ความเที่ยง (Reliability) คือคุณสมบัติของเครื่องมือที่วัดได้ตรงกับความเป็นจริง สามารถวัดได้โดย
1. การวัดความคงที่ (Measure of stability) วิธีนี้ใช้วัดซ้ำโดยให้ผู้สอบกลุ่มเดียวกันสอบข้อสอบชุดเดียวกันสองครั้ง โดยเว้นระยะห่างสองถึงสามสัปดาห์ มีข้อจำกัด คือ ต้องรอเว้นระยะเวลาในการสอบ ซึ่งผู้สอบอาจจะมีโอกาสฝึกหัดเรียนรู้เพิ่มเติม
2. การวัดความเท่ากัน (Measure of equivalence) ใช้ข้อสอบคู่ขนาน วัดกลุ่มเดียวกัน เวลาใกล้เคียงกัน วัดเรื่องเดียวกัน มีความยากง่ายเท่ากัน แต่มีปัญหาคือ สร้างข้อสอบคู่ขนานที่แท้จริงได้ยาก
3. การวัดความคงที่ภายใน (Measure of internal consistency)
3.1 วิธีแบ่งครึ่ง (Split-half method) ทำข้อสอบเพียงครึ่งเดียว แล้วแบ่งครึ่งข้อสอบออกเป็นสองส่วนโดยถือว่าข้อสอบสองส่วนนั้นวัดสิ่งเดียวกัน โดยผู้สร้างพยายามสร้างข้อสอบสองส่วนให้เป็นข้อสอบคู่ขนาน ทำผลการสอบไปหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างข้อสอบทั้งสองส่วน ค่าที่ได้เป็นดัชนีความเที่ยงเพียงครึ่งฉบับ ในการหาค่าความเที่ยงทั้งฉบับให้สูตรของ Spearman Brown
3.2 วิธีของ Kuder-Richardson มี 2 วิธีคือ KR-20 และ KR-21 โดยใช้ในกรณีข้อสอบเป็นแบบปรนัย คือ ถูกได้หนึ่ง ผิดได้ศูนย์
3.3 วิธีของ Cronbach ในกรณีที่เครื่องมือเป็นแบบทดสอบอัตนัยหรือเป็นแบบสอบสอบถามความคิดเห็นหรือแบบวัดเจตคติ คือเป็นเครื่องมือที่ไม่ใช่ลักษณะที่ตอบถูกได้หนึ่งผิดได้ศูนย์จะใช้วิธีนี้
องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อความเที่ยงของแบบทดสอบ
1. ความยาวขอบแบบสอบ แบบสอบที่มีจำนวนข้อมากจะมีความเที่ยงสูงกว่าแบบสอบที่มีจำนวนข้อน้อยกว่า
2. แบบทดสอบที่ข้อสอบมีความง่ายใกล้เคียงกันจะมีค่าความเที่ยงสูงกว่าแบบทดสอบที่มีระดับความยากง่ายต่างๆ
3. อำนาจจำแนกสูง ความเที่ยงก็จะสูง
4. ข้อสอบที่มีความง่ายปานกลาง จะมีความเที่ยงสูงกว่าข้อสอบที่ยากหรือง่ายมากๆ
5. ถ้าผู้เข้าสอบมีความสามารถต่างกันมากจะทำให้ความเที่ยงสูง
ขอบคุณครับ
ขอบคุณครับ
ขอบคุณมากคับ
ขอบคุณค่ะ
ขอบคุณครับ