วิทยาการคำนวณ ม.4 : การประยุกต์ใช้แนวคิดเชิงคำนวณในการแก้ปัญหากับโปรแกรมภาษาไพทอน [tkinter]
คลิปนี้เรามาดูกันว่าเราจะสามารถใช้แนวคิดเชิงคำนวณในการแก้ปัญหาสำหรับการเขียนโปรแกรมภาษาไพทอนเพื่อสร้าง GUI ด้วย tkinter ได้อย่างไร
เอกสารประกอบการเรียน python [tkinter]
แนวทางการสอนวิชาวิทยาการคำนวณในสถานศึกษา (จะสอนวิทยาการคำนวณอย่างไร)
คลิปนี้ผมได้สรุปแนวทางการสอนวิชาวิทยาการคำนวณในสถานศึกษาไว้ประมาณ 20 นาที ครับ เพื่อให้คุณครูได้ทำความเข้าใจว่าในการสอนวิชานี้เราจะต้องสอนให้ครบทั้ง ICT DL และ Computer Science และในส่วนของ Computer Science จะต้องเข้าใจในส่วนของแนวคิดเชิงคำนวณให้ชัดเจนในประเด็นเกี่ยวกับ การแยกย่อยปัญหา การหารูปแบบ แนวคิดเชิงนามธรรม และขั้นตอนวิธีครับ หากมีข้อติชม แนะนำมาได้เลยนะครับ
วิเคราะห์ตัวชี้วัดวิชาวิทยาการคำนวณ || ทำความเข้าใจแล้วจะรู้ว่าวิชานี้สอนไม่ยากครับ
คลิปนี้เรามาวิเคราะห์ตัวชี้วัดวิชาวิทยาการคำนวณกันครับ ซึ่งจะแนะนำให้เห็นว่าวิชานี้มีองค์ประกอบ 3 ประการคือ ICT, DL และ Computer Science และตัวชี้วัดได้ระบุชัดเจน และก็มีจำนวน 4-5 ข้อ หากวิเคราะห์ดูดีๆ แล้ว รับรองว่าสอนได้ สอนไม่ยาก และอาจจะไม่ต้องใช้หนังสือเรียนด้วย สามารถหากิจกรรมได้จากชีวิตประจำวันรอบตัวได้เลยครับ — หากมีข้อแนะนำหรือสอบถามเพิ่มเติม ฝากไว้ใน comment นะครับ
วิทยากร : การจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาการคำนวณ สพป.พะเยา เขต 1
ได้มีโอกาสไปเยือนพะเยากับเชียงรายเป็นครั้งแรกครับ เป้าหมายที่จะเดินทางไปคือสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พะเยา เขต 1 เป็นการอบรมครูผู้สอนวิชาวิทยาการคำนวณครับ ส่วนเชียงรายนั้นเป็นจังหวัดแรกที่เคยไปเหมือนกัน และที่ต้องไปเชียงรายเพราะต้องไปลงสนามบินที่นั่นเพื่อนั่งรถต่อไปพะเยาอีกประมาณ 90 กิโลเมตร ในการมาบรรยายครั้งนี้ นอกจากจะเน้นย้ำเรื่องของหลักสูตร ตัวชี้วัด การจัดหลักสูตรของโรงเรียน รายวิชา และการจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาการคำนวณที่ต้องสอนทั้ง 3 แกน ได้แก่ ICT DL และ Computer Science แล้ว ครั้งนี้ได้เจาะลึกเพิ่มมากขึ้นในส่วนของ Computer…