วิทยากร : การจัดการเรียนการสอนวิทยาการคำนวณ สพม.18
เป็นอีกครั้งที่ได้รับโอกาสให้ไปบรรยายและอธิบายเกี่ยวกับวิชาวิทยาการคำนวณให้ครูมัธยมได้ทราบและนำไปจัดการเรียนการสอนได้ตรงกับตัวชี้วัดครับ ครั้งนี้ได้รับโอกาสให้ไปที่ สพม.18 ที่โรงเรียนชลกัลยานุกูล จ.ชลบุรี คุณครูที่เข้าร่วมก็จะเป็นคุณครูในสังกัด สพม.18 ได้แก่จังหวัดชลบุรี และระยองครับ โดยส่วนใหญ่จะเป็นโรงเรียนที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนดีประจำตำบลครับ วันนี้คุณครูที่นี่ได้ให้ข้อคิดเห็นที่ดีอันนึงก็คือแม้ว่าเราจะออกแบบโครงสร้างรายวิชา เข้าใจ และสอนได้ตรงตัวชี้วัด แต่ปัญหาคือเด็กไม่ยอมคิดแก้ปัญหาตามที่เราได้ออกแบบสถานการณ์ไว้ครับ และนี่น่าจะเป็นปัญหาใหญ่ที่หลายๆ คนพบเจอแน่ๆ แต่ปัญหาเหล่านี้ก็ไม่ใช่ว่าแก้ไม่ได้นะครับ การแก้ครูคงต้องเหนื่อยเพิ่มอีกนิด เพราะต้องแก้ที่คุณครู คือครูต้องปรับการจัดกิจกรรมให้เด็กได้คิดโดยที่ไม่รู้ตัวครับ เช่น การให้เด็กๆ ได้เล่มเกมแก้ปัญหา โดยการเล่นเกมก็ไม่ใช่ให้เด็กเล่นเรื่อยเปื่อยหรือเล่นจนกว่าจะชนะ แต่ครูต้องคอยกำลังติดตาม คอยสอบถามว่าทำไมนักเรียนถึงคิดแบบนั้น ทำไมถึงแก้ปัญหาด้วยวิธีนี้…
การออกแบบ Algorithm (ขั้นตอนวิธี) ด้วย Flowgorithm
องค์ประกอบสำคัญของแนวคิดเชิงคำนวณประการหนึ่งก็คือการออกแบบขั้นตอนวิธี หรือที่เราเรียกว่า Algorithm ครับ ซึ่งวิธีที่ง่ายและเป็นมาตรฐานที่สุดที่จะออกแบบขั้นตอนวิธีการแก้ปัญหาได้นั้นก็คือการวาดเป็นผังงานหรือการเขียน Flowchart นั่นเอง เครื่องมือในการวาด Flowchart มีหลายตัวครับ แต่วันนี้จะมาแนะนำ Flowgoritm ซึ่งความสามารถเด่นๆ ของมันก็คือ เราสามารถรันหรือทดสอบระบบของขั้นตอนวิธีที่เราออกแบบไว้ได้ อีกทั้งยังสามารถแปลงเป็นภาษาโปรแกรมต่างๆ ได้อีกหลายสิบภาษาอีกด้วยครับ วิธีการใช้งานเบื้องต้น สามารถศึกษาได้ตามเอกสารนี้ครับ แต่ถ้าต้องออกแบบขั้นตอนวิธีที่มีการใช้ฟังก์ชันหรือคำสั่งอื่นๆ มากขึ้น เช่น ฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ สามารถศึกษาได้จาก Document ในเว็บไซต์ได้เลยครับผม http://www.flowgorithm.org/documentation/index.htm…