เอกสาร python มัธยม: ตอนที่ 2 โปรแกรมย่อยของหุ่นยนต์เต่า
เอกสารประกอบการเรียน วิชาวิทยาการคำนวณ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ตอนที่ 2 โปรแกรมย่อยของหุ่นยนต์เต่า ในเอกสารนี้นักเรียนจะได้เรียนรู้การเขียนโปรแกรมโดยใช้ฟังก์ชันครับ
เอกสารประกอบการเรียน วิชาวิทยาการคำนวณ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ตอนที่ 2 โปรแกรมย่อยของหุ่นยนต์เต่า ในเอกสารนี้นักเรียนจะได้เรียนรู้การเขียนโปรแกรมโดยใช้ฟังก์ชันครับ
เป็นโอกาสดีอีกครั้งที่ได้ออกไปหาประสบการณ์และเรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ร่วมกับการใช้เทคนิคการสอนแบบ GPAS 5 Steps และได้เรียนรู้จากวิทยากรที่ทรงคุณค่ามีความสามารถครับ ได้แก่ ดร.พิรุณ ศิริศักดิ์ ดร.ศรีวรรณ ฉัตรสุริยวงศ์ และ ดร.มารุต ทรรศนากรกุล พร้อมด้วยคณะทำงานท่านอื่น ๆ ครับ สำหรับผมเองเป็นทีมที่ทางคณะทำงาน โดยมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทาให้ไปช่วยงานและสังเกตการณ์อบรมด้าน Active Learning เพื่อนำไปใช้ในการอบรมภาคอีสานและภาคตะวันออกต่อไป และก็ได้พบเจอเพื่อนใหม่ทางการศึกษา ไม่ว่าจะเป็น อ.แอม อ.หมี อ.แม๊ก ครับ ซึ่งในอนาคตคงได้อยู่ในทีมวิทยากรเดียวกันแน่ ๆ เลย สำหรับการอบรมและการทำงานสองวันนี้ [28 – 29 พ.ค. 2565] ก็ต้องบอกว่าเป็นการอบรมที่สนุกและได้ความรู้ พร้อมกับได้แนวทางในการนำไปอบรมคุณครูรวมทั้งนำมาปรับใช้ในการจัดการเรียนการสอนของตนเองด้วยครับ
เอกสารประกอบการเรียน วิชาวิทยาการคำนวณ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ตอนที่ 1 รู้จักหุ่นยนต์เต่า
วันนี้ได้รับมอบหมายจากทางโรงเรียนให้นำเสนอผลงานทางวิชาการและ Best Practice ของโรงเรียน ซึ่งก็คือ “SKR Online Learning Platform” ซึ่งผมได้พัฒนาและนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนในช่วงโควิด-19 โดยครูทุกคนในโรงเรียนได้ร่วมกันใช้ในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ และเป็นเครื่องมือที่ทำให้นักเรียนสามารถเข้าเรียนได้ง่ายและสะดวกครับ ซึ่งในงานนี้ได้นำเสนอผลงานต่อนางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ดร.อำพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และนางไปรผดา โปติบุตร ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4
ผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมการแข่งขัน สอวน.คอมพิวเตอร์ ระดับชาติ ซึ่งปีนี้จัดขึ้นที่ จ.เชียงใหม่ วันที่ 2-4 มิ.ย. 2565 ครับ ปีนี้โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต ได้ตัวแทน 1 คน ดังนี้