MOU ก้าวไกล ไม่มีการเมืองไทยยุคไหนที่จะทำแบบนี้มาก่อน

เป็นอีกบทบาทหนึ่งของสังคมการเมืองไทย ที่มีแกนนำพรรคที่จะร่วมจัดตั้งรัฐบาลมาจัดทำ MOU ร่วมกัน ตกลงกันเพื่อที่จะทำงานให้ประเทศชาติ แน่นอนครับการเช็นต์อะไรลงไปใน MOU นั้นต้องเป็นการผูกมันและให้คำมั่นสัญญาว่าจะทำงานตามที่ระบุไว้ในนั้น และทุกพรรคก็หารือร่วมกันจนได้ร่าง MOU ที่สมบูรณ์

สิ่งที่ต้องบันทึกไว้ในครั้งนี้ เพื่อเป็นเอาไว้เป็นประวัติศาสตร์การเมืองไทย ก็คือรายละเอียด MOU ครับ ซึ่งขออนุญาตนำมาโพสไว้ดังนี้

TOI19 ร่วมให้กำลังใจกับนักเรียนจาก สกร.

ร่วมให้กำลังใจตัวแทนศูนย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ในการแข่งขันคอมพิวเตอร์โอลิมปิกระดับชาติ ณ มหาวิทยาลัยนเรศวร วันที่ 22 – 25 พ.ค. 2566 ครับ

ในที่นี้มีนักเรียนโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต ที่ผมดูแลอยู่จำนวน 2 คนด้วยกันที่ผ่านเข้าร่วมการแข่งขัน ผลเป็นอย่างไร เดี๋ยวเรามาอัพเดทกันต่อครับ

แต่ตอนนี้ ขอให้ทุกคนทำให้เต็มที่ก็พอครับ เป็นกำลังใจให้สู้ๆ

การทำงานของนักการเมืองรุ่นใหม่ (แตกต่างไปจากเดิมมากจริง ๆ)

หากเราผ่านการเลือกตั้งมามากกว่า 3 – 4 ครั้ง เราจะพบว่า เมื่อมีพรรคการเมืองใดเป็นฝ่ายชนะ ก็จะเริ่มหาพรรคพวก ในกรณีที่เสียง สส. ยังไม่เพียงพอ หรือกว่าจะได้รับการรับรอง ก็นานเป็นเดือน แล้วจึงจะเริ่มทำงานตามนโยบายที่หาไว้กันใช่ไหมครับ

แต่ในยุคนี้ (พ.ศ. 2566) การเลือกตั้ง 2566 แปลกไปจากครั้งก่อน ๆ เพราะสื่อสังคมออนไลน์เติมโตมาก นักการเมืองในพรรคที่ได้ สส. เยอะ ก็เป็นคนรุ่นใหม่เป็นส่วนใหญ่ (พรรคก้าวไกล) จึงเริ่มสื่อสารกับประชาชน เริ่มวางแผน และบางส่วนก็เริ่มทำงานกันแล้ว โดยที่ยังไม่ได้รับการรับรองจาก กกต. เลย 

เลือกตั้ง 2566

การเลือกตั้ง สส. และนายกประเทศไทย ณ เวลานี้ก็รู้ผลคร่าว ๆ เป็นที่แน่นอนแล้วครับ หลังจากที่มีการจัดการเลือกตั้งวันที่ 14 พ.ค. 2566 

การเลือกตั้งในทุก ๆ ครั้งก็จะมีสถิติที่รายงานบนหน้าจอทีวีและสื่อออนไลน์ให้เห็นกันปกติ แต่ครั้งนี้หลาย ๆ สำนักทำดีมาก ทำเป็น data visualization ได้เห็นภาพชัดเจนจริงๆ

การประชุมสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โรงเรียนในเครือสวนกุหลาบวิทยาลัย ตามโครงการสวนกุหลาบศึกษา

การประชุมสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โรงเรียนในเครือสวนกุหลาบวิทยาลัย ตามโครงการสวนกุหลาบศึกษา “สวนกุหลาบสร้างสรรค์นวัตกรรม นำคุณภาพสู่สถาบัน” ระหว่างวันที่ 11-12 พ.ค. 2566 ณ โรงแรมเอเชียร์แอร์พอร์ท

การอบรมครูผู้ช่วย สพม.ปทุมธานี [หัวข้อ Digital Literacy]

วันนี้ได้รับโอกาสให้มาบรรยายในหัวข้อ Digital Literacy ให้ครูผู้ช่วยของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานีได้รับฟังเกี่ยวกับความหมาย ความสำคัญ สร้างความตระหนัก และการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต การจัดการเรียนการสอนครับ

เนื้อหาการบรรยายตามเอกสารประกอบที่แนบมานี้ 

หวังเป็นอย่างยิ่งว่าสิ่งที่บรรยายและถ่ายทอดไปจะเป็นประโยชน์กับคุณครูทุกท่าน ไม่มากก็น้อยครับ และขอขอบพระคุณสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี ที่ได้ให้โอกาสผมมาบรรยายในครั้งนี้ด้วยครับ

One day trip: ทำบุญที่วัดธัญญผล ไปบางแสน และสะพานชลมารควิถี

วันที่ 7 พ.ค. 2566 วันนี้ตกลงกับคุณแม่ของอันนาไว้ว่าจะพาไปทานข้าวที่ชลบุรี และก็เลือกร้านไว้แล้วเรียบร้อยครับ เป็นร้านแถวๆ สะพานชลมารควิถี ชื่อร้านว่า “เพลินทะเล”

เริ่มต้นตอนเช้าหลังจากเก็บกวาดบ้าน ทำความสะอาดเรียบร้อยตามหน้าที่ เราก็ออกเดินทางกันเลย

สอวน.ค่าย 3 (ระดับชาติ) ปีการศึกษา 2565

สำหรับปีนี้มีนักเรียนผ่านไปเข้าค่าย 3 เข้าร่วมการแข่งขันระดับชาติ โดยเป็นนักเรียนของโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต จำนวน 2 คน จากทั้งหมด 6 คนที่เป็นตัวแทนศูนย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือครับ

จริง ๆ ก็แอบหวังมากกว่านี้  และเห็นฝีมือนักเรียนของผมเองที่คิดว่ามีฝีมือหลายคนที่น่าจะไปได้อีก แต่ผลการคัดเลือกออกมาได้ 2 คนนี้ก็ดีใจแล้วครับ เพราะเป็นเด็กที่มีความตั้งใจ และมุ่งมั่นในการฝึกฝนตนเองเป็นอย่างมาก

สองคนนี้จะไปแข่งขันระดับชาติที่มหาวิทยาลัยนเรศวร ในระหว่างวันที่ 22 – 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 ผลจะเป็นอย่างไร เดี๋ยวเรามาลุ้นกันอีกทีนะครับ แอบหวังว่าทั้งสองคนจะได้เหรียญกลับมาเหมือนนะ สู้ ๆ ครับ