[ESP32 – Microblock] ตอนที่ 2 Line Notify แจ้งเตือนอุณหภูมิสูงเกินกว่าที่กำหนดไว้

ตัวอย่างการพัฒนาระบบแจ้งเตือน Line Notify ด้วย Microblock ครับ
ตัวอย่างนี้ผมลองใช้ DHT22 ซึ่งเป็นโมดูลวัดอุณหภูมิและความชื้นในอากาศ
การเชื่อมต่อ ขาบวกต่อเข้ากับ 3V, ขาลบต่อเข้ากับ GND และ OUT ต่อกับ GPIO4 หรือ pin D4 ของบอร์ด ESP32 ครับ
จากนั้นเข้าเว็บ Line Nofity แล้ว Login ด้วย account Line ไปสร้าง Token มาครับ แล้วก็มาเขียนคำสั่งตามนี้ได้เลย ลองเล่นดูครับ ผมว่า Microblock ใช้ง่าย อัปโหลดคำสั่งไวดี
แนวคิดเชิงคำนวณเอามาช่วยแก้ปัญหานี้ได้อย่างไร
สำหรับนักเรียนหรือคุณครูที่ยังเริ่มไม่ถูก ไม่รู้จะทำอะไรก่อน เรามาลองใช้แนวคิดเชิงคำนวณช่วยแก้ปัญหากันครับ
ขั้นแรกเรามาวิเคราะห์กันก่อนว่าปัญหาที่เราจะทำคืออะไร ถ้าปัญหานี้คือการพัฒนาระบบแจ้งเตือนอุณหภูมิสูงเกินกำหนดผ่านไลน์แอปฯ แสดงว่านี่คือปัญหาใหญ่ของเราครับ
ซึ่งถ้าจะแก้ปัญหาให้ง่ายก็น่าจะต้องทำปัญหาใหญ่ให้เล็กลง ด้วยการวิเคราะห์ดูว่าสิ่งที่เราจะต้องทำหรือฟังก์ชันการทำงานของระบบนี้มีอะไรบ้าง ถ้าเริ่มจาก 0 ก็น่าจะเริ่มจาก
1) อุปกรณ์ที่ต้องใช้มีอะไรบ้าง (เราก็ไปเข้า google/chatgpt เลยครับ ว่าระบบนี้ใช้อุปกรณ์อะไร ก็น่าจะได้คำตอบว่าต้องมี mcu และ mcu จะต้องต่อ wifi ได้ มีเซ็นเซอร์ ใช่ไหมครับ เราก็ไปหาอุปกรณ์กันเลย ซึ่งจะน่าจะได้บอร์ดพวก Kidbright / ESP32 / ESP8266 / Arduino WiFi ประมาณนี้ และจะเขียนโปรแกรมด้วยอะไรที่ง่ายสำหรับเรา ก็อาจจะได้คำตอบได้แก่ Arduino IDE / Microblock เป็นต้น
2) เมื่อได้อุปกรณ์มาแล้วต้องทำอย่างไรดี เราก็ต้องเริ่มหัดใช้มันให้เป็นครับ เริ่มจากวิเคราะห์ปัญหาย่อยทีละส่วน ถ้าบอร์ดที่ได้มาคือ ESP32 เราจะเริ่มต้นใช้งานได้อย่างไร เริ่มทดลองใช้งานเบื้องต้นโดยไม่ต่ออุปกรณ์ใด ๆ พอได้แล้วก็แก้ปัญหาต่อไปคือจะอ่านค่าจากเซ็นเซอร์อย่างไร อ่านค่าได้แล้วก็แก้ปัญหาต่อไปคือจะแจ้งเตือนผ่านไลน์อย่างไร
3) ปัญหาย่อยเหล่านี้ก็ต้องใช้การคิดหารูปแบบช่วยแก้ปัญหาครับ อาจจะมาจากองค์ความรู้ที่เรามีอยู่แล้ว เคยเรียนมาบ้างแล้ว หรือไปค้นหาจาก youtube google อะไรประมาณนั้น เราก็จะได้ pattern ของการแก้ปัญหา
4) abstraction ใช้ไหม จริงๆ ก็ใช้อยู่ตลอดนะครับ เพราะการพัฒนาระบบนี้ เราก็ต้องคำนึงถึงการทำระบบหลักให้สำเร็จ และอย่าไปเอาเรื่องอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องมาทำให้เป็นปัญหาครับ เช่น เราคงไม่ไปคำถึงถึงว่านะออกแบบหน้าตากล่องวงจรนี้อย่างไร โดยที่วงจรยังใช้งานไม่ได้ ใช่ไหมครับ
5) และ algorithm ที่เราใช้แก้ปัญหาแต่ละส่วนที่เกิดจากการไปค้นคว้า รวบรวม และนำมาออกแบบเป็นชุดความคิด (น้อยคนที่จะเขียนผังงาน) ซึ่งจะไปสู่การเขียนโปรแกรมของเรานั่นเองครับ
….
นี่ก็เป็นตัวอย่างการใช้แนวคิดเชิงคำนวณในการแก้ปัญหาครับ ผมอาจจะเล่าดูง่าย แต่อยากให้ทุกท่านรู้ว่า ระบบที่ผมทำให้ดูนี้ผมก็ใช้แนวคิดเชิงคำนวณที่กล่าวมาช่วยแก้ปัญหาครับ แต่ก็โชคดีที่ผมยังมี pattern อยู่ในหัวบ้าง บางขั้นตอนก็เลยง่ายครับ
ดูตัวอย่างคลิปสาธิตและแนะนำได้ที่นี่ครับ https://www.youtube.com/watch?v=tGgCccedHkI

Related Posts

เอกสารประกอบการเรียน “การคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking)”

เฉลยข้อสอบพร้อมแนวคิด สอวน.คอมพิวเตอร์ ปี 2567 วิทยาการคำนวณ ข้อ 56 – 60

เฉลยข้อสอบ พร้อมแนวคิด สอวน. สาขาคอมพิวเตอร์ ปีการศึกษา 2567 เพื่อคัดเลือกเข้าค่าย 1 ตอนที่ 1.2 วิทยาการคำนวณ ข้อที่ 56 – 60

เฉลยข้อสอบพร้อมแนวคิด สอวน.คอมพิวเตอร์ ปี 2567 วิทยาการคำนวณ ข้อ 51 – 55

เฉลยข้อสอบ พร้อมแนวคิด สอวน. สาขาคอมพิวเตอร์ ปีการศึกษา 2567 เพื่อคัดเลือกเข้าค่าย 1 ตอนที่ 1.2 วิทยาการคำนวณ ข้อที่ 51 – 55

เฉลยข้อสอบพร้อมแนวคิด สอวน.คอมพิวเตอร์ ปี 2567 วิทยาการคำนวณ ข้อ 46-50

เฉลยข้อสอบ พร้อมแนวคิด สอวน. สาขาคอมพิวเตอร์ ปีการศึกษา 2567 เพื่อคัดเลือกเข้าค่าย 1 ตอนที่ 1.2 วิทยาการคำนวณ ข้อที่ 46 – 50

เฉลยข้อสอบพร้อมแนวคิด สอวน.คอมพิวเตอร์ ปี 2567 วิทยาการคำนวณ ข้อ 43-45

เฉลยข้อสอบ พร้อมแนวคิด สอวน. สาขาคอมพิวเตอร์ ปีการศึกษา 2567 เพื่อคัดเลือกเข้าค่าย 1 ตอนที่ 1.2 วิทยาการคำนวณ ข้อที่ 43-45

เฉลยข้อสอบพร้อมแนวคิด สอวน.คอมพิวเตอร์ ปี 2567 วิทยาการคำนวณ ข้อ 41-42

เฉลยข้อสอบ พร้อมแนวคิด สอวน. สาขาคอมพิวเตอร์ ปีการศึกษา 2567 เพื่อคัดเลือกเข้าค่าย 1 ตอนที่ 1.2 วิทยาการคำนวณ ข้อที่ 41-42

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.