การแข่งขันคอมพิวเตอร์โอลิมปิกระดับชาติ ครั้งที่ 15

ปีนี้เป็นอีกปีหนึ่งที่ได้มีโอกาสนำนักเรียนเข้าร่วมการแข่งขันคอมพิวเตอร์โอลิมปิก ระดับชาติ ซึ่งปีนี้เป็นครั้งที่ 15 แล้ว และจัดขึ้นที่มหาวิทยาลัยบูรพา จ.ชลบุรี ระหว่างวันที่ 4-7 มิถุนายน พ.ศ. 2562 ครับ ความพิเศษคือปีนี้โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต มีนักเรียนผ่านเข้ารอบระดับชาติถึง 3 คน จากตัวแทนมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ทั้งหมด 6 คน (โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต จะมีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และมหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าพระนครเหนือเป็นผู้ดูแล โดยสลับกันดูแลมหาวิทยาลัยละ 2 ปี) ในการแข่งขันครั้งนี้ มีนักเรียนที่แต่ละมหาวิทยาลัยคัดเลือกและฝึกซ้อมมากันอย่างดี รวมทั้งหมด 90 คน มีฟอสซิล(เด็กๆ ที่เคยเค้ารอบ สสวท. ปีก่อน) อีก 5 คน ผลการแข่งขันนักเรียนโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต ได้รับรางวัลเหรียญทองแดง คือ น.ส. รดา ขจรวิมลกิตติ และอีกสองคนได้รางวัลเข้าร่วมครับ แต่รางวัลตรงนี้แต่ละรางวัลอาจจะไม่ได้แตกต่างกันมากนัก เพราะเกียรติบัตรที่นักเรียนได้รับนั้น ตั้งแต่ระดับเหรียญทองจนกระทั่งถึงรางวัลเข้าร่วม สามารถนำไปยื่นกับมหาวิทยาลัยเพื่อเข้าศึกษาต่อในรอบยื่นพอร์ทได้เลยครับ อย่างเช่นปีที่แล้ว เด็กๆ ที่ได้เหรียญเงินและเข้าร่วมของโรงเรียน ที่จบการศึกษาไป…

Read More

การอบรมวิชาเทคนิคปฏิบัติการพื้นฐานวิทยาศาสตร์ 2 สำหรับนักเรียนทุน พสวท.

ได้รับโอกาสดีอีกครั้งที่ได้รับเชิญเป็นครูผู้สอนนักเรียนหัวกะทิของประเทศ นั่นก็คือนักเรียนทุน พสวท. ที่อนาคตคงจะได้เรียนจบ ดร.​ จากต่างประเทศกันทุกคน แต่สำหรับนักเรียนนักเรียนเพิ่มเข้ารับทุนเป็นปีแรกครับ และอยู่ในระดับชั้น ม.4 ใน ม.4 นี้นักเรียนจะได้เรียนวิชาเทคนิคปฏิบัติการพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ทั้ง 1 และ 2 โดยเทคนิค 2 นี้จะมีวิชาฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ และคอมพิวเตอร์ สำหรับผมเองได้รับเชิญจาก สสวท. ให้ไปอบรมนักเรียนในส่วนของหลักการแก้ปัญหาทางคอมพิวเตอร์ และการเขียนโปรแกรมพัฒนาระบบอัตโนมัติด้วย Arduino ในระหว่างวันที่ 31 พ.ค. – 2 มิ.ย. 2562 ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครับ ค่ายนี้เป็นค่ายที่สนุกมาก นักเรียนเต็มที่กับการเรียน และการทำกิจกรรมตั้งแต่ 8.30 – 21.00 น. แต่ก็เหนื่อยมากเช่นกัน เพราะเด็กๆ จะต้องกลับไปทำการบ้าน ทำงานที่ครูมอบหมายจนกว่าจะเสร็จ บางคนก็นอนตีสองตีสามเกือบทุกคืน สำหรับผมเองก็รู้สึกสนุกกับการสอนมากๆ ครับ เพราะเป็นการสอนไม่กี่ครั้งที่สามารถแทนตัวเองว่าพี่ (ผมก็นักเรียนทุนของ สสวท….

Read More

วิทยากร: การอบรมครูห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ สพฐ.

สพฐ. ร่วมกับ สสวท จัดการอบรมให้กับครูในโรงเรียนที่มีห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ สพฐ. และ พสวท. กิจกรรมนี้ได้รับเกียรติจาก สสวท. ให้ไปเป็นทีมงานวิทยากรในการอบรมครูตั้งแต่วันแรก (23 พ.ค. 62) ในการเตรียมการ เตรียมอุปกรณ์ และดำเนินการอบรมในส่วนของคอมพิวเตอร์ครับ ซึ่งก็คือการพัฒนาระบบอัตโนมัติด้วย Arduino โดยวันแรกคุณครูจะแยกอบรมตามสาขาวิชา (ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ คณิต คอม) สำหรับคอมพิวเตอร์ จะเป็นการอบรมเกี่ยวกับระบบอิเล็กทรอนิกส์และไมโครคอนโทรลเลอร์ สำหรับวันที่สองเป็นการทำงานบูรณาการ ซึ่งคือการพัฒนาระบบเลี้ยง raiwa(สัตว์สมมติ) ซึ่งต้องมีแสง สารละลายที่มีอาหารในระบบที่ raiwa เติบโตได้ (กำหนดเงื่อนไขในการเจริญเติบโต) ต้องบอกว่าครูแต่ละสาขาบูรณาการองค์ความรู้ร่วมกันและทำเป็นระบบจนสำเร็จ เป็นการเรียนรู้ที่มีเป้าหมายว่าองค์ความรู้ที่เราเรียนมานั้นมันช่วยเสริมเติมเต็มซึ่งกันและกันร่วมกับสาขาอื่นเพื่อให้ได้นวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพจริงๆ สำหรับหลักสูตรการอบรมนี้ ขออนุญาตนำข้อสรุปของอาจารย์ธีรวัฒน์ ประกอบผล มาเผยแพร่ ดังนี้ครับ “สรุปการสอนวิชาเทคนิคปฎิบัติการพื้นฐานวิทยาศาสตร์ สำหรับห้องเรียน พสวท และห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์” … สรุปตามที่แจ้งครูผู้ที่ฟังบรรยายว่าผมจะสรุปให้นะครับ .. รหัสวิชา คือ ว.30292 เทคนิคปฎิบัติการพื้นฐานวิทยาศาสตร์ 2 (คอมพิวเตอร์) วิชานี้มุ่งเน้นทักษะการทำโครงงานบูรณาการ…

Read More

การใช้ Exit Ticket ในการเรียนการสอน

เทคนิค Exit Ticket หรือภาษาไทยใช้ชื่อว่าเทคนิคตั๋วออก เป็นวิธีการหนึ่งที่ใช้ในการตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียน และเป็นข้อมูลจากนักเรียนที่ครูสามารถนำมาใช้ในการปรับการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนได้มากยิ่งขึ้นครับ โดยก่อนที่นักเรียนจะออกจากห้องให้นักเรียนทุกคนได้สะท้อนข้อมูลจากการเรียนในคาบนั้นๆ ในประเด็นต่างๆ ซึ่งผมก็วางไว้ 4 ประเด็น คือ 1) ให้สรุปความรู้เรียนในวันนั้น 2) ปัญหาในการเรียนวันนั้น 3) จะนำความรู้ที่เรียนไปประยุกต์ใช้ได้อย่างไร และ 4) นักเรียนอยากรู้อะไรเพิ่มเติมอีก ภาคเรียนนี้ผมจึงได้นำเทคนิคนี้มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาวิทยาการคำนวณ ม.4 ด้วย โดยเมื่อนักเรียนได้เรียนจบในคาบนั้นๆ แล้ว 10-15 นาทีสุดท้ายก็นะให้นักเรียนได้สะท้อนข้อมูลให้ครูได้รับทราบ เพื่อผมจะได้นำข้อมูลนั้นมาปรับการสอนในครั้งต่อไปให้ดีขึ้น หรือตรงกับความต้องการของนักเรียนมากยิ่งขึ้นครับ อีกทั้งยังเป็นสิ่งที่สะท้อนว่านักเรียนได้เรียนรู้อะไร ไม่เข้าใจอะไร และอยากจะให้ครูปรับเปลี่ยนอะไรในการสอนบ้าง สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งคือการฝึกให้นักเรียนได้สรุปความรู้ ได้เขียนสรุปความ องค์ความรู้หลังเรียน เหมือนเราอ่านหนังสือจบหนึ่งย่อหน้า แล้วสรุปเป็นความเข้าใจของเราเองครับ เวลาออกจากห้องเรียนไป นักเรียนจะได้มีข้อสรุปและ concept ติดตัวไปว่าคาบที่ผ่านมาได้ความรู้อะไรบ้าง สุดท้ายถ้าเป็นไปได้ก็อยากจะทำวิจัยเรื่องนี้เมื่อจบภาคเรียน จะได้เป็นข้อมูลยืนยันว่าวิธีการนี้นำมาใช้ในการเรียนแล้วส่งผลดีกับผู้เรียนในด้านต่างๆ บ้างหรือไม่อย่างไร เนื่องจากผมสอนรายวิชาที่ใช้ห้องคอมพิวเตอร์อยู่แล้ว ก็เลยใช้ Google Form นี่ล่ะครับเป็นเครื่องมือที่ให้นักเรียนกรอกข้อมูล แต่ถ้าไม่ใช่ห้องคอมพิวเตอร์ คุณครูอาจจะให้นักเรียนบันทึกใส่สมุดหรือกระดาษที่ครูเตรียมไว้ให้ก็ได้ครับ โดยจัดการเรียนการสอนในเว็บไซต์ที่ผมทำขึ้นมาเองครับ https://sites.google.com/skr.ac.th/computingscience/

Read More

วิทยากร : วิทยาการคำนวณ ระดับประถมศึกษา รร.ประชาภิบาล กรุงเทพฯ

เป็นโอกาสอันดีอีกครั้งหนึ่งที่ได้มีโอกาสนำความรู้ ประสบการณ์เกี่ยวกับที่ไปที่มาของหลักสูตรและรายวิชาวิทยาการคำนวณ ไปเผยแพร่ให้กับคุณครูในกรุงเทพมหานครครับ จริงๆ แล้ววิทยาการคำนวณเป็นเรื่องที่ไม่ไกลตัวจากเราเลย มันก็ทักษะที่สำคัญที่นำไปใช้ได้กับทุกอาชีพ ทุกสถานการณ์ เพราะเป็นการเรียนรู้ และฝึกคิดอย่างแยบยล เป็นระบบ และเป็นขั้นตอนครับ คุณครูทั้งสามสิบกว่าคนของโรงเรียนประชาภิบาล ตั้งใจและทำกิจกรรมอย่างเต็มที่มากๆ แม้ว่าบางท่านจะไม่ได้สอนในรายวิชานี้ แต่ทุกท่านก็เห็นความสำคัญว่าความรู้เกี่ยวกับวิชาวิทยาการคำนวณสามารถนำไปสอดแทรกได้กับทุกรายวิชาครับ และก็ต้องขอขอบพระคุณท่านผู้อำนวยการ คุณครูทุกท่านที่ให้การต้อนรับและดูแลเป็นอย่างดี รวมทั้งตั้งใจในการอบรมและเรียนรู้กันมากๆ ครับ

Read More
Back To Top