ค่ายลูกเสือ ม.1 ปีการศึกษา 2560

ผ่านพ้นไปแล้วและก็ผ่านพ้นไปได้ด้วยดีกับกิจกรรมการอยู่ค่ายพักแรมของลูกเสือ-เนตรนารี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ครั้งนี้เป็นปีที่ 2 ของผมที่ต้องรับผิดชอบเป็นหัวหน้าลูกเสือระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่จะต้องจัดเตรียมกิจกรรมต่างๆ การวางแผน การเตรียมอุปกรณ์ ประชุม รวมทั้งประสานงาน ทุกๆอย่างเป็นความกดดันพอสมควรเพราะต้องการให้ค่ายนี้เป็นค่ายลูกเสือจริงๆ มีกิจกรรมในรูปแบบของลูกเสืออย่างแท้จริง ซึ่งนอกจะได้จะรับความร่วมมือจากผู้กำกับ ม.1 ทุกท่านแล้ว ก็ยังมีกำลังสำคัญที่ทำให้ค่ายนี้ประสบความสำเร็จและเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ก็คือพี่เลี้ยงทั้ง 48 คน ที่มาจากทั้ง ม.4 ม.5 และ ม.6 ครับ ถือได้ว่าเป็นประสบการณ์สำคัญอย่างหนึ่งที่ได้ทำหน้าที่นี้ และรู้สึกภูมิใจที่เป็นส่วนหนึ่งในการดำรงและส่งเสริมให้กิจการของลูกเสือไทยคงอยู่ และเจริญก้าวหน้าต่อไป ครูณัฐพล บัวอุไร (หัวหน้าลูกเสือ ม.1 2560) เตรียมพร้อมทำพิธีเปิด เปิดเสร็จเราก็ลงมาเปิดกอง กิจกรรมแรกเลย ทำเสาธงลอยกันครับ ช่วงบ่ายแดดร้อนๆ เราก็ออกเดินทางไกล ระยะทางประมาณ 8.3 กิโลเมตร มีพี่เลี้ยงคอยดูแลไปอย่างดีครับ ตอนค่ำเราก็มีกิจกรรมรอบกองไฟ เฮฮากันไป ตื่นตีหน้าครึ่งมาออกกำลังกายเพื่อสุขภาพกันครับ กิจกรรมแรกของเช้าวันที่ 2 ก็คือผจญภัย (มีฐานเหมือนค่ายลูกเสือเลย) ช่วงบ่าย เราทำพิธีประดับบ่า เข้าประจำกองให้เลยครับ…

Read More

มาทำความรู้จัก Gistda อุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ กันครับ

สามวันนี้พานักเรียนมาแข่งขันที่ GISTDA ครับ ก็เป็นหน่วยงานที่สำคัญหน่วยงานหนึ่งของประเทศ ที่ผมก็เพิ่งจะได้ยินชื่อและรู้จักเหมือนกัน ด้วยความที่ที่นี่มีความน่าสนใจเป็นอย่างมาก ก็เลยจะมาเล่าให้ฟังรวมทั้งเด็กๆ จะได้ประสบการณ์ใหม่ๆ ด้วยครับ   GISTDA ชื่อไทยก็คือ สำนักพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ขึ้นตรงกับกระทรวงวิทย์ฯ ครับ หน้าที่สำคัญของที่นี่เลยก็คือการควบคุมดาวเทียมที่ชื่อว่าไทยโชต หรือ ธีออส ครับ ซึ่งเป็นดาวเทียมสำหรับสำรวจทรัพยากรและอื่นๆ (รวมทั้งการทหารด้วย)   ในนี้ก็จะมีหน่วยงานที่สำคัญ ได้แก่ 1. สำนักพัฒนาอุทยารังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ ทำหน้าที่ประสานงานและวิจัยผลักดันด้านอุตสาหกรรมการบินและอวกาศของประเทศ 2. สำนักปฏิบัติการดาวเทียม จะทำหน้าที่ควบคุมดาวเทียมไทยโชต หรือธีออส (ไทยโชต ได้รับพระราชทานชื่อจากรัชกาลที่ 9) ซึ่งเป็นภารกิจหลักของที่นี่ และเป็นศูนย์กลางด้านภูมิสารสนเทศครับ 3. อาคารศูนย์ภูมิสารสนเทศสิรินธร ใช้พัฒนาบุคลากรด้านภูมิสารสนเทศ ฝึกอบรม (และเป็นสถานที่แข่งขันในครั้งนี้ด้วย) 4. Space Inspirium หรือพื้นที่สร้างแรงบันดาลใจ (มาจากคำว่า Inspiration + Museum) ส่วนนี้ก็คือพิพิธภัณฑ์นั่นเองครับที่ทุกคนสามารถเข้ามาศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับอวกาศ เทคโนโลยีอวกาศได้ (ค่าเข้านักเรียน 20 ผู้ใหญ่ 50)…

Read More

การแข่งขันหุ่นยนต์ยุวชนชิงแชมป์ประเทศไทย ครั้งที่ 6

ปีนี้ก็เป็นปีที่สองที่ได้ส่งนักเรียนเข้าร่วมการแข่งขันหุ่นยนต์ยุวชนชิงแชมป์ประเทศไทย ครั้งที่ 6 และการแข่งขันหุ่นยนต์ Thailand Robofest Junior 2017 ณ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ซึ่งการแข่งขันจัดขึ้นในวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2560 ที่ผ่านมา โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต ได้ส่งนักเรียนเข้าร่วมการแข่งขันจำนวนทั้งสิ้น 8 ทีม (16 คน) โดยมีผม ครูณัฐพล บัวอุไร คอยให้คำแนะนำฝึกซ้อม แล้วก็มีประธานชุมนุมหุ่นยนต์ หรือพี่อู๋ของนักเรียน (นายจิตต์พิศุทธิ์ ธนะจินดา) เป็นหัวหน้าที่คอยดูแลน้องๆ และจัดการเรื่องต่างๆ แทนผมได้เป็นอย่างดี ผลการแข่งขันของเราในปีนี้ถือว่าประสบความสำเร็จเกินที่คาดไว้เป็นอย่างมาก เพราะเราได้รับรางวัลชนะเลิศรายการการแข่งขันโครงงานหุ่นยนต์และนวัตกรรม แล้วก็ยังมีรางวัลรองชนะเลิศอันดับต่างๆ อีกหลายรายการ โดยทุกคนที่ผมพาไปแข่งขันด้วยก็ได้รับเหรียญรางวัลมาทั้งหมด อย่างน้อยๆ ก็อันดับที่สี่ (ซึ่งได้เหรียญรางวัลด้วย) สิ่งที่มีวันนี้และประสบความสำเร็จได้ ก็คงเป็นใครไม่ได้นอกจากตัวนักเรียนเองที่ขยันมาฝึกซ้อมกันทุกวัน ช่วงเย็นหลังเลิกเรียน พี่อู๋ ประธานชุมนุมที่ดูแลน้องๆ ฝึกฝนร่วมกัน ผู้ปกครองที่ให้การสนับสนุน และโรงเรียนที่ให้การสนับสนุนอุปกรณ์และเงินทุนต่างๆ ผมเองในฐานะครูผู้สอนและฝึกซ้อม ก็ขอขอบพระคุณทุกท่านที่ให้การสนับสนุนจนทีมของพวกเราประสบความสำเร็จมา ณ โอกาสนี้ด้วยครับ http://www.nattapon.com/wp-content/uploads/2017/06/robot06601.pdf…

Read More

การแข่งขันคอมพิวเตอร์โอลิมปิกระดับชาติ ครั้งที่ 13

เป็นโอกาสที่ดีครั้งหนึ่งและครั้งแรกในชีวิตที่ได้เข้าร่วมการเป็นผู้สังเกตุการณ์ การแข่งขันคอมพิวเตอร์โอลิมปิกระดับชาติ ครั้งที่ 13 ณ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ และมหาวิทยาลัยมหิดลครับ ระหว่างวันที่ 12-15 มิถุนายน พ.ศ. 2560 ซึ่งก็เป็นครั้งแรกอีกเช่นเดียวกันที่ได้ไปเยี่ยมเยือนโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ซึ่งได้ชื่อว่ามีนักเรียนหัวกะทิระดับประเทศอยู่เป็นจำนวนมาก การได้รับโอกาสครั้งนี้ทำให้เห็นการทำงานของทีมงานจัดการแข่งขัน การวางแผน การจัดรูปแบบการแข่งขัน โจทย์ต่างๆ ที่ใช้ในการแข่งขัน และกระบวนการคิดโจทย์เพื่อคัดกรองเด็กที่เก่งทางด้านเขียนโปรแกรมจริงๆ ครับ นับว่ามีประโยชน์กับผมโดยตรงจริงๆ เพราะสอนในรายวิชาการเขียนโปรแกรมด้วย และมีนักเรียนที่โรงเรียนหลายคนสนใจในการเข้าร่วม สอวน. คอมพิวเตอร์ ซึ่งก็จะสามารถนำประสบการณ์และความรู้ที่ได้รับนี้มาพัฒนานักเรียนของตนเอง ก็ต้องขอขอบคุณโรงเรียนสามเสนวิทยาลัย ที่ได้ให้เกียรติเชิญผมเข้าร่วมเป็นผู้สังเกตุการณ์และควบคุมดูแลนักเรียนของศูนย์ สอวน.โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย ในครั้งนี้ และก็ต้องขอขอบคุณท่าน ผอ. โรงเรียน หัวหน้ากลุ่มสาระฯ และครูที่อนุญาตให้ผมได้เดินทางไปสังเกตุการณ์ในครั้งนี้ครับ [Best_Wordpress_Gallery id=”9″ gal_title=”การแข่งขันคอมพิวเตอร์โอลิมปิกระดับชาติ ครั้งที่ 13″]

Read More

หุ่นยนต์เดินตามเส้นขั้นเทพ

ต้องบอกก่อนว่าผมสอนเขียนโปรแกรมและก็สอนเขียนควบคุมหุ่นยนต์ด้วย โปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์ที่เด็กๆ ทำได้เป็นโปรแกรมแรกๆ ก็คือหุ่นยนต์เดินตามเส้นครับ ใช้เซ็นเซอร์ 2 ตัว คล่อมเส้น แล้วก็เช็คเงื่อนไขง่ายๆ ว่าถ้าเซ็นเซอร์ด้านใดเจอเส้นก็ให้เลี้ยวไปทางนั้น มันก็เป็นเรื่องไม่ยากและก็มองว่าหุ่นยนต์เดินตามเส้นเป็นเรื่องไม่ยากมาตลอด แต่ก็คิดอยู่เสมอว่ามันต้องมีวิธีการที่จะทำให้หุ่นยนต์ของเราวิ่งตามเส้นได้เร็วกว่านี้ แต่ก็ยังไม่รู้จะทำวิธีไหน จงกระทั่ง… ได้มาอบรมหุ่นยนต์เดินตามเส้น ที่จัดโดยคณะวิศวะกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม พอไปอบรมก็ต้องร้อง โอ้โห กันเลยทีเดียว ไม่คิดว่าโค้ดหุ่นยนต์เดินตามเส้นที่ทำให้หุ่นยนต์วิ่งเร็ว ต่อเนื่องไม่มีสะดุดนั้น โค้ดมันจะยาวมากมายหลายร้อยบรรทัดขนาดนี้ อุปกรณ์หลักก็จะเป็น array sensor ที่ทำหน้าที่ตรวจจับเส้นหรือการสะท้อนที่มีเซ็นเซอร์ขนาดเล็ก 8 ตัวเรียงต่อกัน แต่ทีสำคัญกว่านั้นก็คืออัลกอริทึมที่เขียนลงไป ที่สามารถทำให้หุ่นยนต์วิ่งได้ตามเส้นได้ลื่นไหลสมูทมากเลยทีเดียว แม้กระทั้งเส้นที่เป็นมุมฉากก็ยังสามารถเลี้ยวได้อย่างรวดเร็วมาก ประสบการณ์ครั้งนี้ถือว่าเป็นประสบการณ์ที่สำคัญที่จะนำมาพัฒนาตนเองและนักเรียนได้เป็นอย่างดีมากๆ และก็ขอขอบคุณมหาวิทยาลัยศรีปทุม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มา ณ โอกาสนี้ด้วยครับ

Read More
Back To Top