การแจกแจงทางทฤษฎีที่ใช้อนุมานสถิติ

การแจกแจงทางทฤษฎี (Theoretical distribution) ที่ใช้ในอนุมานสถิติบ่อยๆ มีอยู่ 4 ประเภทด้วยกันคือ 1. การแจกแจงแบบโค้งปกติ (Normal distribution) 2. การแจกแจงแบบไคว์สแควร์ (Chi-square distribution) 3. การแจกแจงแบบ F (F-distribution) 4. การแจกแจงแบบ t (t-distrubution) 1. การแจกแจงแบบโค้งปกติ (Normal distribution)…

การวัดการกระจาย

การสรุปลักษณะต่างๆ ของข้อมูลนั้น ใช้การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลางเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ จำเป็นที่จะต้องใช้การวัดการกระจายด้วยเพื่อให้ทราบว่าข้อมูลแต่ละชุดมีการกระจายแตกต่างกันอย่างไร โดยมีวิธีการดังนี้ 1. พิสัย (Range) คือความแตกต่างระหว่างข้อมูลที่มีค่าสูงสุดกับข้อมูลที่มีค่าต่ำสุด การจัดการกระจายแบบนี้เป็นการวัดแบบหยาบๆ 2. ค่าเบี่ยงเบนควดไทล์ (Quartile deviation : Q.D.) คือค่าครึ่งหนึ่งของผลต่างระหว่างควอไทล์ที่ 3 กับควอไทล์ที่ 1 ใช้เมื่อข้อมูลนั้นมีการวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลางด้วยค่ามัธยฐาน 3. ค่าเบี่ยงเบนเฉลี่ย (Mean deviation : M.D.)…

การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง

การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง การสรุปลักษณะของข้อมูลโดยทั่วไป จะคำนึงถึงลักษณะ 2 ประการ คือ ค่าที่เป็นตัวแทนของข้อมูลแต่ละชุด และลักษณะการกระจายของข้อมูล โดยการหาค่าสถิติที่ทีเป็นตัวแทนของข้อมูลแต่ละชุด คือ การวัดแนวโน้มสู่ส่วนกลาง โดยมีค่าสถิติที่นิยมใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย มัธยฐาน และฐานนิยม   ความสัมพันธ์ระหว่างค่าเฉลี่ย มัธยฐานและฐานนิยมในลักษณะการแจกแจงต่างๆ 1. ถ้าข้อมูลมีลักษณะการแจกแจงเป็นโค้งปกติ คือ เป็นโค้งที่มีลักษณะรูประฆัง ค่าเฉลี่ย มัธยฐานและฐานนิยม จะมีค่าเท่ากัน 2. ถ้าข้อมูลมีลักษณะการแจกแจงเบ้ไปทางขวา…

ตำแหน่งเปอร์เซ็นไทล์ เดไซน์และควอไทล์

ตำแหน่งเปอร์เซ็นไทล์ เดไซน์และควอไทล์ ข้อมูลที่รวบรวมมาได้ในแต่ละชุด จะมีลักษณะเฉพาะของตนเอง  ในการที่จะเปรียบเทียบตำแหน่งต่างๆ ของข้อมูลคนละชุดนั้น ควรจะแปลงข้อมูลเหล่านั้นให้อยู่ในลักษณะเดียวกันเสียก่อน สถิติที่ใช้ในการเปรียบเทียบและวัดตำแหน่งต่างๆ ที่จะกล่าวถึงในที่นี้ ได้แก่   ตำแหน่งเปอร์เซ็นไทล์ (Percentile : P) ตำแหน่งเปอร์เซ็นไทล์ หมายถึง ตำแหน่งที่บอกให้ทราบว่ามีข้อมูลอยู่กี่ส่วนจากร้อยส่วนที่มีค่าน้อยกว่าหรือเท่ากับคะแนน ณ ตำแหน่งนั้น เช่น นายยอกสอบได้คะแนนสถิติ 60 คะแนน ซึ่งตรงกับตำแหน่งเปอร์เซ็นไทล์ที่ 70 หมายความว่า…

ชนิดของข้อมูลและตัวแปร

ชนิดของข้อมูล เนื่องจากสถิติบางอย่างไม่สามารถใช้ได้กับข้อมูลทุกชนิด ผู้วิจัยจึงควรทำความรู้จักกับชนิดของข้อมูล โดยชนิดของข้อมูลแบ่งได้เป็น 4 ชนิด ดังนี้ 1. ข้อมูลนามบัญญัติ (Nominal data) เป็นข้อมูลที่แบ่งเป็นกลุ่ม ไม่สามารถนำมาคำนวณได้ เช่น เพศ ชนิดโรงเรียน เป็นต้น 2. ข้อมูลเรียงลำดับ (Ordinal data) เป็นข้อมูลที่นอกจากจะจำแนกเป็นกลุ่มได้แล้ว ยังสามารถนำมาเรียงอันดับได้อีกด้วย ได้แก่ ผลการแข่งขัน ระดับความคิดเห็น เป็นต้น…

สถิติวิจัยทางการศึกษา

สถิติ (Statistics) หมายถึง ระเบียบวิธีการทางสถิติ ซึ่งประกอบด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูล การนำเสนอข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลและการแปลความหมายข้อมูล ชนิดของสถิติ แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้ 1. พรรณนาสถิติ (Descriptive Statistics) เป็นสถิติที่มุ่งศึกษาและอธิบายลักษณะต่างๆ ของกลุ่มประชากรเป้าหมาย โดยทำการรวบรวมข้อมูลต่างๆ จากทุกๆ หน่วยของประชากร และวิเคราะห์ แปลความหมายในกลุ่มประชากรนั้นเท่านั้น 2. อนุมานสถิติ (Inferential Statistics)…

ความเที่ยง (Reliability)

ความเที่ยง (Reliability) คือคุณสมบัติของเครื่องมือที่วัดได้ตรงกับความเป็นจริง สามารถวัดได้โดย 1. การวัดความคงที่ (Measure of stability) วิธีนี้ใช้วัดซ้ำโดยให้ผู้สอบกลุ่มเดียวกันสอบข้อสอบชุดเดียวกันสองครั้ง โดยเว้นระยะห่างสองถึงสามสัปดาห์ มีข้อจำกัด คือ ต้องรอเว้นระยะเวลาในการสอบ ซึ่งผู้สอบอาจจะมีโอกาสฝึกหัดเรียนรู้เพิ่มเติม 2. การวัดความเท่ากัน (Measure of equivalence) ใช้ข้อสอบคู่ขนาน วัดกลุ่มเดียวกัน เวลาใกล้เคียงกัน วัดเรื่องเดียวกัน มีความยากง่ายเท่ากัน แต่มีปัญหาคือ สร้างข้อสอบคู่ขนานที่แท้จริงได้ยาก…

ความตรง (Validity)

ความตรง คือ คุณสมบัติของเครื่องมือที่สามารถวัดได้ในสิ่งที่ต้องการวัด ตามวัตถุประสงค์และสถานการณ์ที่กำหนดไว้ 1. ความตรงตามเนื้อหา (Content validity) หมายถึง คุณสมบัติของเครื่องมือที่ใช้วัดเนื้อหาได้ครบตามขอบเขตที่กำหนดไว้ การพิจารณาว่าเครื่องมือมีความตรงตามเนื้อหามากน้อยเพียงใดนั้น พิจารณาจากเครื่องมือว่าครอบคลุมเนื้อหาต่างๆ ที่ต้องการวัดครบถ้วนเพียงใด ซึ่งการพิจารณาความตรงของแบบทดสอบนั้นอาจจะอาศัยตารางวิเคราะห์หลักสูตรเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา 2. ความตรงตามสภาพ (Concurrent validity) หมายถึงคุณสมบัติของเครื่องมือที่สามารถวัดพฤติกรรมต่างๆ ได้สอดคล้องกับพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจริงในระยะเวลาเดียวกัน เช่น นักเรียน ม.4 ทำแบบทดสอบที่ครูสร้างขึ้น ได้ผลการทดสอบสอดคล้องกับการทำแบบทดสอบมาตรฐานวิชาเดียวกัน แสดงว่าแบบสอบที่ครูสร้างขึ้นมีความตรงตามสภาพ 3….

เทคนิคการสุ่มตัวอย่าง

ก่อนที่จะรู้จักเทคนิคการสุ่มตัวอย่าง เราควรจะทำความเข้าใจกับคำสองคำที่สำคัญก่อนครับ ก็คือคำว่า กลุ่มประกรเป้าหมาย และกลุ่มตัวอย่าง ดังนี้ กลุ่มประชากรเป้าหมาย (Target population) หมายถึง กลุ่มของสิ่งต่างๆ ทั้งหมดที่ผู้วิจัยสนใจ กลุ่มตัวอย่าง (Sample) หมายถึง กลุ่มของสิ่งต่างๆ ที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มประชากรที่ผู้วิจัยสนใจ เทคนิคการสุ่มตัวอย่าง นั้นแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้ 1. การสุ่มที่ไม่คำนึงถึงความน่าจะเป็นในการสุ่ม (Non-probability sampling) เป็นการสุ่มที่ขึ้นอยู่กับการควบคุมหรือตัดสินใจของผู้วิจัย…

การวิจัยทางการศึกษา

การวิจัย หมายถึง กระบวนการเสาะแสวงหาความรู้ใหม่ๆหรือกระบวนการเสาะแสวงหาความรู้เพื่อตอบปัญหาที่มีอยู่อย่างมีระบบและมีวัตถุประสงค์ที่แน่นอน โดยอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ การวิจัย หมายถึง กระบวนการเสาะแสวงหาความรู้ใหม่ๆ หรือกระบวนการเสาะแสวงหาความรู้เพื่อตอบปัญหาทางการศึกษาที่มีอยู่อย่างมีีระบบและมี วัตถุประสงค์ที่แน่นอน โดยอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ข้อจำกัดของการวิจัยทางการศึกษา ความซับซ้อนของเนื้อหาที่ศึกษา เพราะปัญหาที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์มีตัวแปรมาเกี่ยวข้องมากมาย ความยากในการรวบรวมข้อมูล เพราะเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของมนุษย์ ความยากในการทำซ้ำ ไม่เหมือนกันการทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่ทำซ้ำแล้วค่าที่ได้ก็ยังใกล้เคียงกับค่าเดิม ปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักวิจัยกับกลุ่มตัวอย่างมีผลกระทบต่อผลการวิจัย ยากในการควบคุมตัวแปรเกิน เครื่องมือมีความแม่นยำและเชื่อถือได้น้อยกว่าเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ การพิจารณาประสิทธิภาพของการวิจัยในแง่ของความตรง ความตรงภายใน (Internal validity) การวิจัยที่มีความตรงภายในสูง หมายถึง การวิจัยที่ไม่มีตัวแปรเกินแทรกซ้อน…