งานครั้งที่ 3 : URL ของ WordPress
งานครั้งที่ 3 นี้ให้นักเรียนทุกคนทำการสมัครสมาชิก blog โดยทำการสมัครตามเอกสารอธิบายวิธีการสมัคร ตามลิงค์นี้ การสมัคร wordpress เมื่อทำการสมัครเสร็จเรียบร้อยแล้วให้นักเรียนนำ url เว็บไซต์ของนักเรียนมากรอกในแบบฟอร์มที่ครูกำหนดไว้ด้านล่างนี้ครับ (5 คะแนน) Loading…
บทที่ 1 ระบบสารสนเทศ
ระบบสารสนเทศเป็นการดำเนินการกับข้อมูลตามขั้นตอน โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยประมวลผล เพื่อให้ได้สารสนเทศที่ต้องการ ซึ่งนำมาใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจได้ โดยใช้องค์ประกอบด้านฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ บุคลากร ข้อมูล และขั้นตอนการปฏิบัติงาน ซึ่งในบทที่ 1 นี้นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องดังต่อไปนี้ครับ 1. ความหมายและลักษณะของระบบสารสนเทศ 2. ประเภทของระบบสารสนเทศ 3. องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ การเรียนรู้ผ่านเว็บไซต์ในเรื่องนี้ นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้จาก slide ซึ่งครูได้สรุปภาพรวมทั้งหมดไว้ครับ และนอกจากนี้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้จากใบความรู้ที่ 1 และ 2 ครับ…
งานครั้งที่ 2 : แบบสำรวจ Social Media
ภาระงานครั้งที่ 2 นี้ ให้นักเรียนทุกคนทำการสมัครสมาชิกเว็บไซต์ต่อไปนี้ E-mail เป็น e-mail ของที่ใดก็ได้ ได้ทั้ง hotmail, gmail หรือ yahoo ครับ www.facebook.com ให้นักเรียนสมัครสมาชิกแล้วทำการเปลี่ยน url เป็นชื่อของนักเรียน เช่น www.facebook.com/nattapon www.twitter.com เมื่อสมัครสมาชิกเรียบร้อยแล้ว ให้นำ url ที่สมัครมากรอกลงในแบบฟอร์มที่กำหนดให้ด้านล่างนี้นะครับ Loading…
อบรมการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี
ในช่วงวันหยุดยาว 5 วันที่ผ่านมา ก็ไม่ได้หยุดเหมือนใครๆ เขาครับ เพราะต้องไปอบรมเกี่ยวกับการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีที่เมืองโคราช แต่ก็เป็นกิจกรรมที่คิดว่าไม่ทำให้ตนเองต้องเสียวันหยุด เพราะถือว่าได้ไปพักผ่อนนอกสถานที่ครับ การอบรมครั้งนี้มีขึ้นในระหว่างวันที่ 14-15 พ.ค. 2554 ที่ผ่านมาครับ โดยมีวิทยากรที่เก่งและมีความสามารถมากเกี่ยวกับการจัดทำแผนปฏิบัติการและการจัดทำยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์ของสถานศึกษา ก็คือ ผอ.ภรณ์นภัส ปิยชัยกวี ผู้อำนวยการกลุ่มนโยบายและแผน สำหรับการอบรมครั้งนี้ก็ทำให้ผมได้รับความรู้และเข้าใจงานแผนการ การกำหนดเงินงบประมาณที่จะนำมาใช้ในการจัดการศึกษาในโรงเรียนได้มากยิ่งขึ้น แต่ก็ขอไม่กล่าวถึงรายละเอียดการอบรมนะครับ เพราะมันเป็นเรื่องน่าปวดหัว แต่ที่ยากจะนำเสนอก็คือ อยากจะกล่าวถึงเมืองโคราชครับ เพราะครั้งนี้เป็นการเดินทางไปภาคตะวันออกเฉียงเหนือของผมเป็นครั้งแรก และก็บอกได้ว่าประทับใจเมืองนี้ครับ เป็นเมืองที่น่าอยู่…
ครบ 2 ปีของการเป็นข้าราชการครู
วันที่ 18 พ.ค. 2552 เป็นวันที่ผมเข้ามาทำงานเป็นครูในตำแหน่งครูผู้ช่วยเป็นวันแรก ณ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ลำลูกกา ครับ และวันนี้ วันที่ 18 พ.ค. 2554 ก็มาถึง วันที่ผมทำงานในตำแหน่งนี้ครบสองปี และกำลังจะเปลี่ยนตำแหน่งไปเป็นครู คศ.1 กับเค้าเสียทีครับ (ดูเหมือนยิ่งใหญ่) แต่ความรู้สึกก็ไม่ได้แตกต่างจากการเป็นครูผู้ช่วยซักเท่าไหร่ เพราะก็ยังคงทำงาน เรียน และทำเว็บไปตามปกติ ไม่มีอะไรที่ทำให้รู้สึกว่ามันเปลี่ยนแปลงไป ตลอดระยะเวลาการทำงานสองปี มีเรื่องราว…
กิจกรรมทำบุญเนื่องในวันวิสาขบูชาโลก
เป็นกิจกรรมแรกของโรงเรียนในปีการศึกษา 2554 นี้ครับ ที่นักเรียนและครูได้มีโอกาสทำกิจกรรมร่วมกัน นั่นก็คือกิจกรรมวันวิสาขบูชา ซึ่งปีนี้ถือได้ว่าเป็นปีที่สำคัญและยกย่องให้วันสำคัญทางพระพุทธศาสนานี้เป็นวันสำคัญของโลกเราอีกด้วย โดยในที่นี้โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ลำลูกกา ได้จัดกิจกรรมให้นักเรียนและครูได้ทำบุญตักบาตรร่วมกันเนื่องในวันวิสาขบูชาในวันพฤหัสบดีที่ 12 พฤษภาคม 2554 ที่ผ่านมา ซึ่งนักเรียนทุกคนก็ได้ให้ความร่วมมือและเตรียมสิ่งของมาทำบุญตักบาตรกันเป็นจำนวนมากครับ และปีนี้ผมก็ได้มีโอกาสเป็นครูที่ปรึกษาระดับชั้น ม.4 หลังจากที่ดูแลนักเรียน ม.ต้นมานาน ก็เลยได้มีโอกาสทำบุญร่วมกับนักเรียนครับ และก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่านักเรียนห้องนี้จะเป็นนักเรียนที่น่ารัก เชื่อฟัง และตั้งใจเรียนนะครับ หน้าตานักเรียนที่ปรึกษาของผมเป็นอย่างไรกันบ้าง ก็ดูกันได้จากรูปด้านล่างนี้ครับ 🙂
ความเที่ยง (Reliability)
ความเที่ยง (Reliability) คือคุณสมบัติของเครื่องมือที่วัดได้ตรงกับความเป็นจริง สามารถวัดได้โดย 1. การวัดความคงที่ (Measure of stability) วิธีนี้ใช้วัดซ้ำโดยให้ผู้สอบกลุ่มเดียวกันสอบข้อสอบชุดเดียวกันสองครั้ง โดยเว้นระยะห่างสองถึงสามสัปดาห์ มีข้อจำกัด คือ ต้องรอเว้นระยะเวลาในการสอบ ซึ่งผู้สอบอาจจะมีโอกาสฝึกหัดเรียนรู้เพิ่มเติม 2. การวัดความเท่ากัน (Measure of equivalence) ใช้ข้อสอบคู่ขนาน วัดกลุ่มเดียวกัน เวลาใกล้เคียงกัน วัดเรื่องเดียวกัน มีความยากง่ายเท่ากัน แต่มีปัญหาคือ สร้างข้อสอบคู่ขนานที่แท้จริงได้ยาก…
ความตรง (Validity)
ความตรง คือ คุณสมบัติของเครื่องมือที่สามารถวัดได้ในสิ่งที่ต้องการวัด ตามวัตถุประสงค์และสถานการณ์ที่กำหนดไว้ 1. ความตรงตามเนื้อหา (Content validity) หมายถึง คุณสมบัติของเครื่องมือที่ใช้วัดเนื้อหาได้ครบตามขอบเขตที่กำหนดไว้ การพิจารณาว่าเครื่องมือมีความตรงตามเนื้อหามากน้อยเพียงใดนั้น พิจารณาจากเครื่องมือว่าครอบคลุมเนื้อหาต่างๆ ที่ต้องการวัดครบถ้วนเพียงใด ซึ่งการพิจารณาความตรงของแบบทดสอบนั้นอาจจะอาศัยตารางวิเคราะห์หลักสูตรเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา 2. ความตรงตามสภาพ (Concurrent validity) หมายถึงคุณสมบัติของเครื่องมือที่สามารถวัดพฤติกรรมต่างๆ ได้สอดคล้องกับพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจริงในระยะเวลาเดียวกัน เช่น นักเรียน ม.4 ทำแบบทดสอบที่ครูสร้างขึ้น ได้ผลการทดสอบสอดคล้องกับการทำแบบทดสอบมาตรฐานวิชาเดียวกัน แสดงว่าแบบสอบที่ครูสร้างขึ้นมีความตรงตามสภาพ 3….
เทคนิคการสุ่มตัวอย่าง
ก่อนที่จะรู้จักเทคนิคการสุ่มตัวอย่าง เราควรจะทำความเข้าใจกับคำสองคำที่สำคัญก่อนครับ ก็คือคำว่า กลุ่มประกรเป้าหมาย และกลุ่มตัวอย่าง ดังนี้ กลุ่มประชากรเป้าหมาย (Target population) หมายถึง กลุ่มของสิ่งต่างๆ ทั้งหมดที่ผู้วิจัยสนใจ กลุ่มตัวอย่าง (Sample) หมายถึง กลุ่มของสิ่งต่างๆ ที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มประชากรที่ผู้วิจัยสนใจ เทคนิคการสุ่มตัวอย่าง นั้นแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้ 1. การสุ่มที่ไม่คำนึงถึงความน่าจะเป็นในการสุ่ม (Non-probability sampling) เป็นการสุ่มที่ขึ้นอยู่กับการควบคุมหรือตัดสินใจของผู้วิจัย…
การวิจัยทางการศึกษา
การวิจัย หมายถึง กระบวนการเสาะแสวงหาความรู้ใหม่ๆหรือกระบวนการเสาะแสวงหาความรู้เพื่อตอบปัญหาที่มีอยู่อย่างมีระบบและมีวัตถุประสงค์ที่แน่นอน โดยอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ การวิจัย หมายถึง กระบวนการเสาะแสวงหาความรู้ใหม่ๆ หรือกระบวนการเสาะแสวงหาความรู้เพื่อตอบปัญหาทางการศึกษาที่มีอยู่อย่างมีีระบบและมี วัตถุประสงค์ที่แน่นอน โดยอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ข้อจำกัดของการวิจัยทางการศึกษา ความซับซ้อนของเนื้อหาที่ศึกษา เพราะปัญหาที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์มีตัวแปรมาเกี่ยวข้องมากมาย ความยากในการรวบรวมข้อมูล เพราะเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของมนุษย์ ความยากในการทำซ้ำ ไม่เหมือนกันการทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่ทำซ้ำแล้วค่าที่ได้ก็ยังใกล้เคียงกับค่าเดิม ปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักวิจัยกับกลุ่มตัวอย่างมีผลกระทบต่อผลการวิจัย ยากในการควบคุมตัวแปรเกิน เครื่องมือมีความแม่นยำและเชื่อถือได้น้อยกว่าเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ การพิจารณาประสิทธิภาพของการวิจัยในแง่ของความตรง ความตรงภายใน (Internal validity) การวิจัยที่มีความตรงภายในสูง หมายถึง การวิจัยที่ไม่มีตัวแปรเกินแทรกซ้อน…