ครูณัฐพล

โทรศัพท์เครื่องแรกของอันนา กับการเรียนรู้การอดทนต่อการเก็บเงิน

ที่มาของการเก็บเงินซื้อ iPhone13 ของอันนา… … คงต้องเล่าย้อนกลับไปไกลนิดนึง ก็ตั้งแต่อันนาเริ่มเข้าอนุบาลครับ อันนาเป็นเด็กที่ไม่ค่อยชอบไปเรียน เข้ากับเพื่อนไม่ค่อยเก่ง ไม่ค่อยเริ่มคุยกับใครก่อน ในช่วงแรกของการไปโรงเรียนอันนาจะมีอาการอาเจียนทุกวันในตอนเช้า อาจจะด้วยอาการเครียด ข้าวก็กินไม่ได้ … พ่อกับแม่ก็ไม่รู้จะทำอย่างไร จะสร้างแรงจูงใจอย่างไรดี ถามคุณครูแล้วก็ไม่ได้มีปัญหาอะไรกับการเรียน แต่พ่อกับแม่ก็พอรู้ว่าอันนาไม่ชอบไปโรงเรียนเพราะการอยู่บ้านกับพ่อแม่สบายกว่าเยอะ 55 … ดังนั้นจึงเป็นจุดเริ่มต้น (ที่อาจจะไม่ดีเท่าไหร่) คือการตกลงกันกับอันนาว่าจะให้ของรางวัลคนเก่งทุกสัปดาห์ที่อันนาไปเรียนครบ ซึ่งอันนาก็พยายามทำ พยายามอดทนในการไปเรียนพอสมควร และก็ดีขึ้นเรื่อย ๆ (ก่อนที่โควิดจะมา) … แต่ปัญหาก็คือการจ่ายค่าขนมรวมกับของรางวัลคนเก่งประจำสัปดาห์นั้นเยอะทุกสัปดาห์ รวมทั้งอันนาก็เลือกของที่ไม่ค่อยมีประโยชน์เท่าไหร่ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงต่อมาคือการเริ่มสอนให้อันนารู้จักใช้เงินให้มีประโยชน์ โดยเพิ่มค่าขนมให้จากเดิมที่ให้สัปดาห์ละ 200 (วันละ 40 บาท) เพิ่มเป็นสัปดาห์ละ 500 (ช่วงหลังโควิด) โดยให้อันนานำใส่กระเป๋าไปวันละ 40 บาท เป็นค่าขนม และเงินที่เหลือจากค่าขนมคือเงินทีอันนาจะเอาไปซื้ออะไรก็ได้ตามที่อยากได้ ดังนั้นในทุก ๆ สัปดาห์อันนาก็จะได้ของที่ต้องการ รวมทั้งพ่อก็ไม่ต้องจ่ายค่าขนมเพิ่มด้วย เพราะให้ใช้จากเงินค่าขนมที่ได้ไปแล้ว … พอเริ่มขึ้นชั้น ป.1 อันนาก็อยากได้อะไรที่มันแพงขึ้น เช่น โทรศัพท์…

Read More

ความรู้กับการแก้ปัญหาและสิทธิและการคุ้มครองผลงาน

เนื้อหาสำคัญอีกเรื่องหนึ่งของวิชาการออกแบบและเทคโนโลยีคือเรื่องเกี่ยวกับองค์ความรู้และทักษะที่นำมาใช้ในการแก้ปัญหา ซึ่งเป็นเรื่องพื้นฐานที่นักเรียนควรให้ความสำคัญก่อนที่จะพัฒนาเทคโนโลยีใด ๆ เพื่อให้มีองค์ความรู้เพียงพอสำหรับการพัฒนาเทคโนโลยีนั้น ทำให้ผลงาน ชิ้นงาน หรือสิ่งประดิษฐ์ที่พัฒนาขึ้นมีความสมบูรณ์ ถูกต้อง และสามารถนำไปใช้งานได้จริง เมื่อมีองค์ความรู้แล้ว เมื่อเริ่มพัฒนาชิ้นงานก็ต้องมีทักษะในการทำงาน การใช้เครื่องไม้เครื่องมือในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือตัด เจาะ ออกแบบ หรือการเขียนโปรแกรมก็ตาม ซึ่งจะทำให้สามารถนำความรู้มาสร้างเป็นชิ้นงานได้เป็นอย่างดี แต่หากเป็นทักษะขั้นสูงหรือไม่สามารถทำด้วยตนเองได้จริง ก็สามารถหาผู้เชี่ยวชาญช่วยดำเนินการได้ครับ และนี่คือเอกสารที่ผมใช้บรรยายและสอนนักเรียนในครั้งนี้ครับ 1-8 ความรู้และสิทธิ โดย ณัฐพล บัวอุไร

Read More

[การออกแบบและเทคโนโลยี] “กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม” (Engineering Design Process)

วิชาการออกแบบและเทคโนโลยี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 นักเรียนจะต้องพัฒนาโครงงานโดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมด้วยการสร้างและพัฒนาเทคโนโลยีกลุ่มละ 1 ชิ้นงานครับ สิ่งสำคัญไม่ใช่การทำโครงงานที่ยิ่งใหญ่อลังการ หรือใช้เทคนิค ต้องเขียนโปรแกรมอะไรระดับสูง แต่เป็นการใช้การระดมความคิด ใช้ความคิดสร้างสรรค์ หาไอเดียในการสร้างเทคโนโลยีเพื่อแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน ที่สำคัญต้องใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมเข้าไปจับหรือแสดงกระบวนการแก้ปัญหาครับ เอกสารการสอนนี้มีเนื้อหาบทเรียนมาจากหนังสือเรียน การออกแบบและเทคโนโลยี ม.4-5 ซึ่งเป็นแนวคิดทฤษฎีและตัวอย่างการทำโครงงานเทคโนโลยีที่น่าสนใจและเห็นภาพได้อย่าชัดเจนครับ 1-7 กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม โดย ณัฐพล บัวอุไร

Read More
Back To Top