูคณิตศาสตร์ และผมก็ไม่สามารถคำนวณอะไรยาก ๆ ที่ซับซ้อนได้ ณ ตอนนี้ กระบวนการบางเรื่องผมก็ลืมไปแล้ว แต่ถ้าต้องการให้แก้โจทย์ปัญหา แล้วให้เวลาผมเรียนรู้ ผมคิดว่าผมทำได้ครับ ซึ่งชีวิตจริง ๆ ของมนุษย์เราก็แบบนี้ใช่ไหมล่ะ ดังนั้นผมจึงบอกเสมอว่า เรียนเรื่องใด ๆ ก็ตามต้องเข้าใจถึงแก่นถึงหัวใจของเรื่องนั้น ส่วนเรื่องกระบวนการเชิงลึกที่ต้องคำนวณยาก  ๆ เดี๋ยวเรามาต่อยอดกัน คราวนี้เรามาเข้าเรื่องกันเลยดีกว่าครับ อินทิเกรตที่เราเรียกกันหรือ Integral นั้น หลักการโดยสรุปก็คือการรวมของสิ่งเล็ก ๆ ที่มีจำนวนมาก ๆ แค่นี้เลยครับ ซึ่งเวลาเราเรียนก็จะมีเรื่องกราฟมาให้เราปวดหัวด้วย แล้วก็หาพื้นที่ใต้กราฟกันใช่ไหมครับ อธิบายสั้น ๆ ด้วยตัวอย่าง…

Read More

เรียนคณิตศาสตร์ไปทำไม ? ว่าด้วยเรื่อง Differential

ปัญหาการเรียนคณิตศาสตร์ในหลักสูตรปัจจุบัน การเรียนคณิตศาสตร์ในปัจจุบันมักถูกออกแบบให้ครอบคลุมเนื้อหาที่หลากหลายและซับซ้อน โดยเน้นหนักไปที่การทำโจทย์และการเตรียมตัวสอบเข้าแข่งขัน มากกว่าการนำไปใช้ในชีวิตจริง ทำให้นักเรียนส่วนใหญ่มักรู้สึกว่าเนื้อหาคณิตศาสตร์เต็มไปด้วยสูตร กฎเกณฑ์ และเทคนิคการคำนวณที่ต้องจดจำ แต่ขาดการเชื่อมโยงกับการใช้งานจริง ส่งผลให้เกิดความเครียดและความรู้สึกว่าคณิตศาสตร์เป็นเรื่องยากและไกลตัว แล้วสุดท้ายก็จะมีคำพูดที่ว่า “เรียนคณิตศาสตร์เรื่องนี้ไปทำไม?” วันนี้จึงขอเล่าเรื่องที่หลาย ๆ คนคิดว่าไกลตัว เอามายกตัวอย่างให้ฟังนิดนึงครับ เรื่องนี้ก็คือเรื่อง Differential นั่นเอง Differential คืออะไร ? Differential หรือ อนุพันธ์ เป็นแนวคิดที่สำคัญในแคลคูลัส ซึ่งใช้วิเคราะห์ อัตราการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กัน หากพูดง่าย ๆ differential ก็คือ อัตราส่วนของสิ่งที่เปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับอีกสิ่งหนึ่ง โดยมีข้อแม้ว่าสิ่งนั้นต้องมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น เช่น ในวิชาฟิสิกส์ เราพบกับอนุพันธ์เมื่อศึกษาอัตราเร็วของวัตถุ ซึ่งคำนวณได้จากอัตราการเปลี่ยนแปลงของระยะทางเมื่อเทียบกับเวลา (ds/dt) หากระยะทางหรือเวลาไม่มีการเปลี่ยนไป นั่นก็ไม่ได้เรียกว่า differential ครับ Differential แบบเข้าใจง่าย หากเปรียบเทียบ differential กับชีวิตประจำวัน เราสามารถนึกถึงการขับรถ หากเราดูที่มาตรวัดความเร็วของรถ เราจะเห็นตัวเลขบอกว่า ณ ขณะนั้นเราขับด้วยความเร็วเท่าไหร่ ตัวเลขนี้ไม่ได้บอกว่าโดยเฉลี่ยว่าเราขับเร็วแค่ไหน…

Read More
Back To Top