IPv4 และ IPv6 คืออะไร

เมื่อเราเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้งานอินเทอร์เน็ต คงจะเคยเห็นตัวเลขแปลกๆ เช่น 127.0.0.1 หรือ 192.168.1.1 หรือจำนวนอื่นๆ ตัวเลขเหล่านี้คืออะไรกัน

ตัวเลขเหล่านี้คือหมายเลข IP ประจำเครื่องครับ โดย IP ก็ย่อมาจากคำว่า Internet Protocol หน้าที่ของเจ้าเลขพวกนี้ก็คือ เป็นหลายเลขที่ใช้ในระบบเครือข่าย เป็นหมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา ในกรณีที่เราเชื่อมต่อกับระบบเครือข่าย ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น โทรศัพท์มือถือทุกเครื่องก็จะมีเลขหมายหรือเบอร์โทรศัพท์เพื่อบอกว่าถ้าจะติดต่อเครื่องนี้ให้โทรมาที่เบอร์นี้นะ เช่นเดียวกันครับ คอมพิวเตอร์ก็มีเลขหมายหรือพูดง่ายก็คือชื่อมันนั่นเอง เพือให้เครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ต่างๆ บนระบบเครือข่ายรู้จักกัน

จากหมายเลข IP ที่ยกตัวอย่างไปด้านบน เราเรียกว่า IPv4 ครับ โดยจะเป็นหมายเลขที่มีทั้งหมด 32 บิต (แต่ละช่วงเว้นวรรคด้วย . ) แบ่งเป็นช่วงละ 8 บิต โดยตัวเลข 8 นี้ก็จะมีค่าตั้งแต่ 0 – 255 ครับ ดังนั้น IPv4 จึงมีหมายเลขได้ตั่งแต่ 0.0.0.0 ถึง 255.255.255.255 แต่ก็ใช่ว่าทุกตัวจะใช้ได้หมดนะครับ เพราะจะมีบางหมายเลขที่ถูกเก็บไว้ใช้งานเฉพาะ

IPv4 ทั้งหมดถูกแบ่งออกเป็น Class ชนิดต่างๆ เพื่อจุดประสงค์ในการใช้งานที่ต่างกันไป ดังนี้ครับ

  1. คลาส A เริ่มตั้งแต่ 1.0.0.1 ถึง 127.255.255.254
  2. คลาส B เริ่มตั้งแต่ 128.0.0.1 ถึง 191.255.255.254
  3. คลาส C เริ่มตั้งแต่ 192.0.1.1 ถึง 223.255.254.254
  4. คลาส D เริ่มตั้งแต่ 224.0.0.0 ถึง 239.255.255.255 ใช้สำหรับงาน multicast
  5. คลาส E เริ่มตั้งแต่ 240.0.0.0 ถึง 255.255.255.254 ถูกสำรองไว้ ยังไม่มีการใช้งาน

สำหรับไอพีในช่วง 127.0.0.0 ถึง 127.255.255.255 ใช้สำหรับการทดสอบระบบ

แต่หมายเลข IP ด้านบนนี้ก็ยังถูกแบ่งออกเป็นอีก 2 ประเภทคือ IP ส่วนตัว (Private IP) และ IP สาธารณะ (Publish IP)

โดย IP ส่วนตัวมีไว้สำหรับใช้งานภายในองค์กรเท่านั้น ได้แก่

  1. ไอพีส่วนตัว คลาส A เริ่มตั้งแต่ 10.0.0.0 ถึง 10.255.255.255 สับเน็ตมาสต์ที่ใช้ได้ เริ่มตั้งแต่ 255.0.0.0 ขึ้นไป
  2. ไอพีส่วนตัว คลาส B เริ่มตั้งแต่ 172.16.0.0 ถึง 172.31.255.255 สับเน็ตมาสต์ที่ใช้ได้ เริ่มตั้งแต่ 255.240.0.0 ขึ้นไป
  3. ไอพีส่วนตัว คลาส C เริ่มตั้งแต่ 192.168.0.0 ถึง 192.168.255.255 สับเน็ตมาสต์ที่ใช้ได้ เริ่มตั้งแต่ 255.255.0.0 ขึ้นไป

ไอพีส่วนตัวข้างต้นถูกกำหนดให้ไม่สามารถนำไปใช้งานในเครือข่ายสาธารณะ (Internet)

ส่วน IP สาธารณะมีไว้สำหรับให้แต่ละองค์กร หรือแต่ละบุคคลใช้ในการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายเข้าหากัน

จากช่วงของ IPv4 ตั้งแต่ 1.1.1.1 ถึง 255.255.255.255 ถ้าคอมพิวเตอร์ 1 เครื่องใช้หนึ่งหมายเลข เช่น เครื่องผมใช้ 1.1.1.1 เครื่องที่สองใช้ 1.1.1.2 เราก็จะประมาณได้ว่าเราจะมีคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงอยู่ในระบบเครือข่ายได้ทั้งหมดประมาณ 232 เครื่องครับ ซึ่งเป็นตัวเลขที่เยอะมาก แต่ก็ยังเยอะไม่พอ เพราะว่า IPv4 ที่แจกจ่ายให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วโลกได้กำลังจะหมดลงไปแล้ว

แล้วเราจะทำอย่างไรดี ถ้าเราซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์มาแล้วไม่มี IP ให้เราใช้ล่ะ วิธีการที่นักคอมพิวเตอร์แก้ไขก็คือการกำหนดหมายเลข IP ใหม่ขึ้นมาครับ โดย IP ใหม่นี้ถูกเรียกว่า IPv6 (Internet Protocol version 6) ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลน IP โดย IPv6 นี้ใช้ระบบเลข 128 บิต ดังนั้นจึงมีจำนวน IP ได้มากสุดถึง 2128 หมายเลขครับ เยอะมากที่จะพอให้มนุษย์บนโลกนี้ใช้ได้ไปอีกนานเลยทีเดียว

ตัวอย่าง IPv6 ก็จะกำหนดในลักษณะดังนี้ครับ 2001:0db8:85a3:0000:0000:8a2e:0370:7334

ข้อมูลเพิ่มเติม IPv6

Related Posts

เอกสารประกอบการอบรมการสร้างสื่อการเรียนการสอนด้วยนวัตกรรม สมัยใหม่ (AI, Online Tools)

เอกสารประกอบการอบรม (AI และ Online Tools) สำหรับพัฒนาสื่อการเรียนการสอน ✅ Presentation: AI & Online Tools – 2024 โดย ณัฐพล บัวอุไร   ตัวอย่างคำสั่ง Prompt for ChatGPT 

[ChatGPT เพื่อการเรียนรู้ EP8] ChatGPT ช่วยคัดลอกเอกสารจากไฟล์ PDF

คลิปนี้เรามาใช้ ChatGPT ช่วยคัดลอกเอกสารจากไฟล์ PDF กันครับ สำหรับบางครั้ง เจ้า GPT นี้ก็อาจจะส่งออกไฟล์ word ให้เราได้ แต่ถ้าเจ้า GPT มีปัญหาไม่สามารถอ่านและส่งออกไฟล์ word ได้จะทำอย่างไร คลิปนี้มีวิธีการทางเลือกอื่นให้คัดเลือกไฟล์ได้เช่นกันครับ

[ChatGPT เพื่อการเรียนรู้ EP7] ผู้ใช้ ChatGPT โปรดระวังข้อมูลที่ได้อาจไม่ถูกต้องเสมอไปและผิดจริยธรรม

ข้อควรระวังของการใช้ ChatGPT ในการสร้าง Content ครับ เช่น การค้นหางานวิจัยและให้ chatGPT เขียนอ้างอิง เพราะเจ้า chatGPT เป็น Generative AI ซึ่งสามารถสร้างเอกสารสมมติขึ้นมาจากองค์ความรู้ในระบบได้ ดังนั้นต้องระวังครับ เพราะอาจทำผิดจริยธรรมได้

[ChatGPT เพื่อการเรียนรู้ EP6] ใช้ ChatGPT ช่วยออกข้อสอบอย่างไรให้ตรงใจเรา

คลิปนี้มาแนะนำทุกคนใช้เจ้า ChatGPT ช่วยออกข้อสอบ อย่างน้อยก็ลดเวลาคุณครูลงได้นิดนึง แต่ก็ไม่ควรนำข้อสอบไปใช้ตรง ๆ นะครับ อ่านดูก่อนว่าเหมาะสม ตรงตามตัวชี้วัดหรือไม่ และควรปรับให้สอดคล้องกับรายวิชา และเนื้อหาที่เราได้สอนนักเรียนไปครับ Prompt: https://drive.google.com/file/d/18jsCzIDlMEzR2KDv-P4iY37zu0bjd4IV/view?usp=sharing

[ChatGPT เพื่อการเรียนรู้ EP5] สรุปองค์ประกอบจากทฤษฎีและสร้าง Rubric Score ด้วย ChatGPT ใน 5 นาที

การสร้าง Rubric Score นับว่าเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาพอสมควร เพราะองค์ประกอบที่ต้องการวัดนั้น ไม่สามารถนั่งคิดเองเออเองได้ ต้องมาจากการสืบค้นงานวิจัยหรือทฤษฎี แล้วสังเคราะห์เป็นองค์ประกอบออกมา แต่วันนี้เราไม่ต้องใช้เวลาขนาดนั้นแล้วครับ เพราะเราจะใช้ AI ช่วยสังเคราะห์องค์ประกอบและสร้าง Rubric ให้เราเลย ภายใน 5 นาที ได้ Rubric Score เพื่อนำไปปรับใช้ได้แน่นอน ตัวอย่าง Prompt: https://docs.google.com/document/d/1e2SU-KBQ-youGAkan7jWDv-kDeIQGo_ePygi8hBmWJ0/edit?usp=sharing  

[ChatGPT เพื่อการเรียนรู้ EP4] สรุปทฤษฎีองค์ความรู้และสร้างโมเดลการสอนด้วย ChatGPT ใน 5 นาที

Prompt: https://bit.ly/3LQb6oP คลิปนี้จะพาทุกคนสร้างโมเดลการสอนของตนเองโดยเริ่มต้นจากการใช้ AI สืบค้นและสรุปหลักการทฤษฎีต่าง ๆ มาให้เรา แล้วนำมาผสมผสานเป็นทฤษฎีการสอนในรูปแบบใหม่ของเราเองครับ

This Post Has 14 Comments

  1. คอมฯทุกเครื่องสามารถรองรับมาตรฐาน IPV6 มั้ยค่ะ

  2. IPv5 สำรองไว้สำหรับ Stream Protocol เพื่อรับส่งข้อมูลที่เป็นแบบ real-time เท่านั้น และยังไม่มีการใช้งานจริงในทางปฏิบัติ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.