บันทึกความทรงจำ: ผู้ประสบเหตุแผ่นดินไหวครั้งแรกในชีวิตของผมเอง

​เมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2568 เวลา 13.20 น. ได้เกิดแผ่นดินไหวขนาด 8.2 แมกนิจูด โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองสะกาย ประเทศเมียนมา ห่างจากอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน ประมาณ 326 กิโลเมตร แรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวครั้งนี้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อหลายพื้นที่ในประเทศไทย รวมถึงกรุงเทพมหานคร ผลกระทบในประเทศไทย กรุงเทพมหานคร: อาคารสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างในย่านจตุจักร ซึ่งมีความสูง 33 ชั้น ได้พังถล่มลงมา ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 8 ราย บาดเจ็บ 9 ราย และสูญหายอีก 79 ราย ​ จังหวัดเชียงใหม่: มีรายงานความเสียหายของอาคารหลายแห่ง รวมถึงโรงพยาบาลสวนดอก ที่ผนังเกิดรอยร้าว ทำให้ต้องสั่งห้ามไม่ให้บุคคลภายในเข้าไปในบางส่วนของอาคาร ​ จังหวัดลำปาง: โรงพยาบาลลำปางพบผนังแตกร้าวและฝ้าเพดานพังลงมา ทำให้ต้องปิดโซนบันไดบางส่วนเพื่อความปลอดภัย แผ่นดินไหวครั้งนี้ถือได้ว่าประเทศไทย โดยเฉพาะกรุงเทพฯ ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง และสร้างความวิตกกังวลให้กับผู้ที่ทำงานหรือพักในอาคารสูงเป็นอย่างมาก วันนั้นผมเองอยู่ในกรุงเทพฯ ซึ่งทุกคน ทุกบริษัท…

Read More

️ เครื่องมือ AI เพื่อครูยุคใหม่: สร้างสื่อ การจัดการเรียนรู้และทำวิจัยอย่างมีประสิทธิภาพ

เอกสารฉบับนี้ผมได้เขียนและเรียบเรียงขึ้นเพื่อให้คุณครูได้ทดลองใช้ AI ในการสร้างสื่อ ประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน และการทำวิจัยในชั้นเรียน โดยเนื้อหาภายในจะมีตัวอย่างเครื่องมือ AI ที่หลากหลาย ที่ผมได้ทดลองใช้จริงและอยากแบ่งปันต่อให้กับเพื่อนครูครับ ในเอกสารนี้ คุณครูจะได้รู้จักกับเครื่องมือที่น่าสนใจ เช่น Edcafe.ai – ช่วยสร้าง Prompt สำหรับใช้ในการเรียนการสอนได้ง่ายและเร็วClaude.ai – สำหรับสร้างเกมการเรียนรู้แบบอินเทอร์แอคทีฟ สนุกและเข้าใจง่าย Gamma.app – สร้างสไลด์นำเสนอแบบสวยงามอัตโนมัติ ใช้ง่ายและสะดวกมาก ️และยังมี AI Tools อื่น ๆ อีกมากมาย ที่จะช่วยให้ครูทำงานได้เร็วขึ้น คิดสร้างสรรค์ได้มากขึ้น และสนุกกับการสอนมากยิ่งขึ้นครับ ลิงก์เอกสาร: https://docs.google.com/document/d/1_JQfeFd9sQ9dSXTuDVVVHRcQI9gmXAkQFKxJFCTIBEY/edit?usp=sharing

Read More

เอกสาร (presentation) ประกอบการบรรยายการใช้ AI ในการสนับสนุนการจัดการเรียนรู้และสร้างสื่อนวัตกรรม

เอกสารการบรรยาย “AI สู่การพัฒนานวัตกรรมสื่อที่มีคุณภาพ” นี้ ผมได้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการบรรยายและอบรมเชิงปฏิบัติการ ณ โรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรี ในวันที่ 17–18 มีนาคม 2568 โดยมีเป้าหมายเพื่อให้คุณครูได้เข้าใจแนวทางการนำ AI มาใช้ในการออกแบบสื่อการสอน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และการสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านการศึกษา ในเอกสารนี้ ผมได้รวบรวมเนื้อหาที่สำคัญ เช่น แนะนำเทคโนโลยี Generative AI การนำ AI มาใช้กับการออกแบบหลักสูตรและรูปแบบการประเมิน การสร้างนวัตกรรมด้วยเครื่องมือ AI การสร้างสื่อหลัก/สื่อเสริม การออกแบบบทเรียนออนไลน์ การนำเสนอผลงานและสื่อที่พัฒนาขึ้น จุดเด่นของการอบรมนี้คือการให้คุณครูได้ลงมือปฏิบัติจริง ทดลองใช้ AI Tools เพื่อให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ทันทีในห้องเรียนของตนเอง ‍ เอกสารบรรยาย : https://www.canva.com/design/DAGiJBWV7eM/BtFKcQMWkgjwSA0-Xz5Xbw/view?utm_content=DAGiJBWV7eM&utm_campaign=designshare&utm_medium=link2&utm_source=uniquelinks&utlId=ha1b7066a51

Read More

วิทยากรอบรม AI หัวข้อ “AI สู่การพัฒนานวัตกรรมสื่อที่มีคุณภาพ”

วิทยากรการอบรมเชิงปฏิบัติการ “AI สู่การพัฒนานวัตกรรมสื่อที่มีคุณภาพ” วันที่ 17-18 มีนาคม พ.ศ. 2568 โรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรี

Read More

เรียนคณิตศาสตร์ไปทำไม? ตรรกศาสตร์กับการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์

ทุกคนน่าจะเคยเรียนหรือเคยได้ยินกับว่า “ตรรกะ” หรือ “ตรรกศาสตร์” มาแล้วใช่ไหมครับ วันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องนี้กันว่ามีความสำคัญกับการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์อย่างไร ซึ่งจริงๆ แล้วเรื่องนี้คือเรื่องในชีวิตประจำวันของเราอยู่แล้ว เราทุกวันเราต้องตัดสินใจบทเงื่อนไขหลาย ๆ แบบด้วยกันใช่ไหมครับ แต่วันนี้ขออนุญาตพูดถึงตรรกศาสตร์กับการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ก่อนนะ ตามนี้เลย… ตรรกศาสตร์ (Logic) เป็นสาขาหนึ่งของคณิตศาสตร์ที่ศึกษาหลักการให้เหตุผลและการคิดอย่างเป็นระบบ ตรรกศาสตร์ช่วยให้เราสามารถวิเคราะห์ข้อเท็จจริง แยกแยะความจริงและความเท็จ และสร้างข้อสรุปที่ถูกต้องตามหลักเหตุผล โดยในหลักสูตรระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับตัวเชื่อมตรรกศาสตร์ (Logical Connectors) เช่น และ (AND), หรือ (OR), ไม่ (NOT), การอ้างเหตุผลเชิงเงื่อนไข (Implication) และการให้เหตุผลเชิงตรรกะ (Logical Reasoning) รวมถึงตารางค่าความจริง (Truth Table) ซึ่งเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการวิเคราะห์ประโยคทางตรรกศาสตร์ คราวนี้ ในสมัยที่ผมเรียนเรียนคณิตศาสตร์ โดยเฉพาะเรื่องตรรกศาสตร์ ผมจะได้ว่ามุ่งเน้นไปที่การจำสัญลักษณ์ การคำนวณ การทำโจทย์ และการท่องสูตรมากกว่าการเชื่อมโยงกับสถานการณ์จริง ทำให้การเรียนเรื่องนี้ของผมเองในสมัยนั้นไม่ค่อยเก็ตเท่าไหร่ว่าเรียนเรื่องนี้ไปทำไม สิ่งที่อยู่ในหัวผม ณ ขณะนั้นคือแก้โจทย์ตรรกศาสตร์ให้ได้เพื่อจะได้คะแนนดีๆ จริงๆ แล้วตรรกศาสตร์เป็นหัวใจสำคัญของการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วย เพราะคอมพิวเตอร์ทำงานโดยใช้ตรรกะในการตัดสินใจและดำเนินการตามคำสั่ง นักเขียนโปรแกรมต้องใช้ความรู้ทางตรรกศาสตร์ในการสร้างเงื่อนไข…

Read More
Back To Top