ข้อสอบกลางภาค: ไพทอน (ค่าไฟในบ้านของฉัน)

#ข้อสอบไพทอน #สอบกลางภาค ข้อที่ 1
โจทย์ข้อแรกเป็นข้อให้กำลังใจนักเรียนครับ นักเรียนทำได้แล้วจะได้มีกำลังใจในการทำข้อต่อไป
ข้อนี้เป็นโจทย์หาค่าไฟนั่นเอง เอาแบบง่าย ๆ เลย มีเครื่องใช้ไฟฟ้าแค่ 3 เครื่อง ใช้วันละ 8 ชั่วโมง ให้คิดว่าเดือนนึงจะเสียค่าไฟกี่บาท

python วันละข้อ || รับเลขจำนวนเต็ม n จำนวนแล้วหาค่าเฉลี่ย

จากครั้งที่ผ่านมาเราทดลองเขียนโปรแกรมรับเลขจำนวนเต็ม 5 จำนวนแล้วหาค่าเฉลี่ย ในครั้งนี้เรามาลองเขียนโปรแกรมให้รับเลข n จำนวน (ไม่ระบุจำนวน) แล้วหาค่าเฉลี่ยดูนะครับ ว่าจะทำอย่างไรดี ทำได้หรือเปล่า

python วันละข้อ || รับเลขจำนวนเต็ม 5 จำนวนแล้วหาค่าเฉลี่ย

ในตอนนี้เรายังอยู่กันที่การเขียนโปรแกรมที่มีการทำงานซ้ำครับ และโจทย์ในวันนี้ก็คือ

Title: รับเลขจำนวนเต็ม 5 จำนวนแล้วหาค่าเฉลี่ย
ให้นักเรียนเขียนโปรแกรมรับเลขจำนวนเต็ม 5 จำนวน แล้วหาค่าเฉลี่ย (ทศนิยม 2 ตำแหน่ง)

python วันละข้อ || แสดงชื่อ n ครั้ง

โจทย์ครั้งนี้เรายังอยู่กันที่การทำงานซ้ำ โดยการใช้คำสั่ง for() ครับ แต่ประยุกต์เพิ่มเติมจากครั้งที่ผ่านมานิดนึง คือให้ทำงานซ้ำตามจำนวน n รอบ ที่ระบุหรือป้อนเข้าไปในโปรแกรม เราไปลองทำกันเลยดีกว่าครับ

ไพทอนวันละข้อ || แสดงชื่อ 100 รอบ

บทเรียนต่อไปนี้ อยากให้ทุกคนมาเรียนรู้การเขียนโปรแกรมให้สามารถทำงานซ้ำได้ครับ ด้วยการใช้คำสั่ง for() การทำงานของระบบรอบ ๆ ตัวเราในทุกวันนี้มักจะมีการทำงานซ้ำ ๆ กันอยู่เสมอครับ เช่น การสั่งให้ถังเครื่องซักผ้าหมุนกลับไปกลับมา การสั่งให้หุ่นยนต์เดินหน้าไปเรื่อย ๆ หรือการตรวจสอบการชนเมื่อเราเข้าเกียร์ถอยหลังรถยนต์ 

python วันละข้อ || สามเหลี่ยมมุมฉากหรือเปล่านะ?

หลังจากที่เราได้ลองเขียนโปรแกรมที่มีการตัดสินใจตามเงื่อนไขที่กำหนด โดยการใช้คำสั่ง if-else แบบเติมคำในช่องว่างไปแล้ว ทุกคนน่าจะพอเห็นภาพและแนวทางการใช้คำสั่ง if-else บ้างแล้ว อย่างนั้นเรามาลองทำโจทย์ข้อนี้ด้วยการเขียนโปรแกรมเองทั้งหมดกันเลยครับ

python วันละข้อ || จำนวนเต็มประเภทใด

เรามาทบทวนการเขียนโปรแกรมแบบทางเลือก ให้โปรแกรมตัดสินใจตามรูปแบบที่กำหนดกันอีกครั้งนะครับ โดยครั้งนี้จะเป็นโจทย์แบบเติมคำตอบ ซึ่งเป็นโปรแกรมตรวจสอบเลขจำนวนเต็มที่รับเข้าสู่โปรแกรมว่าเป็นจำนวนเต็มประเภทใด (จำนวนเต็มบวก, จำนวนเต็มลบ, ศูนย์)

python วันละข้อ || โปรแกรมตัดเกรด (ตรวจสอบข้อผิดพลาด)

การทำงานใด ๆ มักจะมีขอบเขตการดำเนินการจำกัด และเพื่อให้ระบบการทำงานนั้น ๆ ทำงานได้ถูกต้อง ก็ควรจะมีการตรวจสอบข้อมูลก่อนนำไปประมวลผลว่าอยู่ในรูปแบบที่ถูกต้องหรือไม่

โปรแกรมตัดเกรดก็เช่นกันครับ สมมติว่าวิชาคอมพิวเตอร์ มีการเก็บคะแนนเป็น 3 ส่วน คือ คะแนนเก็บ 50 คะแนน คะแนนกลางภาค 20 คะแนน และคะแนนปลายภาค 30 คะแนน

python วันละข้อ || ตัดเกรด(แบบง่าย) เรียนรู้การตัดสินใจด้วย if-else

หลังจากที่เขียนโปรแกรมคำนวณอย่างง่าย หรือการเขียนโปรแกรมแบบลำดับมาสักพักนึงแล้ว เรามาลองเขียนโปรแกรมที่มีการตัดสินใจบ้างครับ เพราะการทำงานของคอมพิวเตอร์นอกจากจะทำงานแบบลำดับแล้ว บางครั้งก็ต้องมีการตัดสินใจด้วย

อาจจะมองดูรอบ ๆ ตัวเราก็ได้ ทุก ๆ อุปกรณ์หรือการทำงานในแต่ละขั้นตอนในชีวิตประจำวัน มักจะมีการตัดสินใจอยู่เสมอ และถ้าเราจะสั่งให้คอมพิวเตอร์ตัดสินใจบ้างล่ะ จะทำอย่างไร เช่น ถ้าเริ่มมืดให้ไฟเปิดอัตโนมัติ แบบนี้เป็นต้น หรือเมื่อนำมือไปใกล้ ๆ ให้อุปกรณ์นั้นทำการวัดอุณหภูมิ 

python วันละข้อ || แบ่งมรดก

ปัญหาการแบ่งมรดกมักจะมีมาทุกยุคทุกสมัยครับ และวันนี้ปัญหาเหล่านี้ก็มาถึงโจทย์โปรแกรมแล้ว เราลองมาดูซิว่าจะแก้ปัญหาการแบ่งมรดกให้บ้านนี้อย่างไรดีครับ