การวิจัย หมายถึง กระบวนการเสาะแสวงหาความรู้ใหม่ๆหรือกระบวนการเสาะแสวงหาความรู้เพื่อตอบปัญหาที่มีอยู่อย่างมีระบบและมีวัตถุประสงค์ที่แน่นอน โดยอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์
การวิจัย หมายถึง กระบวนการเสาะแสวงหาความรู้ใหม่ๆ หรือกระบวนการเสาะแสวงหาความรู้เพื่อตอบปัญหาทางการศึกษาที่มีอยู่อย่างมีีระบบและมี วัตถุประสงค์ที่แน่นอน โดยอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์
ข้อจำกัดของการวิจัยทางการศึกษา
- ความซับซ้อนของเนื้อหาที่ศึกษา เพราะปัญหาที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์มีตัวแปรมาเกี่ยวข้องมากมาย
- ความยากในการรวบรวมข้อมูล เพราะเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของมนุษย์
- ความยากในการทำซ้ำ ไม่เหมือนกันการทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่ทำซ้ำแล้วค่าที่ได้ก็ยังใกล้เคียงกับค่าเดิม
- ปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักวิจัยกับกลุ่มตัวอย่างมีผลกระทบต่อผลการวิจัย
- ยากในการควบคุมตัวแปรเกิน
- เครื่องมือมีความแม่นยำและเชื่อถือได้น้อยกว่าเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์
การพิจารณาประสิทธิภาพของการวิจัยในแง่ของความตรง
- ความตรงภายใน (Internal validity) การวิจัยที่มีความตรงภายในสูง หมายถึง การวิจัยที่ไม่มีตัวแปรเกินแทรกซ้อน ผลการวิจัยเกิดจากผลของตัวแปรอิสระเท่านั้น
- ความตรงภายนอก (External validity) การวิจัยที่มีความตรงภายนอกสูง หมายถึง การวิจัยที่สามารถสรุปอ้างอิงไปหากลุ่มประชากรเป้าหมายได้อย่างถูกต้อง
องค์ประกอบที่มีผลต่อความตรงภายใน
- ประวัติ เช่น สมาชิกในกลุ่มตัวอย่างไปศึกษาเพิ่มเติมนอกเวลา ทำให้ผลการทดสอบไม่ตรงกับความเป็นจริง
- วุฒิภาวะ การทดลองที่นานเกินไปทำหรือกลุ่มตัวอย่างมีความพร้อมหรือเบื่อ
- การทดสอบ การใช้ข้อสอบเพียงฉบับเดียวในการทดสอบก่อนและหลังเรียน
- เครื่องมือไม่มีคุณภาพดีพอ
- การสูญหายของสมาชิกในกลุ่มตัวอย่าง
- ความลำเอียงในการเลือกหรือสุ่มตัวอย่าง
- ความแตกต่างระหว่างผู้ทำการทดลอง
- ผลของการถดถอย
วิธีการควบคุมตัวแปรเกิน
- ใช้สมาชิกที่มีลักษณะใกล้เคียงกันมากที่สุด
- จัดสมาชิกเข้ากลุ่มโดยการสุ่ม
- จับคู่สมาชิกบนพื้นฐานของตัวแปรเกิน
- ใช้วิธีการทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อควบคุมค่าที่เกิดจากตัวแปรเกิน
- ควบคุมสถานการณ์ในการทดลองให้คงที่
- ควบคุมผลการถดถอยโดยอย่าเลือกสมาชิกที่ได้คะแนนทดสอบก่อนเรียนสูงหรือต่ำมากๆ
- นำตัวแปรเกินมากำหนดเป็นตัวแปรอิสระอีกตัวหนึ่ง