การอบรม AI for Education
สรุปและรายงานผลการอบรม AI for Education เมื่อวันที่ 20 เม.ย. 2562 ที่จัดโดยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ร่วมกับ สพฐ. ครับ สิ่งที่ได้เรียนรู้ ความหมายและลักษณะของปัญญาประดิษฐ์ การสร้างปัญญาประดิษฐ์ด้วยเครื่องมือออนไลน์ machinelearningforkids.co.uk Machine Learning การใช้ machinelearningforkids.co.uk ในส่วนของ Machine Learning เพื่อนำไปสร้างเป็นปัญญาประดิษฐ์อย่างง่าย เครื่องมือ AI เพิ่มเติม…
หนังสือเรียนและคู่มือครูวิชาเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) และวิชาออกแบบและเทคโนโลยี
คู่มือครูวิชาเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ และ การออกแบบและเทคโนโลยี) ตอนนี้คุณครูสามารถดาวน์โหลดได้แล้วที่หน้าเว็บไซต์ต่อไปนี้ครับ (ต้องสมัครสมาชิกและ Login ก่อนนะครับ) https://www.scimath.org/ebook-technology คู่มือการใช้หลักสูตร เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา คู่มือครู รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 คู่มือครู รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ)…
รายการพุธเช้าข่าวโรงเรียน นำเสนอการจัดการเรียนการวิชาวิทยาการคำนวณ
ภาพและวีดีโอนำเสนอการจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาการคำนวณ ออกอากาศในรายการพุธเช้าข่าวโรงเรียน วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2562 ครับ
การจัดทำหน่วยการเรียนรู้ต้นแบบวิชาวิทยาการคำนวณที่มุ่งเน้นสมรรถนะ
ได้รับเกียรติจากสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ให้เข้าร่วมการออกแบบและจัดทำหน่วยการเรียนรู้ต้นแบบ วิชาวิทยาการคำนวณ ที่มุ่นเน้นการพัฒนาทักษะและสมรรถนะด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี หน่วยต้นแบบนี้เป็นหน่วยการจัดการเรียนรู้และแผนการจัดการเรียนรู้สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา 1-6 ครับ ซึ่งเมื่อสมบูรณ์แล้วก็จะนำไปทดลองใช้และเผยแพร่ต่อไป สำหรับส่วนของวิชาวิทยาการคำนวณเองนั้น เรามุ่งเน้นไปที่การทำกิจกรรมเพื่อให้เกิดแนวคิดเชิงคำนวณ โดยมองไปที่กรณีที่ครูไม่มีอุปกรณ์ ไม่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ในห้องเรียน ก็จะสามารถจัดการเรียนการสอนให้นักเรียนได้เข้าใจและมีทักษะหรือแนวคิดเชิงคำนวณได้ ก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าการร่วมทำกิจกรรมกับหน่วยงานต้นสังกัดในครั้งนี้จะส่งผลไปถึงผู้เรียน และผู้สอนวิชาวิทยาการคำนวณให้มีความรู้ความเข้าใจในวิชานี้มากยิ่งขึ้นนะครับ
การอบรมวิทยาการคำนวณ สำหรับครูประถมศึกษา สพป.ร้อยเอ็ด เขต 2
ได้รับโอกาสที่ดีที่ได้ไปบรรยายและเผยแพร่กิจกรรมการจัดการเรียนการสอนวิทยาการคำนวณ สำหรับครูผู้สอนระดับประถมศึกษา ที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ร้อยเอ็ด เขต 2 ความตั้งใจคือต้องการที่จะทำให้คุณครูผู้สอนวิชานี้ได้รู้ว่าวิชานี้มันไม่ใช่การสอนเด็กเขียนโปรแกรมอย่างเดียว และการเขียนโปรแกรมนั้นไม่ได้หมายถึงการเขียนเป็นภาษาซี ภาษาไพทอนเท่านั้น การเขียนโปรแกรมสำหรับประถมคือการศึกษาคิดอย่างเป็นลำดับขั้นตอน อาจจะใช้เรื่องราวในชีวิตประจำวัน หรือการใช้กิจกรรมที่ได้ยกตัวอย่างในการบรรยายก็ได้ แต่ยังไงก็เน้นไปที่การฝึกทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างเป็นลำดับขั้นตอนของนักเรียนครับ และหากสอนไปได้ถึงการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์แล้วล่ะก็ คุณครูก็สามารถใช้เครื่องมือที่ฝึกทักษะการเขียนโปรแกรมในรูปแบบ Block ได้เช่น Blockly, Code.org, Scratch เป็นต้น ครับ ทั้งนี้คุณครูจะต้องเตรียมกิจกรรม เตรียมคำถาม เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกคิด ฝึกปฏิบัติ หรือฝึกทักษะกันพอสมควร…
Unplugged Programming: Graph Coloring
กิจกรรม Unplugged Programming: Graph Coloring เป็นกิจกรรมที่จะทำให้นักเรียนสามารถคิดวิเคราะห์และหาความแตกต่างระหว่างพื้นที่ใน map ได้ พร้อมทั้งมองเห็นความสัมพันธ์ ความเชื่อมโยง และความแตกต่างกันระหว่างพื้นที่ ทักษะนี้จะทำให้นักเรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการแก้ปัญหาต่างๆ ในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี เช่น การวิเคราะห์ภาพรวมของปัญหา แยกเป็นปัญหาย่อยๆ และดำเนินการแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน ตามวิธีคิดเชิงคำนวณ รูปแบบการจัดกิจกรรมมีดังนี้ครับ
กิจกรรม Unplugged Programming : Colour By Number
หลายๆ คนคงจะเคยสงสัยว่าทำไมรูปภาพเดียวกันที่มีขนาดเท่ากันแต่ต่างนามสกุลกันถึงมีขนาดของรูปภาพไม่เท่ากัน นั่นเป็นเพราะรูปภาพแต่ละประเภทมีรูปแบบวิธีการจัดเก็บข้อมูลต่างกันนั่นเอง กิจกรรม Unplugged Programming : Colour By Number นี้จะเป็นกิจกรรมที่ทำให้เด็กๆ เข้าใจวิธีการในการเก็บข้อมูลในรูปแบบของรูปภาพรูปแบบง่ายๆ ทำให้รู้ว่าการเก็บข้อมูลสีในรูปภาพนั้นมีวิธีการอย่างไร
กิจกรรม Unplugged Programming: โรบอทเรียงแก้ว
กิจกรรมโรบอทเรียงแก้ว นี้เป็นกิจกรรม Unplugged Programming ที่ทำให้นักเรียนได้กระบวนการคิด การแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอนในรูปแบบของคอมพิวเตอร์ ที่เรียกว่าแนวคิดเชิงคำนวณ เป็นกิจกรรมที่นักเรียนทำได้ในทุกๆ ระดับ โดยครูสามารถปรับเปลี่ยนการจัดวางแก้วให้มีความยากง่ายต่างกันออกไปในแต่ละระดับได้ครับ ดูตัวอย่างกิจกรรมการสอนตามวีดีโอนี้หรือจากรูปด้านล่างได้ครับ https://photos.app.goo.gl/KVdffKmuH6HeEqts6
บันทึกเทปรายการ “พุธเช้า…ข่าวโรงเรียน”
ได้รับโอกาสดีๆ ที่สำคัญอีกครั้งหนึ่ง ก็คือการได้บันทึกเทปรายการ “พุธเช้า…ข่าวโรงเรียน” ตอน การจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาการคำนวณ เพื่อสร้างนวัตกร โดยทีมประชาสัมพันธ์ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานครับ ในโอกาสนี้ผมจึงได้นำเสนอวิธีการสอนวิทยาการคำนวณ ซึ่งเป็นเพียงตัวอย่างการสอนนะครับ คุณครูสามารถนำไปปรับใช้ได้ตามความเหมาะสม โดยแนะนำการสอนโดยไม่ใช้คอมพิวเตอร์นั่นก็คือ Unplugged Programming และการสร้างนวัตกรด้วยการพัฒนานวัตกรรมเป็นระบบอัตโนมัติง่ายๆ ผ่านเครื่องมือที่ชื่อว่า Kidbright ครับ นอกจากจะได้นำเสนอวิธีการจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาการคำนวณแล้ว เด็กๆ ที่ร่วมทำงานและทำโครงงานมาด้วยกันก็ยังได้นำเสนอผลงาน แนวคิด และนวัตกรรมของตนเองให้คนทั่วประเทศได้เห็นอีกด้วย ก็นับว่าเป็นประสบการณ์ที่ดีครั้งหนึ่งในชีวิต และเป็นสิ่งที่ดีที่ได้เผยแพร่กระบวนการจัดการเรียนการสอนซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งให้คุณครูทั่วประเทศได้นำไปปรับใช้ครับ https://photos.app.goo.gl/pngDP4DMKAF1JVDA8
นำเสนอ mini midterm project วิทยาการคำนวณ
นำเสนอ mini midterm project เป็นผลงานของนักเรียนที่พัฒนาแอพพลิเคชันเกี่ยวกับการคำนวณทางวิทยาศาสตร์หรือคณิตศาสตร์ครับ ที่ให้พัฒนาแอพพลิเคชันเรื่องนี้คือนักเรียนจะได้ทบทวนเนื้อหาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ที่กำลังเรียนอยู่ด้วย และได้เชื่อมโยงความรู้หลายๆ รายวิชาครับ