อบรมวิทยากรแกนนำลูกเสือไซเบอร์

ได้มีโอกาสเข้าร่วมโครงการสร้างลูกเสือบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อสร้างวิทยากรแกนนำลูกเสือไซเบอร์ ในวันที่ 6-7 มิถุนายน 2554 ที่ผ่านมา ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ครับ โดยโครงการนี้จัดโดยกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จุดประสงค์ของโครงการก็คือสร้างวิทยากรแกนนำเพื่อนำความรู้ไปขยายผลต่อให้กับนักเรียนและบุคคลในองค์กร เกี่ยวกับการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างปลอดภัย และเป็นหูเป็นตาให้กับรัฐในการช่วยสอดส่องดูแลภัยอันตรายและเฝ้าระวังข้อมูลข่าวสารที่เป็นภัยต่อสถาบันและความมั่นคงของประเทศ สำหรับการเข้าร่วมโครงการนี้ถือได้ว่าได้รับความรู้ใหม่ๆ เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเกี่ยวกับภัยต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต และ พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ครับ อีกทั้งยังได้รู้จักคุณครูภาคกลางร้อยกว่าท่านที่มาร่วมเข้ารับการอบรมในครั้งนี้

การแจกแจงทางทฤษฎีที่ใช้อนุมานสถิติ

การแจกแจงทางทฤษฎี (Theoretical distribution) ที่ใช้ในอนุมานสถิติบ่อยๆ มีอยู่ 4 ประเภทด้วยกันคือ 1. การแจกแจงแบบโค้งปกติ (Normal distribution) 2. การแจกแจงแบบไคว์สแควร์ (Chi-square distribution) 3. การแจกแจงแบบ F (F-distribution) 4. การแจกแจงแบบ t (t-distrubution) 1. การแจกแจงแบบโค้งปกติ (Normal distribution)…

การวัดการกระจาย

การสรุปลักษณะต่างๆ ของข้อมูลนั้น ใช้การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลางเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ จำเป็นที่จะต้องใช้การวัดการกระจายด้วยเพื่อให้ทราบว่าข้อมูลแต่ละชุดมีการกระจายแตกต่างกันอย่างไร โดยมีวิธีการดังนี้ 1. พิสัย (Range) คือความแตกต่างระหว่างข้อมูลที่มีค่าสูงสุดกับข้อมูลที่มีค่าต่ำสุด การจัดการกระจายแบบนี้เป็นการวัดแบบหยาบๆ 2. ค่าเบี่ยงเบนควดไทล์ (Quartile deviation : Q.D.) คือค่าครึ่งหนึ่งของผลต่างระหว่างควอไทล์ที่ 3 กับควอไทล์ที่ 1 ใช้เมื่อข้อมูลนั้นมีการวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลางด้วยค่ามัธยฐาน 3. ค่าเบี่ยงเบนเฉลี่ย (Mean deviation : M.D.)…