วิธีสมัคร Canva เพื่อการศึกษา (สมัครด้วยตนเองเป็นรายบุคคล)

เริ่มต้นใช้งาน Canva เพื่อการศึกษา: ออกแบบง่าย ๆ สำหรับคุณครู ต้องบอกว่าในการจัดการเรียนการสอนในยุคดิจิทัล เครื่องมือที่ช่วยให้การออกแบบสื่อการเรียนรู้เป็นเรื่องง่ายและน่าสนใจมีความสำคัญมาก หนึ่งในเครื่องมือยอดนิยมที่ได้รับความนิยมทั่วโลก ณ ปัจจุบันนี้ ก็คือ Canva นั่นเองครับ ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มสำหรับออกแบบกราฟิกที่ใช้งานง่าย และมีเทมเพลตสำเร็จรูปให้เลือกมากมาย โดยเฉพาะสำหรับ ครูและนักเรียน ที่สามารถสมัครใช้งาน Canva เพื่อการศึกษา (Canva for Education) ได้ ฟรี พร้อมสิทธิ์เข้าถึงฟีเจอร์ระดับพรีเมียมและเทมเพลตที่ออกแบบมาเฉพาะเพื่อการเรียนการสอน ในบทความนี้ครูโจ๊กจะพาไปรู้จักกับขั้นตอนการสมัคร Canva เพื่อการศึกษาอย่างละเอียด เพื่อให้สามารถนำไปใช้งานจริงในห้องเรียนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ พร้อมแล้วไปดูกันเลยครับ

Read More

สร้างสติ๊กเกอร์ไลน์แนวการ์ตูนชิบิด้วย ChatGPT: เริ่มต้นง่าย ๆ แค่พิมพ์คำสั่ง

ความสามารถของ ChatGPT ในการวาดภาพ ChatGPT ไม่ได้เป็นเพียงแค่โมเดลสนทนาเท่านั้น แต่ในเวอร์ชันล่าสุด (1 เมษายน พ.ศ. 2568) ยังสามารถทำงานร่วมกับระบบสร้างภาพอย่าง DALL·E ได้อีกด้วย โดยผู้ใช้สามารถ พิมพ์คำสั่ง (prompt) เป็นข้อความภาษาไทยหรืออังกฤษ เพื่อให้ระบบวาดภาพตามคำอธิบายได้อย่างแม่นยำและสวยงาม ไม่ว่าจะเป็นภาพสไตล์การ์ตูน, ภาพเหมือนจริง, หรือแม้แต่ภาพแนวชิบิสุดน่ารัก ภาพการ์ตูนแนว Chibi คืออะไร Chibi (ชิบิ) เป็นสไตล์การวาดภาพตัวละครจากญี่ปุ่นที่มีลักษณะเด่นคือ ตัวเล็ก หัวโต ดวงตากลมโต ท่าทางและสีหน้าแสดงอารมณ์อย่างชัดเจน สื่อถึงความน่ารัก สดใส และเป็นมิตร สไตล์นี้ได้รับความนิยมมากในการสร้างสติ๊กเกอร์ไลน์, สินค้าการ์ตูน, หรือคอนเทนต์บนโซเชียลมีเดีย เพราะเข้าถึงผู้ชมได้ง่ายและดูอบอุ่นน่ารัก ตัวอย่างคำสั่งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (Prompt) คำสั่งภาษาไทย: ภาพการ์ตูนชิบิของครูผู้หญิงที่ร่าเริง ถือแล็ปท็อป ยืนอยู่หน้ากระดานดำ ดวงตาโต ยิ้มหวาน ฉากหลังเป็นห้องเรียนสีสันสดใส คำสั่งภาษาอังกฤษ: A chibi-style cartoon of a cheerful female…

Read More

อย่าไปอินกับ AI ที่จะทำให้เราสบาย…จนละทิ้งการเรียนรู้และศึกษาเรื่องนั้นอย่างแท้จริง

ชวนคิด…วันนี้ เสนอตอน: อย่าไปอินกับ AI ที่จะทำให้เราสบาย…จนละทิ้งการเรียนรู้และศึกษาเรื่องนั้นอย่างแท้จริง . ผมเป็นคนหนึ่งที่ใช้ AI ช่วยงานเยอะครับ เพราะมันช่วยเบาแรงและลดภาระเราได้จริง ๆ นะ แต่บางเรื่องในบริบทของหน้าที่ครู ผมก็เห็นว่าผลงานบางอย่างครูเป็นผู้เขียนขึ้นมาเองจากกระบวนการคิดการไตร่ตรอง ประสบการณ์ที่สะสมมา จะเป็นประโยชน์และมีคุณค่าสำหรับนักเรียนมากกว่าที่จะให้ AI สร้างงานนั้นให้เรา . รวมไปถึงการมองว่า AI จะทำให้เราสบาย จนละทิ้งแก่นสำคัญของการได้มาซึ่งงานที่มีคุณภาพตามบริบท สภาพแวดล้อม หรือความเหมาะสมสำหรับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของนักเรียนของเราครับ . จากภาพนี้ผมชวนคิดว่า หากวันนี้เราใช้ AI ช่วยเขียนแผนการสอน ซึ่งก็แน่นอนว่าเขียนไม่กี่นาทีก็เสร็จแล้ว ส่งงานได้แล้ว หรือเอาไปสอนก็ได้ด้วย ซึ่งใช้ AI ช่วยเขียนแผนการสอนก็ไม่ได้ผิดอะไรนะครับ ถ้าผู้ใช้งาน AI เข้าใจและเห็นความร้อยเรียงกันของกระบวนการก่อนที่จะมาถึงแผนการสอนว่ามันถูกต้อง เหมาะสม สอดคล้องกัน และเหมาะกับบริบทของนักเรียนเราหรือไม่ . เพราะการจะได้แผนการสอนมานั้น จะต้องมาจากการวิเคราะห์หลักสูตร มาตรฐาน ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้ นำมาออกแบบโครงสร้างรายวิชา เขียนคำอธิบายรายวิชา ตามบริบทและเป้าหมายของหลักสูตรสถานศึกษานั้น ๆ ซึ่งก็จะเข้าสู่ขั้นตอนต่อไปคือการออกแบบหน่วย และเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ (อาจจะมีเทคนิคการสอนต่าง…

Read More

AI จะทำให้กระบวนการคิดของเราหายไป (หากใช้อย่างไม่ระวัง)

ใช้ AI ช่วยทำงานโดยไม่มีความรู้เพียงพอหรือมีความรู้ในเรื่องนั้น ๆ ไม่ดีพอ จะก่อให้เกิดความเสียหายในอนาคตแน่นอนครับ (อย่างน้อยก็ความเสียหายด้านกระบวนการคิด) . หลายคนใช้ AI อย่างเต็มประสิทธิภาพแล้ว คงจะเห็นได้ว่าเราสามารถทำงานเคยอาจจะเคยเสียเวลาเป็นวัน ๆ ให้เสร็จได้ภายในไม่กี่นาที แต่กระบวนการนั้น เหมาะกับคนที่เก่งอยู่แล้ว มาใช้ AI เพื่อลดภาระงานครับ . ทำไมผมถึงบอกแบบนั้น เพราะหากเรามีความรู้ในเรื่องที่ให้ AI ช่วยงานไม่ดีพอ ปัญหานี้สะสมไปเรื่อย ๆ เมื่อถึงเวลาต้องเผชิญกับงานที่ซับซ้อนหรือสถานการณ์ที่ AI ไม่สามารถช่วยแก้ไขได้ทั้งหมด เช่น การวิเคราะห์เชิงลึก การอธิบายหรือปกป้องแนวคิดในที่ประชุม หรือการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เราอาจไม่มีความมั่นใจและขาดความสามารถในการแก้ปัญหาด้วยตนเอง . ดังนั้น AI จึงควรเป็น “ผู้ช่วย” ไม่ใช่ “ตัวแทนความรู้” ของเราครับ . การใช้งาน AI ที่ดีจึงเป็นการให้ AI ช่วยแบ่งเบางานซ้ำ ๆ หรืองานที่ต้องการความรวดเร็ว ขณะเดียวกันเราต้องไม่ละเลยการพัฒนาทักษะและความเข้าใจในเนื้อหานั้น ๆ อยู่เสมอ เพื่อให้พร้อมรับมือกับความท้าทายที่ AI…

Read More

บันทึกความทรงจำ: ผู้ประสบเหตุแผ่นดินไหวครั้งแรกในชีวิตของผมเอง

​เมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2568 เวลา 13.20 น. ได้เกิดแผ่นดินไหวขนาด 8.2 แมกนิจูด โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองสะกาย ประเทศเมียนมา ห่างจากอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน ประมาณ 326 กิโลเมตร แรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวครั้งนี้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อหลายพื้นที่ในประเทศไทย รวมถึงกรุงเทพมหานคร ผลกระทบในประเทศไทย กรุงเทพมหานคร: อาคารสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างในย่านจตุจักร ซึ่งมีความสูง 33 ชั้น ได้พังถล่มลงมา ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 8 ราย บาดเจ็บ 9 ราย และสูญหายอีก 79 ราย ​ จังหวัดเชียงใหม่: มีรายงานความเสียหายของอาคารหลายแห่ง รวมถึงโรงพยาบาลสวนดอก ที่ผนังเกิดรอยร้าว ทำให้ต้องสั่งห้ามไม่ให้บุคคลภายในเข้าไปในบางส่วนของอาคาร ​ จังหวัดลำปาง: โรงพยาบาลลำปางพบผนังแตกร้าวและฝ้าเพดานพังลงมา ทำให้ต้องปิดโซนบันไดบางส่วนเพื่อความปลอดภัย แผ่นดินไหวครั้งนี้ถือได้ว่าประเทศไทย โดยเฉพาะกรุงเทพฯ ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง และสร้างความวิตกกังวลให้กับผู้ที่ทำงานหรือพักในอาคารสูงเป็นอย่างมาก วันนั้นผมเองอยู่ในกรุงเทพฯ ซึ่งทุกคน ทุกบริษัท…

Read More
Back To Top