หากเราผ่านการเลือกตั้งมามากกว่า 3 – 4 ครั้ง เราจะพบว่า เมื่อมีพรรคการเมืองใดเป็นฝ่ายชนะ ก็จะเริ่มหาพรรคพวก ในกรณีที่เสียง สส. ยังไม่เพียงพอ หรือกว่าจะได้รับการรับรอง ก็นานเป็นเดือน แล้วจึงจะเริ่มทำงานตามนโยบายที่หาไว้กันใช่ไหมครับ
แต่ในยุคนี้ (พ.ศ. 2566) การเลือกตั้ง 2566 แปลกไปจากครั้งก่อน ๆ เพราะสื่อสังคมออนไลน์เติมโตมาก นักการเมืองในพรรคที่ได้ สส. เยอะ ก็เป็นคนรุ่นใหม่เป็นส่วนใหญ่ (พรรคก้าวไกล) จึงเริ่มสื่อสารกับประชาชน เริ่มวางแผน และบางส่วนก็เริ่มทำงานกันแล้ว โดยที่ยังไม่ได้รับการรับรองจาก กกต. เลย
และในยุคนี้อย่างที่เล่าไปในโพสก่อนหน้า ต้องใช้เสียง สว. 250 มาตัดสินอีก ก็ไม่รู้ว่าจะไหร่จะนายก หรืออาจจะไม่ได้พรรคนี้ก็ไม่รู้ (ณ วันนี้ยังไม่ชัดเจน)
แต่ฝ่ายที่ชนะการเลือกตั้ง (พรรคก้าวไกล) เริ่มทำงานกันแล้วครับ แล้วเห็นได้อย่างไร ก็เห็นจากสื่อสังคมออนไลน์ โซเซี่ยลมีเดียนี่แหละครับ เพราะเริ่มการรวมกลุ่มให้ประชาชนที่มีความสามารด้านต่าง ๆ เข้ามาเสนอแนวทาง หรือเล่าปัญหาสังคม
ยกตัวอย่างเช่น สส.ก้าวไกล ตั้งกลุ่ม discord ก้าว Geek (https://discord.gg/kaogeek) ขึ้นเพื่อขอความร่วมมือและคำแนะนำในการพัฒนาระบบติดตามนโยบาย แต่ปรากฎว่าได้รับความร่วมมือและนำเสนอข้อคิดเห็นต่าง ๆ มากมายไปกว่านั้น
บางเรื่องอาจจะดูนอกเรื่องจากที่ตั้งใจ แต่ทุกเรื่องก็เป็นเรื่องสำคัญที่สามารถทำให้สังคมไทยเราดีขึ้นครับ เช่น การพูดถึง cyber-security ของประเทศไทยเรา การใช้ general-id หรือเลขบัตรประชาชนหรือบัตรประชาชนของเราในการติดต่อราชการ เป็นต้น
ซึ่งก็ได้แนวคิดและแนวทางหลากหลายมากมาย แต่ที่แน่ๆ ได้รับความร่วมมือจากประชาชนอย่างแท้จริง และคนที่เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาหรือทำงานใด ๆ ก็ดูเหมือนว่าจะเป็นคนที่มีความสามารถด้านนั้นจริง ๆ ครับ นี่คือสิ่งที่ควรจะเป็น มากกว่าการให้ใครก็ไม่รู้ มีความสามารถคนละด้านมาทำงานเป็นเจ้ากระทรวง โดยที่มีความสามารถไม่ตรงสายงาน ซึ่งเราก็พบเห็นมากันทุกยุคทุกสมัยใช่ไหมครับ
นโยบายต่าง ๆ จะประสบความสำเร็จ จะได้ทำมากน้อยแค่ไหนก็ไม่รู้่ เดี๋ยวเราค่อยมาเล่ากันต่อ แต่สิ่งที่เห็นคือจุดเริ่มต้นที่ดีที่ให้ความสำคัญกับนโยบายที่กล่าวไว้ และให้ประชาชนที่เลือกเข้าไปได้มีส่วนร่วมในการทำงานครับ
เราค่อยมาติดตามกันต่อใน ep หน้านะครับ เรื่องการเลือกตั้ง 66 นี้ ท่าจะเป็นหนังประวัติศาสตร์กันเลยทีเดียว