python วันละข้อ || ภาษีพัฒนาชาติ
วันนี้เรามาเขียนโปรแกรมภาษาไพทอนเพื่อแก้ปัญหากันต่อนะครับ การแก้ปัญหานี้เป็นแบบลำดับ เหมือนครั้งที่ผ่านมา หรือถ้าจำคำสั่งไม่ได้ ก็สามารถไปดูตัวอย่างโค้ดแบบเติมคำตอบในโพสก่อนหน้านี้ได้ครับ
โจทย์ในวันนี้ก็คือ พนังงานบริษัทแห่งหนึ่งมีรายได้ที่เป็นเงินเดือน m บาท นอกจากนี้หากมีการทำโอทีก็จะได้รับเงินพิเศษเพิ่มชั่วโมงละ 150 บาท โดยเมื่อถึงวันสิ้นเดือนพนักงานจะต้องเสียภาษี ณ ที่จ่าย 8%
python วันละข้อ || แบ่งมรดก
ปัญหาการแบ่งมรดกมักจะมีมาทุกยุคทุกสมัยครับ และวันนี้ปัญหาเหล่านี้ก็มาถึงโจทย์โปรแกรมแล้ว เราลองมาดูซิว่าจะแก้ปัญหาการแบ่งมรดกให้บ้านนี้อย่างไรดีครับ
python วันละข้อ || ค่าเรียนพิเศษคณิตศาสตร์
วันนี้มาฝึกเรียนโปรแกรมภาษาไพทอนด้วยตนเองกันนะครับ ด้วยโจทย์เรื่อง “ค่าเรียนพิเศษคณิตศาสตร์”
โจทย์นี้เป็นการฝึกวิเคราะห์ Input -> Process -> Output เบื้องต้น ให้รู้จักการนำเข้าข้อมูล การประมวลผลอย่างง่าย และการแสดงผลครับ
python วันละข้อ || อัตราการเต้นของหัวใจ
โจทย์ไพทอนวันนี้ เรามาประยุกต์เรื่องอัตราการเต้นของหัวใจกับการเขียนโปรแกรมกันครับ ด้วยโจทย์อัตราการเต้นของหัวใจ โดยโจทย์มีอยู่ว่า…
ในการออกกำลังกายเพื่อลดไขมันควรจะมีอัตราการเต้นของหัวใจอยู่ในช่วง Zone2 คือ 60% – 70% ของ mhr (Maximum Heart rate) โดยหา mhr จะมีค่าเท่ากับ 220 – อายุปัจจุบัน
python วันละข้อ || ค่าจ้างตัดหญ้า
โจทย์ python วันนี้เป็นโจทย์ง่าย ๆ เพื่อให้เข้าใจโครงสร้างการทำงานแบบลำดับ การรับค่า การประมวลผล และแสดงผล ด้วยโจทย์คำนวณค่าจ้างตัดหญ้าครับ ลองมาทำกันได้เลย
Google Slide: python loop (for and while)
การทำงานของคอมพิวเตอร์อีกรูปแบบนึง ก็คือการทำงานซ้ำครับ ซึ่งเราจะเห็นได้จากอุปกรณ์หรือระบบรอบ ๆ ตัวเรา มักจะมีการทำงานซ้ำ ๆ อยู่เสมอ เช่น ลิฟต์เมื่อทำงานก็ต้องมีการตรวจสอบน้ำหนักรวมเวลาคนเข้าลิฟต์ตลอดเวลาว่าเกินกำหนดหรือไม่ เครื่องวัดอุณหภูมิต้องทำการตรวจสอบตลอดเวลาว่ามีวัตถุอยู่ในระยะที่จะทำการวัดอุณหมิหรือไม่ ดังนั้น การทำงานแบบทำซ้ำหรือวนซ้ำจึงเกิดขึ้นได้เสมอรอบ ๆ ตัวเราครับ
การตัดสินใจ – โปรแกรมแบบทางเลือก (if-else)
ระบบคอมพิวเตอร์มีการทำงานอย่างเป็นลำดับขั้นตอนที่เรียกว่า sequential ซึ่งบางครั้งโปรแกรมอาจจะต้องตัดสินใจเลือกดำเนินการทางใดทางหนึ่ง การตัดสินใจนี้ทำให้คอมพิวเตอร์มีความสามารถและถูกทำไปใช้ในการทำงานที่หลากหลาย เพื่ออำนวยความสะดวกต่าง ๆ ให้กับเราในชีวิตประจำวันครับ โดยการพัฒนาเป็นระบบต่าง ๆ เช่น ระบบกดเจลอัตโนมัติ ระบบประตูอัตโนมัติ เครื่องรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติ เป็นต้น
พื้นฐานการเขียนโปรแกรมภาษาไพทอน (แสดงผล รับค่า และโปรแกรมคำนวณอย่างง่าย)
คลิปวิดีโอต่อไปนี้นักเรียนจะได้เรียนรู้พื้นฐานการเขียนโปรแกรมภาษาไพทอน ได้แก่ การแสดงผล การรับค่า และการเขียนโปรแกรมคำนวณอย่างง่าย) โดยใช้ฟังก์ชัน print input และการเขียนโปรแกรมคำนวณ BMI เบื้องต้นครับ
คลิปสรุปการเขียนโปรแกรมภาษาไพทอนด้วยโมดูล Turtle (Python Turtle)
สำหรับคลิปนี้เป็นการสรุปการเขียนโปรแกรมภาษาไพทอน โดยใช้โมดูลเต่า (Turtle) ครับ หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์สำหรับทุกคนนะครับ
ถ้าชอบ ถ้าเห็นว่ามีประโยชน์ ฝากติดตามช่อง Youtube ด้วยนะคร๊าบบบ
เอกสาร python มัธยม: ตอนที่ 5 ตัวดำเนินการและฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์
เอกสารประกอบการเรียน วิชาวิทยาการคำนวณ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ตอนที่ 5 ตัวดำเนินการและฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์
ในครั้งนี้เราจะมาเรียนรู้เรื่องของตัวดำเนินการกันครับ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องนำไปใช้ในการพัฒนาโปรแกรมทุกภาษาแน่นอน พร้อมทั้งเรื่องฟังก์ชัน โดยในคร้งนี้เราจะมาดูฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ที่ภาษาไพทอนเตรียมไว้ให้ครับ ตามเอกสารที่แนบมานี้เลย