“วิทยาการคำนวณ…ทำไมเด็กไทยต้องเรียน?” งาน EduDigital 2018

ได้มีโอกาศร่วมงานและบรรยายในหัวข้อ “วิทยาการคำนวณ…ทำไมเด็กไทยต้องเรียน?” ในงาน EduDigital 2018 ณ จังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นงานใหญ่งานหนึ่งของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ที่ต้องการยกระดับการจัดการศึกษาโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และแสดงนิทรรศการ นวัตกรรมการจัดการศึกษาของหน่วยงานต่างๆ ที่โรงเรียนในพื้นที่หรือผู้ที่สนใจสามารถเข้ามาศึกษา ดูงาน และเรียนรู้ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์หรือปรับการจัดการเรียนการสอน

การได้รับเกียรติให้มาบรรยายในครั้งนี้ถือได้ว่าเป็นโอกาสที่ดีที่จะเผยแพร่หรือตอบปัญหาข้อสงสัยของครูหลายๆ ท่านว่าเราทำไมต้องเปลี่ยนหลักสูตร และหลักสูตรใหม่ (วิชาวิทยาการคำนวณ) มีความสำคัญอย่างไรต่อเด็กไทยและการพัฒนาประเทศให้เข้าสู่ Thailand 4.0

Related Posts

เอกสารประกอบการอบรมการสร้างสื่อการเรียนการสอนด้วยนวัตกรรม สมัยใหม่ (AI, Online Tools)

เอกสารประกอบการอบรม (AI และ Online Tools) สำหรับพัฒนาสื่อการเรียนการสอน ✅ Presentation: AI & Online Tools – 2024 โดย ณัฐพล บัวอุไร   ตัวอย่างคำสั่ง Prompt for ChatGPT 

Upskill : รู้ทัน AI เพื่อยกระดับการจัดการเรียนรู้อย่างเท่าทันเทคโนโลยี

ถึงเวลาแล้วที่ครูจะต้องรู้ทันเทคโนโลยีครับ แม้ว่าเราจะไม่ได้ใช้มันอย่างเต็มที่ แต่การรู้เท่าทันก็จะทำให้ครูปรับตัวตามการเรียนรู้ของนักเรียนได้ครับ เพราะทุกครั้งที่คุณครูมอบหมายงานทุกวันนี้ เด็กๆ ก็อาจจะใช้ AI ช่วยในการทำงานแล้วก็ได้ ดังนั้นการรู้เท่าทันหรือนำ AI ไปปรับใช้ได้ก็จะเป็นประโยชน์ต่อการสอนแน่นอนครับ เอกสารที่ผมใช้ในการบรรยายเรื่อง Upskill : รู้ทัน AI เพื่อยกระดับการจัดการเรียนรู้อย่างเท่าทันเทคโนโลยี ของโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต มีดังนี้ครับ อบรม AI โดย ณัฐพล บัวอุไร

การอบรมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนาระบบอัตโนมัติและ IoT ด้วยบอร์ด ESP32 โรงเรียนรัตนาธิเบศร์”

สำหรับวันนี้…ได้รับเกียรติจากเพื่อนครู คณะครู และคณะผู้บริหารของโรงเรียนรัตนาธิเบศร์ ให้ไปจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนาระบบอัตโนมัติและ IoT ด้วยบอร์ด ESP32” ครับ … ซึ่งก็รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่ง เพราะจะได้สอนเกี่ยวกับเทคโนโลยีและการพัฒนาระบบอัตโนมัติให้กับนักเรียนกลุ่มนี้ ซึ่งก็คือนักเรียนห้องเรียนพิเศษ ม.1 และ ม.4 ครับ … แม้ว่าจะมีน้อง ม.1 เข้าร่วมกิจกรรมการอบรมเขียนโปรแกรมครั้งนี้ด้วย แต่ก็ต้องบอกว่าสามารถเรียนรู้และปฏิบัติได้ไม่แพ้พี่ ม.4 เลยทีเดียว … วันนี้ผมก็เลยขอนำเอกสารการอบรมมาเผยแพร่ให้ผู้ที่สนใจได้นำไปปรับใช้หรือนำไปใช้สอนนักเรียนครับ ตามลิงก์ที่ให้ไว้นี้เลย…

ค่ายโอลิมปิกวิชาการ สาขาคอมพิวเตอร์ ค่ายที่ 1 ปี 2566 ศูนย์โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย

สวัสดีครับ ผมครูโจ๊กเอง ปีนี้เป็นอีกปีหนึ่งที่ได้รับโอกาสให้ไปสอนนักเรียนในค่ายโอลิมปิกวิชาการ สาขาคอมพิวเตอร์ ของศูนย์โรงเรียนสามเสนวิทยาลัยครับ ปีนี้รับผิดชอบสอนในหัวข้อ Pointer และ Function ครับ 

และปีนี้ก็เจอนักเรียนเก่ง ๆ เช่นเคย โดยเฉพาะนักเรียน ม.1 ที่สอบเข้าค่ายนี้ได้ แสดงว่าคณิตศาสตร์ของน้องไม่ธรรมดาแน่นอน และไม่เพียงเท่านั้น ภาษาซีของน้องก็ยังไม่ธรรมดาด้วย เรียกว่ามาเข้าค่าย 1 ยังไม่ทันได้เริ่มเรียน ก็มีความรู้ของค่าย 1 นี้ครบแล้ว ทำไมผมถึงบอกได้แบบนั้น เพราะผมนั่งฟังคุณครูท่านอื่นสอน รวมทั้งผมสอนเอง น้องคนนี้แสดงความคิดเห็นและตอบคำถามตลอดเลย รวมทั้งเวลาให้ออกมาเขียนโปรแกรมก็เขียนได้อย่างถูกต้อง แม่นยำครับ 

การอบรมเชิงปฏิบัติการนักเรียนทุน พสวท. โปรแกรมเสริม (อิเล็กทรอนิกส์และระบบอัตโนมัติ)

วันที่ 22 – 23 ก.ค. 2566 รับหน้าที่เป็นวิทยากรการอบรมเชิงปฏิบัติการสำหรับนักเรียน ม.4 (ทุน พสวท.) ปีการศึกษา 2566 รายวิชาโปรแกรมเสริม (เทคโนโลยี : อิเล็กทรอนิกส์และระบบอัตโนมัติ) ซึ่งเป็นการแนะนำระบบอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้นและการเขียนโปรแกรมควบคุมสมองกล Arduino UNO รวมทั้งการพัฒนาระบบอัตโนมัติอย่างง่าย เพื่อให้นักเรียนมีพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติ

การอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาทักษะและความรู้ในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการปฏิบัติการ สพม.ปทุมธานี

วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 ได้รับเกียรติให้ไปเป็นวิทยากรอบรมเชิงปฏฺบัติการ การพัฒนาทักษะและความรู้การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการปฏิบัติงาน ให้กับบุคลากรของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.